-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาหน้าที่พลเมืองวัฒนธรรม กับการดำเนินชีวิตในสังคม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดโสมนัส กรุงเทพมหานคร
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Collaborative Learning Management for Developing the Learning Achievement in the Subject of Civic Duty, Culture and Social Life for the 6th Elementary School Students, Wat Sommanat School, Bangkok
- ผู้วิจัยพระมหาสุนทร ฐิตรตโน (แก้วกองนอก)
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.ชวาล ศิริวัฒน์
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ
- วันสำเร็จการศึกษา01/04/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1396
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 4,848
- จำนวนผู้เข้าชม 2,981
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองขั้นต้น (Pre- Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชา หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม กับการดำเนินชีวิตในสังคม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดโสมนัส กรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ รายวิชา หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดโสมนัส กรุงเทพมหานคร 3) เสนอแนะข้อมูลวิจัยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชา หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม กับการดำเนินชีวิตในสังคม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดโสมนัส กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียน 30 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในกาวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบหนึ่งกลุ่มทดลองก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 30 ข้อ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ รายวิชา หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม เรื่องวัฒนธรรมไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดโสมนัส กรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการทำงานและเรียนรู้เป็นกลุ่ม ซึ่งในระหว่างกิจกรรมการเรียนนั้นผู้เรียนแต่ละคนรู้จักแบ่งหน้าที่ และมีความรับผิดชอบในงานที่เป็นส่วนของตน ผู้เรียนเรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น ซึ่งเป็นการปลูกฝังให้เรียนรู้การเข้าสังคม เห็นใจผู้อื่น เรียนรู้ที่จะอยู่ในสังคม ผ่านกิจกรรมการทำงานกลุ่มโดยมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย ทำให้นักเรียนได้เรียนทั้งสาระเนื้อหา และได้ฝึกทักษะการทำงานกลุ่ม ผู้เรียนมีความเข้าใจในเนื้อหาวิชามากขึ้น และมีความสุขในการเรียน ผู้เรียนสามารถนำทักษะที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
2. ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ รายวิชา หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม เรื่องวัฒนธรรมไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดโสมนัส กรุงเทพมหานคร พบว่า นักเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือมีผลสัมฤทธิ์คะแนนก่อนเรียน ค่าเฉลี่ย (x̅) = 11.23 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 2.112 คะแนนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย (x̅) = 24.50 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) = 2.980 สรุปว่ามีผลทางการเรียนรู้หลังเรียนมีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. เสนอแนะข้อมูลวิจัยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชา หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม กับการดำเนินชีวิตในสังคม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดโสมนัส กรุงเทพมหานคร พบว่า 1) คุณครูควรสร้างความพึงพอใจให้เกิดมีขึ้นกับนักเรียนในการเรียนเป็นเบื้องต้นและให้นักเรียนมีความรักความสามัคคีต่อเพื่อนร่วมชั้นเรียน 2) คุณครูควรส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความเพียรพยายามในการค้นคว้าหาความรู้และทำความเข้าใจในเนื้อหาโดยการผ่านกิจกรรมกลุ่ม 3) คุณครูควรนำเทคนิควิธีการสอนโดยการนำเอาเทคโนโลยีเข้าช่วยเพื่อให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนมากขึ้นและจะทำให้บรรยากาศน่าเรียนมากขึ้น
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The research was a pre-experimental research with the following objectives: 1) to study the collaborative learning management for developing the learning achievement in the subject of civic duty, culture, and social life for the 6th elementary school students, Wat Sommanat School, Bangkok; 2) to study the learning achievement of pretest and posttest by applying the collaborative learning in the subject of civic duty, culture, and social life for the 6th elementary school students, Wat Sommanat School, Bangkok; and 3) to propose suggestions on the collaborative learning management for developing the learning achievement in the subject of civic duty, culture, and social life for the 6th elementary school students, Wat Sommanat School, Bangkok. A sample group was acquired by means of purposive sampling and consisted of students who were studying at the 6th elementary school, in a total of 1 classroom and 30 students. The research instruments were a learning management plan and learning achievement test on the collaborative learning management by means of a one-group pretest posttest design, in a total of 30 questions.
The results of the research are as follows:
1) From studying the collaborative learning management for developing the learning achievement in the subject of civic duty, culture, and social life for the 6th elementary school students, Wat Sommanat School, Bangkok, it is found that collaborative learning management is the learning management that focuses on working and learning as a group in which each student learns to delegate the work during the learning activities and is responsible for the assigned work. Students learn to work together with others which is training for them to socialize, be compassionate to others, and coexist in the society through group work activities with contents on Thai culture, allowing students to learn contents and gain group work skills. As a result, students have more understanding of the subject and more happiness in learning which they can apply this skill in their daily lives.
2) The results from studying the learning achievement of pretest and posttest by applying the collaborative learning in the subject of civic duty, culture, and social life for the 6th elementary school students, Wat Sommanat School, Bangkok, it is found that pretest has a mean (x̅) equal to 11.23 with a standard deviation (S.D.) at 2.112. While posttest has a mean (x̅) equal to 24.50 with a standard deviation (S.D.) at 2.980. This represents that posttest has a score higher than pretest with a statistical significance at 0.05 which is according to the assumption set.
3) The suggestions on the collaborative learning management for developing the learning achievement in the subject of civic duty, culture, and social life for the 6th elementary school students, Wat Sommanat School, Bangkok are as follows: 1) Teachers should basically make students satisfied in learning, have love and unity for roommates; 2) Teachers should encourage students to have effort in seeking knowledge and understanding the contents through group activities; and 3) Teachers should apply technology in their teaching techniques and methods for students to have more interest in learning and making the atmosphere more pleasant to learn.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6201202222 | 6201202222 | 6.13 MiB | 4,848 | 9 ก.ค. 2564 เวลา 08:42 น. | ดาวน์โหลด |