-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการปรับใช้หลักพุทธธรรมสำหรับการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุในชุมชนบ้านกลาง ตำบลเชียงกลม อำเภอปากชม จังหวัดเลย
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Application of the Buddhadhamma for Care Mental Health of elderly in Bhanklang Community, Chaingkhom Sub-district, Pakchom District, Loei Province
- ผู้วิจัยนายวรวิทย์ มณีคนฺโท (มณีคันโท)
- ที่ปรึกษา 1พระโสภณพัฒนบัณฑิต,รศ.ดร.
- ที่ปรึกษา 2ดร.ทักษิณาร์ ไกรราช
- วันสำเร็จการศึกษา30/06/2016
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1521
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 406
- จำนวนผู้เข้าชม 441
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาทที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพจิตสำหรับผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาปัญหาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในชุมชนบ้านกลาง ตำบลเชียงกลมอำเภอปากชม จังหวัดเลย และ 3) เพื่อศึกษาการปรับใช้หลักพุทธธรรมสำหรับการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุในชุมชนบ้านกลาง ตำบลเชียงกลม อำเภอปากชม จังหวัดเลย การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร และลงภาคสนามเพื่อทำการเก็บรวบรวมข้อมูล สัมภาษณ์ สังเกตการณ์สภาพทั่วไป
ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุหมายถึงผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป หลักพุทธธรรมที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุจะนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตเพื่อให้ได้รับประโยชน์สุข ตั้งแต่ขั้นต้นในการลงมือปฏิบัติ หลักไตรลักษณ์เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ให้ยอมรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นทั้งด้านบวกและด้านลบ ยอมรับกับทุกข์ที่เกิดขึ้นโดยยึดถือปฏิบัติตามหลักพุทธธรรมคำสั่งสอน เพื่อทำ ให้ผู้สูงอายุมีอายุยืน สุขภาพกายสุขภาพจิตดีสมกับวัยสูงอายุ ความไม่ประมาท ทำให้ไม่ประมาทในทรัพย์สินเพราะคนมีทรัพย์อาจจะยากจนได้ ทำให้ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น บุญกิริยาวัตถุ เป็นหลักธรรมคำสอนที่พุทธองค์ทรงจัดวางหรือประยุกต์ให้เหมาะสม
การปรับใช้หลักพุทธธรรมสำหรับการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุในชุมชนบ้านกลาง พบว่า ความสุขตามหลักพุทธธรรมไม่ได้มุ่งเพียงแค่ให้มนุษย์มีความสุขต่อสุขภาพจิตเท่านั้น แต่คำนึงถึงผล กระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาทั้งต่อตนเอง ครอบครัว สังคม และสิ่งแวดล้อม แม้ว่าความสุขที่อิงอาศัยกับวัตถุ (อามิสสุข) ก็มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต แต่ก็ไม่ควรปล่อยให้ชีวิตตกเป็นทาสของวัตถุ หรือปล่อยใจไปตามกิเลสตัณหา ควรให้ความสำคัญกับความสุขภายในจิตใจที่ไม่ต้องอาศัยวัตถุภายนอก โดยเฉพาะความสุขที่เกิดจากการศึกษาสัจธรรมและเข้าใจในความเป็นจริงของชีวิตรวมถึงความสุขที่เกิดจากศรัทธา มีปีติในการได้ทำบุญ บำเพ็ญประโยชน์ ซึ่งชีวิตที่งอกงามด้วยกุศลธรรม จะอำนวยประ โยชน์สุขแก่ตนเองและผู้อื่น แม้ชีวิตจะสั้นก็ยังประเสริฐกว่าชีวิตซึ่งยืนยาวแต่เป็นที่สั่งสมของอกุศลธรรมและเต็มไปด้วยความทุกข์ นำหลักพุทธธรรมที่ตนยึดถือปฏิบัติในวิถีชีวิตมาส่งเสริมและแก้ปัญหาด้านร่างกาย เพื่อขัดเกลากิเลสของตนเอง พยายามบำเพ็ญความดีเพื่อควบคุมรักษาความประพฤติ ทุกด้านที่มีอยู่ในตัว ป้องกันมิให้ทำความชั่วอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความสุขในปัจจุบันและหลังจากละโลกนี้ไปแล้วโดยการปฏิบัติ ดังนี้
1. การแก้ปัญหาด้านร่างกาย ยอมรับความจริงกับสิ่งที่เกิดขึ้นทุกคนต้องเป็นเช่นนี้ ไม่ใช่เราคนเดียวที่เป็นเชื่อในกฎแห่งกรรมทำดีได้รับผลดีทำชั่วได้รับผลชั่วไม่ประมาทอดทนปล่อยวาง
2. การแก้ปัญหาด้านจิตใจและอารมณ์รักษาศีลฟังธรรมอดทนอดกลั้นลดความโกรธ ความโลภ เจริญสติ ฟังธรรมช่วยเหลือสังคม
