-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษProblem-based Learning Management to Develop the Creative Thinking Skills of Students in Social Studies Major, Faculty of Education, Chiang mai University
- ผู้วิจัยนายรชกร ไชยวงศ์
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สมชัย ศรีนอก
- วันสำเร็จการศึกษา09/07/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1401
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 3,467
- จำนวนผู้เข้าชม 1,907
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัย เรื่อง การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาวิชาสังคมศึกษา 2. เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาวิชาสังคมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาครู สาขาวิชาสังคมศึกษาชั้นปีที่ 5 ภาควิชาหลักสูตรการสอนและการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษาที่ 2562 โดยเจาะจงเลือกนักศึกษาวิชาชีพครูที่ออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวน 28 คน เครื่องมือที่จะใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก/เชิง การสนทนากลุ่ม และความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการการเรียนรู้โดยใช้ปัญหา
ผลการวิจัยพบว่า
ตอนที่ 1 สภาพปัญหาและสถานการณ์ในการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาฝึกประการณ์วิชาชีพครู (นักศึกษาฝึกสอน) ในแต่ละบริบทที่แตกต่างกันไป พร้อมทั้งแนวทางแก้ไขหรือการปรับตัวของนักศึกษาฝึกประการณ์วิชาชีพครู นักศึกษาครูสะท้อนคิดร่วมกันและสามารถแบ่งสาเหตุของปัญหาออกเป็น 3 ประเภทคือ 1. ปัจจัย คือ สภาพพื้นฐานในการเรียนการสอนที่เป็นจริง หรือสิ่งต่างๆ ที่ส่งเข้าไปให้มีผลต่อการจัดการเรียนการสอน 2. กระบวนการ คือ สภาพการจัดการดำเนินการเรียนการสอนให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 3. ผลผลิต คือ ผลสำเร็จภายหลังเมื่อเสร็จสิ้นการจัดการ
ตอนที่ 2 รูปแบบการสอน วิธีการจัดการเรียนรู้ที่นักศึกษาฝึกประการณ์วิชาชีพครูใช้ในการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นการใช้ปัญหาเป็นฐานในการจัดการศึกษา ซึ่งมีลักษณะสำคัญของกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบ 7 ขั้นตอน ดังนี้คือ 1. ทำความเข้าใจคำศัพท์และข้อความของปัญหาให้ชัดเจน 2. ระบุปัญหาหรือข้อมูลสำคัญ 3. ระดมสมอง 4. วิเคราะห์ปัญหา 5. กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ 6. เรียนรู้ด้วยตนเอง 7 รายงานผล
ตอนที่ 3 นำเสนอรูปแบบการจัดการการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาวิชาสังคมศึกษา เพื่อนำมาเผยแพร่และปรับใช้ในการเรียนการสอนต่อไป ซึ่งจากการสะท้อนคิดของนักศึกษาที่ออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูได้แลกเปลี่ยนวิธีคิด ประสบการณ์ตามประเด็นการเรียนรู้ โดยสามารถอภิปรายข้อค้นพบแบ่งออกเป็น 2 ประเด็นด้วยกัน ดังนี้
ประเด็นที่ 1 จุดเด่นและข้อจำกัดของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ผู้เรียนจะมีทักษะในการตั้งสมมติฐานและการให้เหตุผลดีขึ้น สามารถพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทำงานเป็นกลุ่มและสื่อสารกับผู้อื่นได้ดีขึ้นและมีประสิทธิภาพ แต่มีความกังวลว่าผู้เรียนจะมีความรู้น้อยลง ความรู้ที่ได้รับจะไม่เป็นระบบ ความถูกต้องของเนื้อหาหรือข้อมูลที่ผู้เรียนไปค้นคว้าศึกษามา
ประเด็นที่ 2 ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน พบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน คุณภาพของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้คือ 1. ความสำคัญของเนื้อหา 2. คุณภาพของโจทย์ปัญหา 3. กระบวนกลุ่ม 4. บทบาทและทักษะ 5. การพัฒนาทักษะต่างๆ 6. ทรัพยากรการเรียนรู้ 7. การบริหารจัดการ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The thesis entitled “Problem-based Learning Management to Develop the Creative Thinking Skills of Students in Social Studies Major, Faculty of Education, Chiang Mai University” consisted of the following objectives: 1) to study a model of problem-based learning management to develop the creative thinking skills of students of the teaching profession in social studies; 2) to present a model of problem-based learning management to develop the creative thinking skills of students of the teaching profession in social studies. A sample group used in the study included the 5th year students of the teaching profession in social studies in the 1st semester of the academic year B.E. 2562, Department of Curriculum, Teaching and Learning, Faculty of Education, Chiang Mai University. A group of 28 experienced student teachers were chosen specially for a sample. The research instruments for data collection were in-depth interview, focus group discussion, and the satisfaction towards a model of problem-based learning management.
The results of the study are found as follows:
The 1st part on problems and situation in the teaching and learning management for student teachers in a different context, as well as the guidelines for solutions or adaptation of student teachers. In this connection, the student teachers together helped to reflect and divide causes of problems into 3 types: 1) Factors refer to the real basic conditions of teaching and learning or various things that affect the teaching and learning management; 2) Processes refer to the management conditions for teaching and learning in order to meet the set goals; and 3) Outputs refer to the achievements after the completion of the management.
The 2nd part on the teaching style, the methods that student teachers used for teaching and learning management by focusing on problem-based educational management, which consists of 7-step of learning activity as follows: 1) clearly understanding words and texts of problems; 2) identifying problems or important information; 3) brainstorming; 4) analyzing problems; 5) identifying learning objectives; 6) self-learning; and 7) reporting the results.
The 3rd part on presenting a model of problem-based learning management to develop the creative thinking skills of students of the teaching profession in social studies in order to propagate and adapt in the teaching and learning. From the reflection and exchange of ideas and experiences according to the learning issues, among the student teachers, in which the findings can be divided into 2 points as follows:
The 1st issue on strength and the limitation of problem-based learning. Students will have better assumption and reasoning skills, able to develop their skill on self-learning and working as a group with others, able to communicate better and more efficiently. However, there are concerns that students will have less knowledge, the obtained knowledge will not be systematic, the contents or information that the students study will not be accurate.
The 2nd issue on factors affecting the quality of problem-based learning management which are 1) the importance of contents; 2) quality of problems; 3) group dynamic; 4) roles and skills; 5) the skills development; 6) learning resource; and 7) management.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6101202222 | 6101202222 | 3.97 MiB | 3,467 | 9 ก.ย. 2564 เวลา 05:12 น. | ดาวน์โหลด |