โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ศึกษาสารูปพระสงฆ์ไทยในพระพุทธศาสนาเถรวาท
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of the Proper Behavior of Thai Monks in Theravada Buddhism
  • ผู้วิจัยพระอานนท์ ธมฺมโชโต (คนธาร์)
  • ที่ปรึกษา 1พระราชวชิรเมธี ผศ.ดร.
  • ที่ปรึกษา 2รศ.ดร.วรกฤต เถื่อนช้าง
  • วันสำเร็จการศึกษา09/05/2018
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1528
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 181
  • จำนวนผู้เข้าชม 456

บทคัดย่อภาษาไทย

                  การวิจัยเรื่อง ศึกษาสารูปพระสงฆ์ไทยในพระพุทธศาสนาเถรวาท มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาสารูปที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาสารูปพระสงฆ์ไทย 3) เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้สารูปแก้ปัญหาวิกฤติด้านศรัทธาทางพระพุทธศาสนาในสังคมไทยปัจจุบัน

                  การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร โดยทำการศึกษาจาก เอกสารปฐมภูมิ (Primary sources) คือ พระไตรปิฎก คัมภีร์อรรถกถาและเอกสารทุติยภูมิ (Secondary Sources) คือ เอกสาร งานวิจัย และตำราวิชาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และนำมาวิเคราะห์สรุปข้อมูลในเชิงพรรณนา

                  ผลการวิจัยพบว่า

 1) สารูป คือ ความประพฤติดีงามทางกาย และทางวาจา การรักษากาย และวาจาให้เรียบ ร้อย ข้อปฏิบัติสำหรับควบคุมกาย และวาจาให้ตั้งอยู่ในความดีงาม การรักษาปกติตามระเบียบวินัยตามพุทธบัญญัติไว้ หรือ หมายถึง เสขิยวัตร มีความสำคัญต่อการควบคุมกาย วาจา และใจของคนให้เรียบ ร้อย สงบร่มเย็น และเป็นสุข ขัดเกลาพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต มีผลต่อกิจกรรม พิธีกรรม พฤติกรรม “สารูป” และวินัยข้อบัญญัติที่มาในพระปาฏิโมกข์ เสขิยวัตร ของพระภิกษุเป็นวัตรที่ภิกษุจะต้องศึกษาเป็นธรรมเนียมเกี่ยวกับมารยาทที่ภิกษุพึงสำเหนียกหรือพึงฝึกปฏิบัติ มี 75 สิกขาบท สารูปมี 4 หมวด หรือ 4 ประเภท ว่าด้วย 1. สารูป 26 สิกขาบท, 2. โภชนปฏิสังยุต 30 สิกขาบท, 3. ธรรมเทศนาปฏิสังยุต 16 สิกขาบท, 4. ปกิณกะ 3 สิกขาบท สารูปที่ปรากฏในพระพุทธศาสนาสมัยพุทธกาล กรณีศึกษาพระพุทธ เจ้า พระอัสสชิ พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะเถระ พระมหากัสสปะ พระอานนท์ พระจักขุบาล และพระมหากัจจายนะ ทั้ง 8 ท่าน จะมีสารูปที่โดดเด่นแตกต่างกันแต่ละท่านประพฤติกาย วาจา ใจ ได้ครบบริสุทธิ์บริบูรณ์ทุกท่านด้วยเหตุที่ท่านทั้งหลายเป็นพระอรหันต์ด้วยกันทั้งสิ้น

 2) การประพฤติปฏิบัติตนของพระสงฆ์ไทย และพระสงฆ์ไทยทุกรูปต่างก็ยึดหลักพระธรรมวินัยในการประพฤติปฏิบัติตนอย่างเหมาะสม สมควรแก่สมณสารูปของตน โดยยึดหลักการปฏิบัติตามพระธรรม พระวินัยในเสขิยวัตร 75 เริ่มตั้งแต่การนุ่งห่ม การบริโภค และการแสดงธรรมหากแต่จะแตกต่างกันไปตามบุคคล บริบทของสังคม ก็ด้วยความสามารถของแต่ละท่านที่เข้าใจสถานการณ์ เข้าใจในยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปอันยังศรัทธาของประชาชนให้เกิดขึ้นในพระพุทธศาสนาให้สามารถยั่งยืนนานอยู่คู่กับประชาชนคนไทยสืบไป ส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างศรัทธาให้เกิดแก่ประชาชนโดยแต่ละรูปมีความประพฤติที่ดียึดระเบียบเคร่งครัดในพระธรรมวินัยข้อวัตรข้อปฏิบัติที่เหมาะที่ควรเป็นไปในทิศทางเดียวกันหากแต่ละรูปแต่ละท่านก็มีความโดดเด่นที่แตกต่างกันไปตามหน้าที่ ตามฐานะของแต่ละท่าน

 3) แนวทางการประยุกต์ใช้สารูปแก้ไขวิกฤตด้านศรัทธาทางพระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ไทย พบว่า แต่ละท่านมีพฤติกรรมการประพฤติการปฏิบัติตามหลักพระธรรมวินัยเป็นพื้นฐานเดิมส่วนใหญ่ใช้วิธีการแสดงธรรมและการปฏิบัติกรรมฐานในการสร้างศรัทธาแก่พุทธบริษัท จากประเด็นเหล่านี้ไดมีการบัญญัติมารยาทขึ้นเป็นกฎเกณฑ์ใช้สืบต่อกันมาตันบัญญัติมารยาทต่างๆ ที่เก่าแก่และถือเป็น ต้นแบบของมารยาทไทยปัจจุบัน คือ อภิสมาจาร ซึ่งเป็นหมวดพระวินัยในพระพุทธศาสนา

 ความสง่างามในศีลาจารวัตรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังความเลื่อมใสศรัทธาแก่ผู้พบเห็นและพระพุทธองค์ทรงอบรมสั่งสอนพระภิกษุสงฆ์ให้มีศีลาจารวัตรงดงามเรียบร้อย โดยทรงบัญญัติหมวดพระวินัยเสขิยวัตรขึ้น เมื่อพระภิกษุสงฆ์ปฏิบัติตามพระวินัยหมวดนี้แล้ว ทำให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย สงบ สำรวม  สง่างาม แก่ผู้ที่มาพบเห็น เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระรัตนตรัยตั้งแต่สมัยพุทธกาลจนถึงปัจจุบันนี้ พระพุทธศาสนาได้หยั่งรากลึกลงในประเทศไทย ชนชาติไทยได้คุ้นเคยกับศีลาจารวัตรอันงดงามของพระภิกษุสงฆ์จนซึมซับและถ่ายทอดกิริยามารยาทที่นุ่มนวลนั้น อบรมสั่งสอนลูกหลานสืบทอดต่อๆ กันมา

 หลักมารยาทของพระสงฆ์ในอภิสมาจารจึงเปรียบเหมือนเพชรน้ำหนึ่งที่ทำให้คนไทย พิเศษ มีความอ่อนโยน นุ่มนวล น่ารัก ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ค่อยมีปรากฏในชนชาติอื่นมากนัก จึงสมควรที่ ลูกหลานไทยยุคปัจจุบันจะต้องกลับมาทบทวน บกฝนตนเองอีกครั้งหนึ่งเพื่อรักษาวัฒนธรรมอัน ทรงคุณค่าและเป็นเอกลักษณ์ของชนชาวไทย โดยมีอภิสามจารของพระสงฆ์เป็นแบบอย่างในการประ พฤติปฏิบัติซึ่งส่งผลดีต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพราะสามารถยังศรัทธาให้เกิดขึ้นได้ในทันที แก่ผู้พบเห็น

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

              This research on “A Study of the Proper Behavior of Thai Monks in Theravada Buddhism” had 3 objectives : 1) to study the Sarupa (good physical and verbal behaviors) appeared in the scripture  of Buddhism, 2) to study the Sarupa of Thai monks and 3) to study the application of the Sarupa to solve the crisis of Buddhists faith in Thai society nowadays.

            This was a documentary study through studying from primary sources as Tripitaka, scripture of Buddhism and commentaries and from secondary sources such as research papers, related textbooks and brought them into descriptive data analysis. The results of the study revealed as the following:

              1. The Sarupa meant to good physical and verbal behaviors, the way to keep both in good order. The regulations which had been acted in Buddhism to control both physical and verbal behaviors and to keep them completely called Sekiyawat which was very important towards the controlling  of human’s physical, verbal and mind to have peaceful life while helping to refine his rough  behavior which influenced to the activities and ceremonies. Sarupa and Sekiyawat appeared in Prapatimok for the monks were the main routines that monks had to study to realize or to practice about the proper behavior consisting of 35 Sikabot, 4 categories for Sarupa showing in the Buddha’s time : 1. Sarupa 26 Sikabot, 2. Pochanapatisangyut  30 Sikabot, 3. Dhammathetsanapati sangyut 16 Sikabot and 4. Pakinaka 3 Sikabot. For case studies of 8 persons: Lord Buddha, Phrautsashi, Phramokkallanatera, Phramahagusapa, Phra Anon, Phrajackuban and Phramahakutgayana, it was found that each had his own remarkable Sarupa for all physical, verbal and mind which were all pure and complete and they all became arhats.

               2. The Sarupa of Thai monks, it showed that all followed for good behaviours to suit Sarupa according to the principles of 75 Sekiyawat Dhamma Doctrine properly ranging from clothing, consuming even in different personalities, Dhamma presentation, Thai social contexts and well understanding in the situations and the changing time which still remained in Thai people’s faith in Buddhism. The most important thing to build faith to the people was through doing good behaviour according to the principles of Dhamma Doctrine properly on the same direction of each monk even some might do remarkable actions differently because of their duties and status.

               3. The application of the Sarupa to solve the crisis of Buddhists’ faith in Thai society nowadays, it appeared that each monk had his own behaviour and followed for good behaviour to suit Sarupa according to the principles of Dhamma Doctrine as his  basic practice. Most were using Dhamma presentation and meditation practices to build faith for the Buddhists. From these points, the manner principles had been acted to be the regulations in different types from the older time to be the original patterns of Thai manners to the present time called Apisamajan which concluded in Dhamma Doctrine in Buddhism.

               The elegant of Lord Buddha’s behaviour built faith to anyone who met him and he taught his followers to have good behaviours as well by creating an Act of Sekiyawat for them to follow which could build that persons to be calm, neat, peaceful, focusing and elegant to the ones who met them which would build faith in the Triple Gem. Since the early Buddhist era to the present time, Buddhism has gone deeply in Thailand and Thai people have got used to Thai monks’ elegant till could absorb and teach those manners to their children  and also to the next generations so on.

               The manner principles of the monks in Apismajan could be compared as a diamond which made Thai people become the special ones with generosity, politeness and beautifulness which you could hardly find these characters in different nations. Thai children should review and practice themselves to maintain the worthy culture and to be the identity of Thai people by having the monks’ Apismajan as their good patterns which were good to lead to both the propagation of Buddhism and the building of the faith to anyone who met.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 1.64 MiB 181 16 ก.ค. 2564 เวลา 05:19 น. ดาวน์โหลด