-
ชื่อเรื่องภาษาไทยศึกษาพัฒนาการและคุณค่าของการเทศน์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี ในล้านนา
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of Development and Values of Maha Vessantara Jātaka Preaching Ceremony on the Maddã Chapter
- ผู้วิจัยพระไกรสร กิตฺติเวที (วรา)
- ที่ปรึกษา 1ดร.ไพรินทร์ ณ วันนา
- ที่ปรึกษา 2พระครูปริยัติยานุศาสน์, ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา08/03/2018
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1504
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 993
- จำนวนผู้เข้าชม 1,129
บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาพัฒนาการและคุณค่าของการเทศน์มหาเวสสันดรชาดกกัณฑ์มัทรีในล้านนา โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของการเทศน์มหาเวส สันดรชาดกในล้านนา (2) เพื่อศึกษาสำนวนและทำนองการเทศน์มหาเวสสันดรชาดกในล้านนา (3) เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาวิเคราะห์พัฒนาการและคุณค่าของการเทศน์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรีในล้านนา
ผลจากการวิจัย สรุปได้ว่า การเทศน์มหาชาติ หรือตั้งธรรมหลวงมีขึ้น เป็นวรรณกรรมที่มาในล้านนาไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าเกิดขึ้นเมื่อใด แต่สันนิษฐานได้ 4 ทางคือ 1) มาจากนิกายดั้งเดิม 2) เริ่มตั้งแต่สมัยพระยากือนา 3) มาจากการสวดของพระในนิกายมหายาน และ 4) ได้รับอิทธิพลมาจากสุโขทัย พิธีเทศน์มหาชาติในล้านนา มี 2 แบบ คือ 1) แบบประเพณีประจำปี 2) แบบสืบชะตาอายุ
ส่วนสำนวนการเทศน์มหาชาติล้านนาแบ่งออกเป็น 2 สำนวนคือสำนวนร้อยแก้ว และสำนวน ร้อยกรอง
ส่วนทำนองการเทศน์แบบล้านนา มี 2 วิธีคือ 1) ทำนองดั้งเดิม แบ่งเป็น ทำนองธรรมวัตร และทำนองมหาชาติ และ 2) ทำนองประยุกต์
ในด้านพัฒนาการรูปแบบการเทศน์ ในอดีตพระนักเทศน์ให้ความสำคัญกับหลักคุณธรรมจริยธรรมที่แฝงอยู่ในการเทศน์ แต่ปัจจุบันมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลาจึงเน้นเฉพาะสาระและความเพลิดเพลิน บันเทิงใจ สอดแทรกคติธรรมเล็กน้อย พัฒนาการด้านสำนวนการเทศน์ ในล้านนา มีนักปราชญ์แต่งไว้ถึง 289 สำนวน ด้านทำนองก็มีหลากหลาย
การเทศน์มหาชาติในล้านนามีคุณค่ามากมาย จากกัณฑ์มัทรี มีคุณค่าต่อผู้ฟัง เพราะการฟังธรรมเป็นเหตุให้เกิดปัญญา ทำให้เข้าใจความเป็นจริงของชีวิต อานิสงส์จากการฟังเทศน์มหาชาติ มีมากมาย เช่น จะได้ไปเกิดมาในยุคพระศรีอริยเมตไตรย เป็นการเตือนให้ทำความดีและบริจาคทาน สอนให้เห็นถึงความรักภายในครอบครัว แบบอย่างคู่บุญบารมี คุณค่าต่อพระนักเทศน์คล้ายคลึงกับผู้ฟัง และเป็นการฝึกสติและปฏิภาณไหวพริบ พัฒนาจิต และยกระดับจิตใจให้มีความอ่อนโยนยิ่งขึ้นไป คุณ ค่าต่อสังคมนั้นมีทั้งด้านหลักธรรมจริยธรรม ด้านวรรณศิลป์ และด้านวัฒนธรรมประเพณีล้านนา
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The thesis entitled ‘A Study of Development and Values of Mahà Vessantara Jàtaka Preaching Ceremony on the Maddã Chapter’ is of three objectives as 1) to study the historical background of MahàVessantara Jàtaka Preaching Ceremony in Lanna, 2) to explore the rhetoric and the rhythmic of MahàVessantara Jàtaka Preaching Ceremony in Lanna and 3) to study and analyze the development and values of MahàVessantara Jàtaka Recitation Ceremony on the Maddã Chapter in Lanna.
The results revealed that Mahàjati preaching or MahàVessantara Jàtaka Preaching Ceremony is the Buddhist literary works which found in Jàtaka or birth-stories of the Buddha’s previous lives in the Tipiñaka. It consists of 13 chapters with 1,000 verses. It is also influenced by the Phra Malai Sutta. It was developed into the royal tradition ceremony and the folkway. In Lanna region, however, there is no clear evidence of Vessantara Jàtaka Preaching Ceremony, but it can be assumed that it was probably started by four aspects viz. 1) from the original Buddhist Order, 2) in the reign of King Kue Na, 3) from the rhythmic preaching of Mahayana Buddhist Monk and 4) influenced by the ancient Sukhothai. Regarding the MahàVessantara Jàtaka Preaching Ceremony, it was divided into two types as 1) the annual ceremony and 2) the prolong life ceremony.
The rhetoric of MahàVessantara Jàtaka Preaching Ceremony in Lanna, it can be classified into 2 types as prose and verse. The prose type is the written language in its ordinary form, without metrical structure which mostly found in the palm - leaves and Saa Manuscripts or mulberry paper and was written in Lanna Tham script. The verses were composed with Dhamma and mostly found in the palm - leaves manuscripts and Khoi books. However, the study cannot accomplish which edition is the oldest one. But it can be sorted according to the ancient scriptures as follows the Gathà Pan Scripture or one thousand verses and the Cariyà Scripture.
In terms of the rhythmic, it was divided into 2 types: - 1) Traditional melody is divided into two as the Dhammavatra and Mahàjati and 2) the applied melody can be classified as the mixed melody and the reading verses with rhythm. The melodies in the sermons are very important because they convey different emotions and rhythms. It depends on the aptitude of the preacher. Regarding the development of the preaching style, the preachers in the past focused on the Dhamma that appeared in the Mahà Vessantara Jàtaka. Due to the limited of time, the preachers focus on the enjoyment and less on the morality. In term of rhetoric, the Mahà Vessantara Jàtaka was composed by the Lanna sophisticated people for 289 expressions with various melodies.
Regarding the values of Mahà Vessantara Jàtaka Preaching Ceremony in Lanna, especially in the Maddã Chapter, it creates the true understanding of life to the listeners. The good result of listening to the Mahà Vessantara Jàtaka is to be reborn in the period of Buddhametteyya and also to remind to perform the wholesome action, charity, love within the family and the soul mate. The values also occur to the preachers as the tool for developing mindfulness and upgrading the mind to be gentler. For the society, it creates both artistic and moral principles and Lanna culture.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 5.11 MiB | 993 | 15 ก.ค. 2564 เวลา 04:13 น. | ดาวน์โหลด |