-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือในรายวิชาพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดผ่องพลอยวิริยาราม แผนกสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Collaborative Learning Management on Buddhism Subject for the 4th Secondary School Students in General Education Department of Phrapariyattidhamma Wat Phongployviriyaram School, Bangkok
- ผู้วิจัยพระสิรภพ ปภสฺสโร (ยุทธคราม)
- ที่ปรึกษา 1พระวิเทศพรหมคุณ, รศ.ดร.
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ
- วันสำเร็จการศึกษา26/03/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1399
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 2,057
- จำนวนผู้เข้าชม 1,732
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยเรื่อง การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือในวิชาพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดผ่องพลอยวิริยาราม แผนกสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงทดลองขั้นต้น (Pre-Experimental Research) มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือในวิชาพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดผ่องพลอยวิริยาราม แผนกสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือในวิชาพุทธศาสนา เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดผ่องพลอยวิริยาราม แผนกสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 นักเรียน 26 รูป จำนวน 1 ห้องเรียน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือในวิชาพระพุทธศาสนา จำนวน 4 แผน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือในวิชาพระพุทธศาสนา พบว่า การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ สามารถพัฒนาให้ผู้เรียนมีสมาธิในการเรียน มีระเบียบวินัย ทั้งทางกาย และวาจา นักเรียนมีวินัยในการทำงานเป็นกลุ่ม มีการแบ่งการทำงานกันอย่างเป็นระบบ รู้จักทำหน้าที่ของตนเองได้เป็นอย่างดี และรักษาเวลาในการทำงานอย่างตรงเวลาตามที่ผู้สอนกำหนด มีความสามัคคีกันในการทำงาน รักษากฎระเบียบของกลุ่ม ศึกษา ค้นคว้า และแสวงหาความรู้ด้วยความตั้งใจ นักเรียนสามารถลงมือปฏิบัติด้วยตัวเองได้ในการแสวงหา ความรู้ นักเรียนแต่ละกลุ่มกล้าพูด กล้าคิด กล้าแสดงออก ทำให้ผู้เรียนสามารถบรรลุผลตาม เป้าหมายของการเรียนรู้ที่ผู้สอนได้กำหนดไว้ ซึ่งสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐานที่ว่า การจัดการศึกษาต้องเป็นไป เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และ คุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือในวิชาพุทธศาสนา คะแนนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย (x̅) = 12.88 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 2.046 คะแนนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย (x̅) = 27.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 1.442 เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า หลังเรียนมีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The study entitled “The Collaborative Learning Management on Buddhism Subject for the 4th Secondary School Students in General Education Department of Phrapariyattidhamma Wat Phongployviriyaram School, Bangkok” was a pre-experimental research with the following objectives: 1) to develop the learning management according to collaborative learning management on Buddhism subject for the 4th secondary school students in general education department of Phrapariyattidhamma Wat Phongployviriyaram School, Bangkok and 2) to compare the pretest and posttest of learning achievement by means of collaborative learning management on Buddhism subject for the 4th secondary school students in general education department of Phrapariyattidhamma Wat Phongployviriyaram School, Bangkok. A sample group was acquired by way of purposive sampling and consisted of the secondary school students, in a total of 1 classroom and 26 students. The research instruments were 1) 4 plans on learning management based on the collaborative learning management on Buddhism subject in the topic of Buddhadhamma and 2) the pretest and posttest of learning achievement with multiple choices of 30 questions.
The results of the study are found as follows:
1) The results from developing the learning activity by way of collaborative learning management on Buddhism subject, it was found that collaborative learning management can develop students to have a concentration in learning, disciplines both physically and verbally, disciplines in teamwork as the work tasks are delegated systematically. Students can perform their duties well, able to work in time as specified by the teachers, have unity in working together, able to keep the regulation of the group, study and seek knowledge attentively by themselves, and have confidence to speak up and express themselves. All of which enables students to accomplish the learning objectives specified by the teachers which are aligned with the basic core curriculum that learning management must aim at developing Thai people to become complete human beings whether physically, mentally, intellectually, morally, and culturally in coexisting together happily.
2) The results from comparing the pretest and posttest of learning achievement by means of collaborative learning management on Buddhism subject, it was found that pretest had a mean (x̅) equal to 12.88 with a standard deviation (S.D.) at 2.046. While the posttest had a mean (x̅) equal to 27.00 with a standard deviation (S.D.) at 1.442. When comparing between the pretest and posttest of learning achievement, it was found that the posttest had a higher score than pretest with a statistical significance at 0.05 level, according to the assumption set.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6201202225 | 6201202225 | 4.22 MiB | 2,057 | 9 ก.ค. 2564 เวลา 11:38 น. | ดาวน์โหลด |