โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การศึกษาวิเคราะห์กุศลกรรมในคัมภีร์วิมานวัตถุ
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analytical Study of Kusala-kamma in Vimānavatthu
  • ผู้วิจัยนางสาวสิรีรัศมิ์ สิงห์สนธิ
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาสุขสันติ์ สุขวฑฺฒโน, ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระมหาอดิเดช สติวโร, ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา14/06/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1436
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 153
  • จำนวนผู้เข้าชม 415

บทคัดย่อภาษาไทย

        วิทยานิพนธ์ เรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์กุศลกรรมในคัมภีร์วิมานวัตถุ” มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 3 ประเด็น ได้แก่ 1) ศึกษาโครงสร้าง เนื้อหาสาระของคัมภีร์วิมานวัตถุ 2) ศึกษาหลักธรรมที่ปรากฏในคัมภีร์วิมานวัตถุ และ 3) วิเคราะห์คุณค่าของคัมภีร์วิมานวัตถุต่อการดำเนินชีวิต สรุปผลการศึกษา มีดังนี้

         ผลการวิจัยพบว่า โครงสร้าง เนื้อหาสาระของคัมภีร์วิมานวัตถุ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ประกอบด้วย อิตถีวิมานและปุริสวิมาน มีจำนวน 85 วิมาน และแบ่งย่อยออกเป็น 7 วรรค คือ ปีฐวรรค มี 17 วิมาน, จิตตลตาวรรค มี 11 วิมาน , ปาริจฉัตตกวรรค มี 10 วิมาน, มัญชิฏฐกวรรค มี 12 วิมาน ( 4 วรรคนี้ จัดอยู่ในอิตถีวิมาน คือ วิมานของเทพธิดา 50 วิมาน), มหารถวรรค มี 14 วิมาน, ปายาสิวรรค มี 10 วิมาน, และสุนิกขิตตวรรค มี 10 วิมาน (3 วรรคนี้ จัดอยู่ในปุริสวิมาน คือ วิมานของเทพบุตร 35วิมาน) รวมเป็น 85 วิมาน ส่วนหลักธรรมในวิมานวัตถุ พบว่า มีการให้ทาน การรักษาศีลการฟังธรรม การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เช่น ศรัทธาต่อพระรัตนตรัย การบูชาพระธาตุเจดียสถาน เป็นต้น วิมานวัตถุ เป็นเรื่องที่กล่าวถึงการ ทำความดีของเหล่าเทวดาและเทพธิดาว่าในสมัยที่ตนเป็นมนุษย์ ได้ประกอบคุณงามความดีอะไร ไว้บ้าง เช่น บางตนก็ให้ข้าวน้ำเป็นทาน บางตนก็ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

           หลักธรรมที่ปรากฏในคัมภีร์วิมานวัตถุ กล่าวถึงหลักธรรมของเทวธรรมคือหิริโอตตัปปะ ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งความดีงามแห่งชีวิตมนุษย์ สิ่งนั้นคือความซื่อสัตย์สุจริต เพราะว่ามนุษย์มีความละอายต่อความชั่วและการไม่ประมาทขาดสติก็เป็นในหลักของเทวธรรมและหลักธรรมที่ส่งผลต่อความประพฤติที่ดีงาม เป็นการกระทําต่างๆ จะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจําวันของมนุษย์จนแยกไม่ออกจากเรื่องแรงจูงใจหรือความรู้สึกอื่น ๆ การศึกษาเรื่องกายสุจริตในบทนี้จึงมีส่วนช่วยให้เข้าใจความรู้สึกนึกคิดและการแสดงออกทาง พฤติกรรมของมนุษย์ได้ชัดเจนและลึกซึ้งเพิ่มขึ้น ด้วยว่าพฤติกรรมที่ดีงามหรือกรรม การกระทําที่ ถูกต้องในทัศนะพระพุทธศาสนาเถรวาท โดยจัดว่ากรรมเป็นธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งและถือว่ากรรมนั้น เป็นได้ทั้งความดี (กุศล) ทั้งบาป ความชั่วร้าย (อกุศล) และความเป็นกลาง ๆ ไม่ดีไม่ชั่ว ไม่เป็นกุศล หรืออกุศลใด ๆ

