โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การสร้างแรงจูงใจในการทำบุญตามหลักบุญกิริยาวัตถุของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Building of Motivation for Merit-Making Based on Puññakiriyāvatthu for Students of Bang Rachan Kindergarten School, Singburi Province
  • ผู้วิจัยพระสมพร ติสสวโร (สุรสิทธิ์)
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.สมชัย ศรีนอก
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ
  • วันสำเร็จการศึกษา22/03/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1397
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 1,798
  • จำนวนผู้เข้าชม 1,647

บทคัดย่อภาษาไทย

       การวิจัย เรื่อง การสร้างแรงจูงใจในการทำบุญตามหลักบุญกิริยาวัตถุของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบทดลอง (Experimental Research) ซึ่งผู้วิจัยดำเนินการสำรวจตามแบบ ทดลองกลุ่มเดี่ยว โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาการสร้างแรงจูงใจในการทำบุญตามหลักบุญกิริยาวัตถุของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบการสร้างแรงจูงใจในการทำบุญตามหลักบุญกิริยาวัตถุของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี 3) เพื่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา การสร้างแรงจูงใจในการทำบุญตามหลักบุญกิริยาวัตถุของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling)

       ผลการวิจัยพบว่า

       1. ผลสัมฤทธิ์ของกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบบุญกิริยาวัตถุ สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม รายวิชาพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.57 แสดงว่า ผู้เรียนมีพัฒนาการ ความก้าวหน้าในการเรียนรู้ เพราะมีคะแนนทดสอบเพิ่มขึ้น

       2. ประสิทธิภาพกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบบุญกิริยาวัตถุ สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม รายวิชาพระพุทธศาสนา นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า แบบทดสอบ ก่อนเรียนรู้ โดยรวม คะแนน 521 ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 17.37 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 4.63 จาก คะแนนของแบบทดสอบก่อนเรียนทั้งหมด 1,200 คิดเป็นร้อยละ 43.42

       3. แบบทดสอบก่อนเรียนรู้ที่นักเรียนได้คะแนนมากที่สุด ได้แก่ แบบทดสอบการเรียนรู้ที่ 1 (ศีล) โดยคะแนน 139 ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.63 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 1.33 จากคะแนนของแบบทดสอบก่อนเรียนทั้งหมด 300 คิดเป็นร้อยละ 46.33

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

        The research entitled “The Building of Motivation for Merit-Making Based on Puññakiriyāvatthu for Students of Bang Rachan Kindergarten School, Singburi Province” applied an experimental research method by means of One Group Pretest Posttest Design. The research consisted of the following objectives: 1) to study the building of motivation for merit-making based on Puññakiriyāvatthu for students of Bang Rachan Kindergarten school, Singburi province; 2) to compare the building of motivation for merit-making based on Puññakiriyāvatthu for students of Bang Rachan Kindergarten school, Singburi province; and 3) to find out the learning achievement on the building of motivation for merit-making based on Puññakiriyāvatthu for students of Bang Rachan Kindergarten school of 1 classroom with a total number of 30 students which was selected by means of purposive sampling.

        The results of the research are found as follows:

        1) The achievement of learning management based on Puññakiriyāvatthu in the learning strand of Social Studies, Religions, and Cultures, in Buddhism subject, for the 3rd elementary school students is equal to 9.57. This represents that students have progress in learning as they have higher scores.

        2) The efficiency of learning management based on Puññakiriyāvatthu in the learning strand of Social Studies, Religions, and Cultures, in Buddhism subject, for the 3rd elementary school students found to have pretest score of 521 scores, means (x̄) equal to 17.37, with a standard deviation (S.D.) at 4.63. From the scores of all pretests in a total of 1,200, it represents 43.42%

        3) The test that students get the most score for pretest is the 1st learning test (sīla) with a score of 139, means (x̄) equal to 4.63, with a standard deviation (S.D.) at 1.33. From the scores of all pretests in a total of 300, it represents 46.33%

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6201202223 6201202223 3.14 MiB 1,798 9 ก.ค. 2564 เวลา 09:04 น. ดาวน์โหลด