-
ชื่อเรื่องภาษาไทยสุขภาพจิตของผู้ปฏิบัติธรรมศรัทธาวาสหญิง วัดพระธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Mental Health Of Female Religious Practitioners (Satthawas) Of Dhammakaya Temple,Pathumthani Province
- ผู้วิจัยนางสาวธัญญลักษณ์ ธรรมสุนทร
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.เมธาวี อุดมธรรมานุภาพ
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.สุวัฒสัน รักขันโท
- วันสำเร็จการศึกษา29/06/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1443
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 4
- จำนวนผู้เข้าชม 6
บทคัดย่อภาษาไทย
วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ เพื่อศึกษา สุขภาพจิตของผู้ปฏิบัติธรรมศรัทธาวาสหญิงวัดพระธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี รูปแบบงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research ) ระหว่างการวิจัยเชิงประมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยประชากร คือผู้ปฏิบัติธรรมศรัทธาวาสหญิง วัดพระธรรมกาย ที่เข้าร่วมโครงการปฏิบัติธรรมพิเศษ ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน – 26 ธันวาคม พ.ศ. 2563 จำนวน 200 คน ในการวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการฝึกสมาธิเบื้องต้นตามแนวปฏิบัติของพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปูวัดปากน้ำ ภาษีเจริญแล้วใช้แบบวัดดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยของกรมสุขภาพจิต จำนวน 66 ข้อ และนำข้อมูลที่ได้จากการวัดมาวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติการทดสอบค่าและใช้การวิเคราะห์หาค่า t – test (Independent Samples Test) และ ค่า F (One-way ANOVA) และใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In – depth interview)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตในภาพรวมของผู้ปฏิบัติธรรมศรัทธาวาสหญิงวัดพระธรรมกายกลุ่มนี้ มีคะแนนเฉลี่ยรวม 150.16 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 23.98 มีสุขภาพจิตดีกว่าคนทั่วไป (Good)
2. ที่พักอาศัยมีความสัมพันธ์กับระดับสุขภาพจิตของผู้ปฏิบัติธรรมศรัทธาวาสหญิงวัดพระธรรมกาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=4.044*, p-value=.000) นั่นคือ กลุ่มตัวอย่างที่พักในวัด มีระดับสุขภาพจิตสูงกว่า กลุ่มตัวอย่างที่พักนอกวัด (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.37 และ 2.13 ตามลำดับ)
3. การมีบุตรมีความสัมพันธ์กับระดับสุขภาพจิตของผู้ปฏิบัติธรรมศรัทธาวาสหญิงวัดพระธรรมกาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=1.999*, p-value=.048) นั่นคือ กลุ่มตัวอย่างที่ไม่มีบุตรมีระดับสุขภาพจิตสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีบุตร
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objective of this research was to study the mental health of female religious practitioners (Satthawas) of Dhammakaya temple, Pathumthani province. This research is a Survey Research between the quantitative and qualitative research, The population is the 200 female religious practitioners (Satthawas) of Dhammakaya Temple who participated in a special meditation program between 29 November - 26 December 2020, The researcher used the basic meditation practice according to the practice of Phramongkonthepmuni (Sodh Candasaro) Luang Pu of Wat Pak Nam Phasi Charoen in this research. Research tool is the Thai Mental Health Indicator or TMHI of the Department of Mental Health 66 items and take the data obtained from the measurements were analyzed the mean and statistics for quatitative data analysis are mean, standard deviation, independent sample test, t-test, and Pearson’s Correlation Coefficient. qualitative data were collected by in-depth interview methods and analyzed by content analysis method.
The results of the research were as follows:
1. The overall mental health indicators of this group of the female religious practitioners (Satthawas) of Dhammakaya Temple. Have a total mean score of 150.16 standard deviation of 23.99 that indicated that they having mental health better than general people.
2. The residences were related to the mental health level of the female religious practitioners (Satthawas) of Dhammakaya Temple. It was statistically significant at the .05 level (t = 4.044 *, p-value = .000), that is, the sample group who stayed in the temple had a higher mental health levels than the sample group who stayed outside the temple (The average score is 2.37 and 2.13, respectively)
3. The having of childern is related to the level of mental health of the female religious practitioners (Satthawas) of Dhammakaya Temple. It was statistically significant at the .05 level (t = 1.999 *, p-value = .048), that is, the sample group that no children had a higher mental health level than the sample group that have childern.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6201203079 | 6201203079 | 4.45 MiB | 4 | 12 ก.ค. 2564 เวลา 07:16 น. | ดาวน์โหลด |