-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร 4 ตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู โรงเรียนเทศบาล 4 (ฉลองรัตน์) อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Application of the Principle of Brahmavihāra of the Teacher in Accordance with the Etiquettes of the Teachers Profession in the Kindergarten School 4 (Chalongrat), Muang District, Nongkhai Province
- ผู้วิจัยนางสาวชัญญาดา โพนสิงห์
- ที่ปรึกษา 1พระมหาปริญญา วรญาโณ, ดร.
- ที่ปรึกษา 2ดร. บุญส่ง สินธุ์นอก
- วันสำเร็จการศึกษา11/02/2018
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1507
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 564
- จำนวนผู้เข้าชม 4,118
บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) หลักพรหมวิหาร 4 และจรรยาบรรณวิชาชีพครู 2) แนวคิดจรรยาบรรณวิชาชีพครู และหลักพรหมวิหาร 4 ของครูโรงเรียนเทศบาล 4 (ฉลองรัตน์) อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย และ 3) แนวทางการประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร 4 ของครูตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูของโรงเรียนเทศบาล 4 (ฉลองรัตน์) อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลจากการสัมภาษณ์ แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
พรหมวิหารธรรม คือ หลักธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดความสุข เนื่องด้วย คุณลักษณะของ ผู้มีพรหมวิหารธรรมที่ถูกต้องแท้จริง คือมีเมตตาที่ประกอบด้วย อุเบกขา มีกรุณาอันประกอบด้วยอุเบกขา มีมุทิตาที่ประกอบด้วยอุเบกขา และมีอุเบกขาที่พร้อมด้วย เมตตา กรุณา และมุทิตา
จรรยาบรรณวิชาชีพครูทำให้เป็นครูที่ดี เป็นที่รักใคร่ชอบและชอบพอของคนอื่นนอกจากนี้คนดีย่อมทำประโยชน์แก่ตนเอง และคนอื่นด้วย การไม่ทำชั่วเป็นการลดภาระของสังคมที่ไม่ต้องแก้ปัญหา การทำดีจึงเป็นประโยชน์แก่สังคม และช่วยให้สังคมพัฒนาไปสู่ความเจริญ และเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ครูท่านอื่นๆ
แนวคิดหลักพรหมวิหาร 4 ของครูโรงเรียนเทศบาล 4 (ฉลองรัตน์) พบว่า ครูจะต้องมีเมตตาคือความรักปรารถนาดีอยากให้เขามีความสุข มีกรุณา หมายถึงความสงสาร คิดจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ หมายถึง พฤติกรรม หวังดีเมื่อมีผู้อื่นได้รับความทุกข์ร้อน ตกทุกข์ได้ยาก ก็รู้สึกสงสาร หวั่นใจไปตามเมื่อเห็นเขามีความทุกข์ มุทิตาหมายถึง ความรู้สึกชื่นชม เบิกบานใจและพลอยยินดีเมื่อบุคคลอื่นประสบผลสำเร็จด้วยความจริงใจ หลักอุเบกขา หมายถึง การวางท่าทีของจิตใจให้เป็นกลางต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ เป็นคุณธรรมที่ทำให้ลดอคติ 4 คือ รัก ชัง หลง และกลัว
แนวทางในการประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหารธรรมกับการสอน พบว่า แนวทางในการประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหารธรรมกับการสอนอยู่แล้ว เช่น พยายามส่งเสริมให้ครูผู้สอน มีการนำหลักเมตตา ความรัก ความปรารถนาดี หลักกรุณา คือความสงสาร ปรารถนาจะช่วยให้พ้นจากความทุกข์และปัญหาอุปสรรคนานาประการ หลักมุทิตา ความพลอยยินดีด้วย การสนับสนุนและส่งเสริม การให้ความชื่นชมและการให้ของรางวัลในโอกาสที่ทาดีหรือประสบความสำเร็จอย่างใดอย่างหนึ่ง มีการนำเอาหลักอุเบกขามาใช้ในการติดสิน ตอนที่ผู้เรียนหรือลูกศิษย์มีปัญหาทะเลาะเบาะแว้งกัน ก็ตัดสินโดยความเที่ยงธรรม ยุติธรรม หรือรักลูกศิษย์เท่ากัน มีอะไรก็แบ่งปันให้เท่าๆ กัน
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The purposes of this research were; 1) to study the principle of Brahmavihāra 4 and the etiquettes of the teachers’ profession 2) to study the concepts related to the etiquettes of the teachers’ profession and the principle of Brahmavihāra 4 of the teachers in the Municipal Schools 4 (Chalongrat) in Muang District, Nongkhai Province and 3) to study the guideline of application of the principle of Brahmavihāra 4 of the teachers in accordance with the teachers’ etiquettes in the Municipal School 4 (Chalngrat) in Muang District, Nongkhai Province. This research was the qualitative research by analyzing the data from Tipitaka, Buddhist academic documents, related researches and the data from interviewing and then to report in the descriptive analysis.
The results of the research were found that Brahmavihāra is the principle of Dhamma resulting in the happiness due to the qualification of ones who have the right principle of Brahmavihāra, that is, to have the loving-kindness with equanimity, compassion with equanimity, sympathetic joy with equanimity and equanimity with loving-kindness, compassion and sympathetic joy.
The teachers’ etiquettes make them good teachers and the levers of general people. Outside this, good persons can make benefits for themselves and the others, Not to do an evil is to reduce the burden of society, that is, not to solve the problems and to do good makes the benefit for society and assist the society to be progressive and the good model for other teachers.
The concepts related to the principle of Brahmavihara 4 of the teachers in the Municipal School 4 (Chalongrat) are found that the teachers have to have the loving-kindness, that is, to wish the others to have happiness, the compassion means the pity by thinking to make the others free from the suffering, meaning good wishes when the others facing the unsatisfactory and hard time, feeling pity, and worried when they see the others facing the suffering. The sympathetic joy means feeling satisfied with others when they see that the others getting the successfulness sincerely. The principle of equanimity means to express the mind in the middle way towards various events and to be virtue to reduce the 4 prejudices , that is, love, hate, delusion and afraid.
The guideline in application of the principle of Brahmavihāra with teaching is found that the approach of application of the principle of Brahmavihāra and teaching such as to promote the teachers to apply the principle of loving-kindness, fondness and good wishes. The principle of compassion is pity, that is, to wish the others freeing from unhappiness and various problems. The principle of sympathetic joy, that is, to support and enhance and to give rewards in good occasion or to succeed in any way and to apply the principle of equanimity for judge when the learners dispute and the disputation is done with impartial, justice or love their students equally and to share the things equally.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 17.56 MiB | 564 | 15 ก.ค. 2564 เวลา 07:46 น. | ดาวน์โหลด |