-
ชื่อเรื่องภาษาไทยวิเคราะห์ผลของบุพกรรมจากการทำปาณาติบาตที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analysisof the Result of the past Kamma from killing in Theravada Buddhist texts
- ผู้วิจัยพระครูธรรมธรธนดล สุวณฺโณ (แสงสุวรรณ์)
- ที่ปรึกษา 1พระเทพปริยัติเมธี, รศ.ดร.
- ที่ปรึกษา 2รศ.ดร.วรกฤต เถื่อนช้าง
- วันสำเร็จการศึกษา24/05/2018
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1525
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 195
- จำนวนผู้เข้าชม 290
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยเรื่อง วิเคราะห์ผลของบุพกรรมจากการทำปาณาติบาตที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาการทำปาณาติบาตในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาศึกษาผลของบุพกรรมจากการทำปาณาติบาตในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท และ 3) เพื่อวิเคราะห์ผลของบุพกรรมจากการทำปาณาติบาตในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท
การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร โดยทำการศึกษาจาก เอกสารปฐมภูมิ (Primary source) คือ พระไตรปิฎกประกอบกับเอกสารทุติยภูมิ (Secondary Sources) ได้แก่อรรถกถา คัมภีร์ปกรณ์วิเสส หนังสือ เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำมาวิเคราะห์สรุปผลการวิจัยในเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1) คำว่า ปาณาติบาต มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลี หมายถึง การฆ่าสัตว์ ในพระไตรปิฎกได้กล่าวถึงปาณาติบาตโดยภาพรวมว่า มีผลไม่ดีแก่ผู้กระทำทั้งในชาตินี้และชาติหน้า และสอนให้ละปาณาติบาต แต่มิได้แสดงรายละเอียดของปาณาติบาต ในคัมภีร์มังคลัตถทีปนี ซึ่งเป็นชั้นอรรถกถา ได้แสดงองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการทำปาณาติบาต ได้แก่ วธกเจตนา คือ เจตนาของผู้ฆ่า กระ บวนการของปาณาติบาต มี 2 ลักษณะคือ 1.กายปโยคะ การฆ่าด้วยตนเอง 2. วจีปโยคะ การฆ่าโดยการใช้ผู้อื่นฆ่าแทน การตัดสินว่ากิริยานั้นเป็นปาณาติบาต ต้องมีองค์ประกอบ 5 ประการ คือ 1. สัตว์มีชีวิต 2. รู้ว่าสัตว์มีชีวิต 3. มีเจตนาจะฆ่า 4. มีความพยายามที่จะฆ่า 5. สัตว์นั้นตายด้วยเจตนานั้น
2) บุพกรรม คือ กรรมที่ทำไว้ก่อน หรือ ทำไว้ในชาติก่อน หมายถึงทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว แต่บุพกรรมจากการทำปาณาติบาตหมายถึงกรรมชั่วเท่านั้น ในพระไตรปิฎกได้แสดงการส่งผลของกรรมหรือวิบาก จำแนกตามเวลาที่ให้ผล คือ 1.ในปัจจุบัน 2.ในชาติถัดไป 3.ในชาติต่อๆไป แต่คัมภีร์อรรถกถายุคต่อมา เช่นมโนรถปูรณี ได้แสดงการส่งผลของกรรมจำแนกเป็นกรรม 12 ประเภท ในอรรถกถาธรรมบทได้แสดงตัวอย่างผลของบุพกรรมจากการทำปาณาติบาต เช่น ผลของบุพกรรมจากการทำปาณาติบาตในปัจจุบันชาติของนายจุนทะคนชำแหละสุกร ผลของบุพกรรมจากการทำปาณาติบาตในชาติต่อมาของ และผลของบุพกรรมจากการทำปาณาติบาตในชาติต่อๆ มาของนางกาลียักษิณีและธิดาเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถีและในประเทศไทยก็ได้มีหนังสือที่รวบรวมตัวอย่างผลของบุพกรรมจากการทำปาณาติบาตเป็นจำนวนมาก สืบมาถึงปัจจุบัน
3) การเรียนรู้และเข้าใจผลของบุพกรรมจากการทำปาณาติบาตมีความมุ่งหมายเพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจกระบวนการของปาณาติบาตและองค์ประกอบของปาณาติบาต ให้เคารพในการมีชีวิตของผู้อื่น ให้เห็นโทษของการละเมิดศีลสังคมไทยในอดีตได้มีการสอนให้เห็นโทษของการละเมิดศีล โดยการศึกษากรณีตัวอย่างของบุคคลที่ได้รับผลของบุพกรรมจากการทำปาณาติบาต สืบมาจากอดีตถึงปัจจุบัน เป็นการยืนยันความเที่ยงตรงของหลักกฎแห่งกรรม การแก้ปัญหาปาณาติบาตในสังคมไทยปัจจุบันต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนสังคมได้แก่ ชุมชน วัด และราชการ ได้ช่วยกันชี้ให้เห็นโทษของปาณาติบาต แสดงให้เห็นประโยชน์ของการละปาณาติบาต ส่งเสริมให้มีการรักษาศีล และยึดมั่นในหลักเมตตาธรรม
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The research on ‘An analysis of the result of the past karma from killing in Theravada Buddhist texts’ had three purposes; first was to study on killing in Theravada Buddhist text, second was to study the results of the past karma from killing in Theravada Buddhist text and final was to analyze results of the past karma from killing in Theravada Buddhist text.
This research was documentary research by studying from primary source which was Tipitaka along with secondary sources which were commentary, books, documents and related researches then analyzed in form of descriptive research.
The results revealed that:
1. The word “Panãtibãtã” came from Pali language’s word which mean killing. Killing in Tipitaka generallymentioned the bad result for doer both in this life and next life.Itwas taught to be avoid but did not mention in detail. In Mangkalatthadipani, the commentary text, it shown the key elements of killing’s process was intent of killer. The killing’s process has two kinds; one was killing by oneself and another was killing by asking others to do it instead of oneself. There were five sorts of judging the action as killing: 1) that animal alive, 2) knowing that animal alive, 3) intent to kill, 4) attempt to kill and 5) that animal has died from that intent.
2.The word ‘Puppakamma’ means past karma or last life’s karma which mean both good and bad actions but the past karma from killing only means to bad action. In Tipitaka,they referred to the results of karma or Vipakawhich was classified by time: 1) at the presentlife 2) in the next life and 3) in the following life. But in the commentary textsin the lather time such as Manorathapurani, itexplained the effect of karma as it was 12 types. In the commentary of Thammapada,it shown some examples of the resultof karma from killing such as the results ofkarma from killing of Jundha, the pig slaughtererat the present life,the results of karma from killing of female demon name Kali and a daughter of rich family in Sawatthicity in the next life and in the following life. Even in Thailand also there weremany books on the results of the past karma from killing which are available until today.
3. Learning and understanding the results of the past karma of killing aimed to make people understand the process and elements of killing, respecting other’s life, realizing the bad results of infringement of Sila. In the past, Thai society clearly mentions on the bad results of the results of Sila’s infringement bystudying from the case study of people who get the result ofthe past karma from killing from past to present which had confirmed the Karma principle. Solving Panatibat’s problem in Thai society must required cooperation from all parts of society which were communities, temples and government services to indicate the bad results of killing and pointing out the benefits of avoiding killing by supporting people to follow Sila and adhere to compassionate principle.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 1.56 MiB | 195 | 16 ก.ค. 2564 เวลา 05:04 น. | ดาวน์โหลด |