โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การประยุกต์ใช้สมชีวิธรรมกับการครองเรือนในสังคมไทยปัจจุบัน
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Application of Samajīvidhamma Principle for Family Life In Thai Society
  • ผู้วิจัยพระครูสมุห์นพดล ปิยธมฺโม (เขาแก้ว)
  • ที่ปรึกษา 1ดร.ชัยชาญ ศรีหานู
  • ที่ปรึกษา 2พระเทพสุวรรณเมธี, ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา16/03/2018
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1486
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 1,224
  • จำนวนผู้เข้าชม 506

บทคัดย่อภาษาไทย

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อศึกษาหลักสมชีวิธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการครองเรือนในสังคมไทย 3) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักสมชีวิธรรมกับการครองเรือนในสังคมไทยปัจจุบัน เป็นการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการรวบรวมข้อมูลจากคัมภีร์สำคัญของพระพุทธศาสนาเถรวาทคือ พระไตรปิฎก อรรถกถา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาวิเคราะห์เรียบเรียง บรรยายเชิงพรรณนา จากนั้นนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจสอบความถูกต้อง

ผลของการวิจัยพบว่า สมชีวิธรรม หมายถึงหลักธรรมสำหรับดำเนินชีวิตสม่ำเสมอ หรือจริยธรรมที่ทำให้สามีภรรยาอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ประกอบด้วยหัวข้อธรรม 4 ประการคือ สมสัทธา มีศรัทธาเสมอกันสมสีลา มีศีลเสมอกัน สมจาคา มีจาคะเสมอกัน และสมปัญญา มีปัญญาเสมอกัน หลักธรรมทั้ง 4 ข้อนี้เป็นหลักในการดำเนินชีวิตกับผู้อื่นและมีเป้าหมายร่วมกันที่เหมาะสมไม่ว่าจะอยู่ในสถานะใด ซึ่งจะนำความสงบร่มเย็นและความเจริญรุ่งเรืองมาสู่การอยู่ร่วมกัน

สภาพและปัญหาการครองเรือนในสังคมไทยพบว่า สภาพการครองเรือนของสังคมไทยปัจจุบันอยู่ในภาวะที่ไม่แน่นอนเนื่องมาจากการพัฒนาและทิศทางของสังคมสมัยใหม่ไม่ได้มุ่งเน้นไปที่ความยั่งยืนของครอบครัวแต่เน้นไปที่ความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและรัฐขาดนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับความมั่นคงของการครองเรือน ทำให้การครองเรือนของสมาชิกในครอบครัวเกิดปัญหาทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สุขภาพจิต ปัจจัยพื้นฐานขาดแคลน เป็นต้น เป็นสาเหตุให้เกิดความขัดแย้งหรือทะเลาะวิวาท การหย่าร้าง จนเกิดปัญหากับเด็กซึ่งเป็นเยาวชนที่ต้องเติบโตขึ้นมาในภาวะที่ขาดแคลนและมีปัญหาทุกอย่างซึ่งเป็นภาระและอุปสรรคของการพัฒนาสังคมมนุษย์ให้เจริญ

การประยุกต์ใช้หลักสมชีวิธรรมในการครองเรือนคือ สามีภรรยาผู้ต้องการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและยั่งยืนจะต้องนำหลักสมชีวิธรรมมาประยุกต์ใช้ร่วมกันคือ ศรัทธา ศีล จาคะ และปัญญา ศรัทธาในสิ่งถูกต้องเป็นเครื่องช่วยในการตัดสินใจและกำลังใจในการดำเนินชีวิต ศีลเป็นส่วนป้องกันความชั่วร้ายและปัญหาหนักที่จะเกิด จาคะการเสียสละ มุ่งประโยชน์ที่เป็นธรรม ทำให้เกิดการเอื้อเฟื้อ จิตอาสา ส่วนปัญญาเป็นกุญแจสำคัญที่ต้องพัฒนาไปร่วมกัน ปัญญาต้องตั้งอยู่บนหลักสัจธรรมและความมีเหตุผลเสมอ โดยนำไปใช้ในเป็นประจำทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน และทุกปี

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

             This thesis There are 3 objectives: 1) to study the principles of Samajīvidhamma found in Theravada Buddhism; 2) to study the situation and problems of the household in Thai society; 3) to study the application of the Samajīvidhamma principles in Thai society. It is a qualitative research. The collected information from the important scriptures of Theravada Buddhism, the Tipitaka, commentary and other related texts and researches was summarized, analyzed and compiled in description. It has been finally verified by the experts for check it accuracy.              

              The result of this research revealed that Samajīvidhamma refers to the teaching on consistent livelihood of or principle suite for family life of husband and wife who live together for happiness and success. There are four topics of Samajīvidhamma; balanced confidence, balanced morality, balanced charity, balanced wisdom. This principle was used as ethical code for those whoever live together such family which results the great benefits, peace and prosperity to living together.

               The conditions and problems of family life in Thai society was found that the current family life in Thai society is in uncertainty because many factors such as policy of government, social development etc. did not ensure the stability of family but the only prosperity in economic growth, government lack of clear and beneficial policy etc. These conditions have caused various problems; economic, mental health and insufficient basic needs etc. and then brought to other connected problem in family; conflicts, cause conflicts or quarrels, divorce and problems for children who are growing up in needy conditions and difficulties which are burden and obstacle for human development.

                For an application the Samajīvidhamma for livelihood, husband and wife who wish to live together happily and stably need following the Samajīvidhamma; confidence, morality, charity and wisdom. Balanced confidence must be reasonable and supportive to have right decision and living. Balanced moral family prevents from unwholesome deeds and severe problems. Charity leads to share and forgiving by aiming at righteous benefits which build up generous behavior and voluntary mind. Wisdom is in needs for family as key better living. The wisdom is based on the right view and reason. These 4 Samajīvidhamma must be applied in practical life every day, every week, every month and year for great benefits for family certainty.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 2.89 MiB 1,224 14 ก.ค. 2564 เวลา 13:11 น. ดาวน์โหลด