3. การแก้ปัญหาด้านสังคมและครอบครัว มองโลกในแง่ดี เข้าใจ เห็นใจ ให้เกียรติ ไม่ใส่ร้ายหลีกเลี่ยงปัญหาการขัดแย้ง ให้ทานช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อจุนเจือกัน ยินดีกับการทำความดีของผู้อื่นเคารพในความดีของเพื่อนและของครอบครัว
4. การแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจและรายได้ ไม่ประมาทในการใช้จ่ายทรัพย์ ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง ใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น รู้จักประมาณตน ทำตนให้เป็นคนเลี้ยงง่าย
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The aims of this study were 1) to study Buddhadhamma in Thervāda concerning to mental health care for the elderly, 2) to study mental health issue of the elderly in Banklang community, Chaingkhom Sub-district, Pakkchom District, Loei Province, and 3) to study the application of Buddhadhamma in mental health care for the elderly in Banklang Community, Chaingkhom Sub-district, Pakkchom District, Loei Province. The study was a Qualitative Research gained and collected data by documents and fieldwork of the interview and general observation.
The study findings revealed that the elderly referred to whom were over 60 years old and the appropriate Buddhadhamma in applying to daily life for the highest benefit since primary level into practical level was Tilakkhana; so it was about mental health care for the elder that convinced them to accept both positive and negative truths as well as the hardship in keeping in Buddhadhamma for long life. Good physical and mental health of the elderly and carefulness in wealth was the Buddha Doctrine that would attempt people get the truth that all is unstable, not lasting, uncertain and transitory.
To apply Buddhadhamma in mental health care for the elderly in Banklang community was found that happiness in line with Buddhadhamma was not focused not only on human happiness, but also upcoming effects in oneself, family, society, and environment. Although happiness with object or Āmisasukha was also vital to daily life, a person should not overlook deliberately a life to be object servant or let your mind goes by defilements. Therefore, human would better pay attention to mind peace without external object, particularly, the happiness by studying the truth and comprehending life truth as well as faithful happiness. In addition, life bloomed with good deeds would permit happiness to oneself and others though life is short and time is swift but it was worth to live. Bringing Buddhadhamma to enhance the quality of life and solve health issue in order to discipline the sensuality by trying to do good deeds to keep up all good things in self. In doing so, to prevent doing badly for being happy at present and after leave the world could start practicing as follows:
1. Health solution; it was the way to accept the truth of the world certainly which would happen for all human equally so that human should live the life carefully with doing desirable deeds,
2. Mental and emotional solution; keeping basically in Five Precepts and listening to the sermon were best that human being should behave to restrain anger and greed, and to mediate for social development,
3. Social and family solution; being optimistic, comprehensive and sympathetic, and respecting to avoid any conflict were ways to live with others happily as well as helping each other both in and out the family,
4. Economic and income solution; being careful in spending and living life sufficiently would be the happiness more than trying to get things around without consciousness.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 3.12 MiB | 406 | 16 ก.ค. 2564 เวลา 04:48 น. | ดาวน์โหลด |