โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของชุมชนยายชา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Participatory Solid Waste Management Model of Yaicha Community Sam Phran District Nakhon Pathom Province
  • ผู้วิจัยพระวสุพล วชิรปิโย (ทำสวน)
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาประกาศิต สิริเมโธ, ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ, ศ.ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา06/07/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการพัฒนาสังคม
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1444
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 323
  • จำนวนผู้เข้าชม 1,034

บทคัดย่อภาษาไทย

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของชุมชนยายชา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของชุมชนยายชา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 3) เพื่อเสนอรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของชุมชนยายชา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 16 ท่าน และการสนทนากลุ่มเฉพาะร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิ 10 ท่าน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา โดยใช้เทคนิควิเคราะห์ข้อมูลแบบสามเส้า

            ผลการวิจัยพบว่า

            1. การจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของชุมชนยายชา พบว่า เนื่องจากชุมชนยายชามีการพัฒนาสู่ความเป็นชุมชนเมือง จำนวนประชากรจึงเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณขยะมูลฝอยเพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สภาพความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลยายชา จึงได้นำรูปแบบ 3Rs มาใช้ในการจัดการขยะมูลฝอย โดยมีการส่งเสริมการคัดแยกขยะมูลฝอยต้นทางจากครัวเรือน และการรณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกในการจัดการขยะมูลฝอย

            2. การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของชุมชนยายชา พบว่าในโครงการวิจัยนี้ใช้กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การส่งเสริมการจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือนต้นแบบ ณ แหล่งกำเนิดเป็นกิจกรรมต้นแบบโดยการประยุกต์ใช้รูปแบบ 7Rs เพื่อส่งเสริมการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วม โดยร่วมมือกับ องค์การบริหารส่วนตำบลยายชา กลุ่มอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) และ กลุ่มเยาวชนจิตอาสา ผลที่เกิดขึ้นสรุปได้ว่า 1) เกิดการคิดใหม่ คือ การส่งเสริมให้ประชาชน มีจิตสำนึกที่ดีในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับหลักเมตตามโนกรรม  2) การลดการใช้ คือความเข้าใจลักษณะการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างชุมชนกับสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ภาชนะใส่อาหาร เพื่อลดปริมาณขยะมูลฝอย สอดคล้องกับหลักสาธารณโภคี 3) การใช้ซ้ำ เป็นการสร้างนิสัยด้วยการสร้างข้อตกลงในชุมชนเพื่อให้ทุกคนปฏิบัติติตาม เช่น การตกลงที่จะนำถุงพลาสติกที่ใช้แล้วมาเป็นถุงใส่ขยะภายในบ้าน สอดคล้องกับหลักสีลสามัญญตา 4) การนำกลับมาใช้ใหม่ คือ ความเข้าใจลักษณะการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างชุมชนกับสิ่งแวดล้อม เช่น การนำยางรถยนต์เก่ามาทำเป็นกระถางใส่ต้นไม้ สอดคล้องกับหลักสาธารณโภคี 5) การซ่อมแซมเป็นการสร้างนิสัยด้วยการสร้างข้อตกลงในชุมชนเพื่อให้ทุกคนปฏิบัติติตาม เช่น การช่วยกันซ่อมแซมห้องน้ำวัด แทนที่จะรื้อทิ้งแล้วสร้างใหม่เป็นการลดขยะ สอดคล้องกับหลักสีลสามัญญตา 6) การปฏิเสธ คือ การไม่เห็นด้วยกับการทำลายสภาพแวดล้อม เช่น ปฏิเสธการใช้ปุ๋ยจากสารเคมี และมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่เกิดจาก การจัดการขยะแทน สอดคล้องกับหลักทิฏฐิสามัญญตา 7) การตอบแทน คือ ความเข้าใจในการพึ่งพาอาศัยกันและกัน เช่น การไม่ทิ้งขยะมูลฝอยลงในแม่น้ำเพราะชุมชนนำน้ำมาใช้อุปโภคบริโภค สอดคล้องกับหลักเมตตากายกรรม

            3. เสนอรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของชุมชนยายชา พบว่า ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของชุมชนยายชาได้สรุปเป็นรูปแบบ PIN Model ประกอบด้วย P = Participation คือ การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและภาคส่วนต่าง ๆ ในการจัดการขยะมูลฝอย I = Idols คือ การมีต้นแบบในการจัดการขยะมูลฝอยจากครัวเรือน สามารถถ่ายทอดทักษะความรู้ในการคัดแยกประเภทขยะมูลฝอยสู่ชุมชนได้ N = Network คือ การสร้างเครือข่ายร่วมกันในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

            This research aimed to study 1) the community participatory solid waste management of Yaicha community, Samphran district, Nakhonpathom province. 2) to develop the participatory solid waste management Yaicha community, Samphran district, Nakhonpathom province. 3) to propose the participatory solid waste management model of Yaicha community, Samphran district, Nakhonpathom province. The research was used participation action research and further data were collected by the questionnaire with 16 keys preferment in-depth interviews and 10 experts for focus group discussions. Data were analyzed by the Triangulation technique.

            The research results were as follows;

            1. Regarding the participatory solid waste management of the Yaicha community, the urban development of and the increasing number of populations within Yaicha community cause a larger amount of solid waste. This has negative impacts on environment, living conditions as well as quality of life. The Yaicha Sub-district Administrative Organization, therefore, has brought the 3Rs concept to manage solid waste by promoting waste sorting at the household and driving the awareness of doing as such. 

            2. With regards to the development of the participatory solid waste management model of Yaicha community, with collaboration of The Yaicha Sub-district Administrative Organization, Local Environment Volunteer and Youth of Volunteer Spirit, this research used the workshop “Promotion of the household solid waste management model in situ”, and applied the 7Rs principle as a model to stimulate participatory solid waste management. It can be concluded from the workshop that 1) Rethink: encouraging people to reconsider protecting natural resources and environment, which is correlated with Mettâmanokamma (mental loving kindness), 2) Reduce: the understanding of reliance between the community and the environment, such as using the food container, rather than plastic bag, which is correlated with Sàdhàranabhogi (to share any lawful gains with virtuous fellows), 3) Reuse: directing and constituting new behavior by setting an agreement within a community, such as everyone agrees on reusing a plastic bag as a garbage bag within a household, which is correlated with Sãlasàmannatà (to keep without blemish the rules of conduct along with one’s fellows, openly and in private), 4) Recycle: the understanding of reliance between the community and the environment, such as an old car tire can be recycled as a tree pot which is correlated with Sàdhàranabhogi, 5) Repair: directing and constituting new behavior by setting an agreement within  a community, such as in stead of building a new monk toilet, the community should agree on repairing it, which is correlated with Sãlasàmannatà (to keep without blemish the rules of conduct along with one’s fellows, openly and in private), 6) Reject: denying all behaviors that could pollute the environment, such as rejecting using a chemical fertilizer, which is correlated with Ditthisàmannatà: to be endowed with right views along with one’s fellows, openly and in private, 7) Return: the understanding of reliance between the community and the environment, such as refraining from throwing waste into the river from where water is consumed and used within a community, which is correlated with Mettàkàyakamma (to be amiable in deed, openly and in private).

            3. The model of solid waste management with Yaicha community participation is suggested as “PIN Model” composing of Participation (P) from the within and outside the community in managing solid waste, Idols (I) referring the model of solid waste management at the household which skills could be transferred to the community and Network (N), referring to building a collaboration for managing solid waste.

 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6250204018 6250204018 9.75 MiB 323 12 ก.ค. 2564 เวลา 09:04 น. ดาวน์โหลด