           ส่วนผลที่ได้จากการวิเคราะห์คุณค่าของคัมภีร์วิมานวัตถุต่อการดำเนินชีวิต พบว่าเพราะประกอบกุศลกรรม คือ การให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา โดยกุศลกรรมหรือ กรรมดีนั้น เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ อันเป็นหลักแห่งการบำเพ็ญบุญ เป็นเหตุหรือเป็นรากแก้ว แห่งการทำความดีในทางพระพุทธศาสนา เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เจริญงอกงาม ในทางพระพุทธศาสนาได้แบ่งบุญกิริยาวัตถุออกเป็น 3 คือ 1) ทานมัย คือ บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน 2) ศีลมัย คือ บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล และ 3) ภาวนามัย คือ บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา ดังนั้น การให้ทาน การรักษาศีล และการเจริญภาวนา ย่อมมีอานิสงส์มากตามกุศลกรรมที่ได้กระทำเอาไว้ และการได้รับอานิสงส์แห่งกุศลกรรมจึงเป็นเหตุให้ได้เสวยวิมานต่าง ๆ โดยวิมานที่เกิดจากกุศลกรรมการให้ทาน นอกจากนี้ยังมีวิมานที่เกิดจากการประกอบกุศลกรรมอื่น ๆ สามารถสังเคราะห์เข้าในบุญกิริยาวัตถุ 10 ได้ซึ่งเกิดจากการขยายความจากบุญกิริยาวัตถุ 3 นั่นเอง ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่า จำนวนวิมานในอิตถีวิมานมีจำนวนมากกว่าจำนวนปุริสวิมานอย่างเห็นได้ชัดแสดงให้เห็นว่าผู้หญิงได้สร้างสมความดี ในรูปแบบของทาน ศีล ภาวนา และกุศลกรรมอื่น ๆ มากกว่าผู้ชายมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ซึ่งสอดคล้องกับพฤติกรรมของมนุษย์ในปัจจุบัน ที่ผู้หญิงเข้าวัดทำบุญมากกว่าผู้ชายนอกจาก ทาน ศีล ภาวนา จะเป็นเหตุให้ได้วิมานต่าง ๆ ภายหลังการสิ้นชีวิตแล้ว ในขณะที่ยังมีชีวิตนั้นทาน ศีล ภาวนา ยังช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของมนุษย์ดีขึ้น มีความสมบูรณ์ ทั้งทางด้านร่างกายและความเป็นอยู่ที่ดี ไม่ตระหนี่ มีสำรวมระวังในศีล และพัฒนาปัญญาไปสู่ความคิดที่จะออกจากทุกข์ได้ในที่สุด

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

            The thesis entitled “An Analytical Study of Kusala-kamma in Vimānavatthu” consisted of three objectives as follows: 1) to study the structure and contents of Vimānavatthu scripture; 2) to study the Dhamma virtues in Vimānavatthu scripture; and 3) to analyze the values of Vimānavatthu scripture towards the way of life. The results of the study are as follows:

               From studying the structure and contents of Vimānavatthu scripture, it is found that Vimānavatthu scripture can be divided into 2 kinds: Itthivimāna and Purisavimāna, consisting of 85 vimāna (celestial mansion) and 7 sections which are: 1) Pīṭhavaggo comprising 17 vimāna; 2) Cittalatāvaggo comprising 11 vimāna; 3) Pāricchattakavaggo comprising 10 vimāna;  4) Mañjiṭṭhakavaggo comprising 12 vimāna; 5) Mahārathavaggo comprising 14 vimāna; 6) Pāyāsivaggo comprising 10 vimāna; 7) Sunikkhittavaggo comprising 10 vimāna. The first 4 sections are categorized in Itthivimāna which is female mansions, in a total of 50 mansions. While the last 3 sections are categorized in Purisavimāna which is male mansions, in a total of 35 mansions. Altogether are 85 mansions. The Dhamma virtues found in Vimānavatthu scripture are Dāna (giving), the observance of precepts, listening to the Dhamma, the meditation practice, having faith in the Triple Gem, worshiping the stupas containing relics, etc. Vimānavatthu portrays the wholesome actions of the deities when they were still human beings e.g., some gave food and water to others, some helped fellow human beings, etc.

              From studying the Dhamma virtues in Vimānavatthu, it is found that the Devadhamma (divine virtue) is Hiri-Ottappa (moral shame and moral dread) which is the source of goodness of human life, namely, honesty and good conduct. This is because human beings are shameful of evils. The action that is not heedless and does not lack mindfulness is also the Devadhamma which will result in good behavior. It is the action that is related to the events in the daily lives of human beings that is indistinguishable from motives and feelings. The study of bodily good action will help to understand the feelings, thoughts, and behavioral expressions of human beings more clearly and deeply. According to the viewpoint of Theravada Buddhism, kamma or action is conditioned things which can be kusala (wholesome), akusala (unwholesome), and neutral.

              From analyzing the values of Vimānavatthu scripture towards the way of life, it refers vimāna as something arising from kusala-kamma (wholesome action) e.g., Dāna, the observance of precepts, and mental development. Puññakiriyā-vatthu or the 3 bases of meritorious action are the cause or root of wholesome action in Buddhism to develop the quality of life for prosperity. Puññakiriyā-vatthu is divided into 3 kinds: 1) Dānamaya refers to meritorious action consisting in giving or donation; 2) Sīlamaya refers to meritorious action consisting in observing the precepts; and 3) Bhāvanāmaya refers to meritorious action consisting in mental development. Therefore, giving, observance of the precepts, and mental development will result in a lot of benefits according to the wholesome action that a person has done, in which one of them is to enjoy in vimāna. This is a kind of vimāna arising from giving. Furthermore, there are other vimāna arising from other kinds of wholesome action which can be synthesized into the 10 bases of meritorious action, that is to say, the further explanation of the 3 bases of meritorious action. The number of vimāna in Itthivimāna is greater than in Purisavimāna, indicating that women have done more good deeds in the form of giving, observance of the precepts, mental development, and other kinds of wholesome actions than men since the time of the Buddha, conforming to the human behavior at present that women go to the temple more often than men. Not only giving, observance of the precepts, and mental development are the causes of vimāna for humans when they pass away, they also develop the quality of life of human beings to be better and more complete, whether in the physical aspect, well-being, generosity, carefulness in observing the precepts, and eventually developing the wisdom towards the idea of liberating from suffering.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6101201033 6101201033 1.09 MiB 153 11 ก.ค. 2564 เวลา 21:36 น. ดาวน์โหลด