-
ชื่อเรื่องภาษาไทยศึกษาเปรียบเทียบการอธิบายปฏิจจสมุปบาทในพระไตรปิฎกกับใน 4 พระเถราจารย์
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Comparative Study of Explanations of Paticcasamuppada in the Tipitaka and Buddhist Scholar Monks
- ผู้วิจัยพระครูวิบูลย์โพธิวัตร (กิตติพจน์ ปิ่นสวัสดิ์)
- ที่ปรึกษา 1พระครูวิจิตรศีลาจาร, ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระครูสิริธรรมาภิรัต, ผศ.ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา17/03/2017
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1530
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 670
- จำนวนผู้เข้าชม 608
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการอธิบายปฏิจจสมุปบาทในพระไตรปิฎก 2) เพื่อ
ศึกษาการอธิบายปฏิจจสมุปบาทของพระเถราจารย์ และ 3) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบจากการอธิบายปฏิจจสมุปบาทในพระไตรปิฎกกับใน 4 พระเถราจารย์ โดยมีพระเถราจารย์ จำนวน 4 ท่าน ได้แก่ พระพุทธโฆสาจารย์ ท่านพุทธทาสภิกขุ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) และพระวรศักด์ วรธมฺโม
จากการศึกษาพบว่า :
1. การอธิบายปฏิจจสมุปบาทในพระไตรปิฏกเป็นการอธิบายที่เป็นไปในหลักอริยสัจจ์ 4 ที่มุ่งอธิบายเรื่องทุกข์ (ทุกขอริยสัจจ์และสมุทยอริยสัจจ์) ซึ่งเป็นฝ่ายสมุทยวารแห่งปฏิจจสมุปบาท กับเรื่องไม่ทุกข์ (นิโรธอริยสัจจ์และมรรคอริยสัจจ์) ฝ่ายนิโรธวารแห่งปฏิจจสมุปบาท โดยไม่เอียงสุดไปในทางยินดี-ยินร้าย ซึ่งเป็นเรื่องกามสุขัลลิกานุโยคกับอัตตกิลมถานุโยค, สัสสตทิฏฐิกับอุจเฉททิฏฐิ และอัตตากับนิรตา เป็นต้น จึงมีความสัมพันธ์กับหลักธรรมสำคัญในทางพระพุทธศาสนาในเรื่องต่างๆ ด้วย เช่น อายตนะ 6 ขันธ์ 5 อริยสัจ 4 ไตรลักษณ์ และอริยมรรคมีองค์ 8 เป็นต้น
2. การอธิบายปฏิจจสมุปบาทใน 4 พระเถราจารย์นั้น ได้แก่ 1) พระพุทธโฆสาจารย์ อธิบายเป็นเรื่องตั้งแต่ต้นไปหาปลาย, ปลายไปหาต้น, จากกลางไปหาปลาย และจากกลางไปหาต้น โดยได้อธิบายยึดหลักอริยสัจ 4 แต่อธิบายเป็นเรื่องทุกข์กับการดับทุกข์ และเรื่องทุกข์อธิบายเป็นเรื่องของการเกิดขึ้นของภพ-ชาติ ที่เป็นเรื่องบุคคลใน 3 ภพ 3 ชาติ เป็นแบบคร่อมภพคร่อมชาติ 2) ท่านพุทธทาสภิกขุ อธิบายยึดหลักอริยสัจ 4 แต่อธิบายเป็นเรื่องทุกข์กับการดับทุกข์ โดยให้มีสติในขณะผัสสะ ท่านอธิบายว่า ตัณหา 3 เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ มรรคมีองค์ 8 เป็นทางให้ถึงความดับทุกข์ แสดงว่าไม่ได้อธิบายที่ผัสสะ ถ้าอธิบายที่ผัสสะต้องเป็นเรื่องทุกข์กับไม่ทุกข์ 3) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ก็อธิบายยึดหลักอริยสัจ 4 แต่อธิบายเป็นเรื่องทุกข์กับการดับทุกข์เช่นกัน และมักยกตัวอย่างเป็นเรื่องตัวบุคคล อธิบายภพ-ชาติจึงเป็นเรื่องตัวตนบุคคล และอธิบายเช่นเดียวกับพระพุทธโฆสาจารย์ดังกล่าวด้วย ซึ่งไม่เห็นภาวะแห่งปัจจยาการ และเป็นเรื่องอัตตาไม่เป็นเรื่องอนัตตา และ 4) พระวรศักดิ์ วรธมฺโม ได้อธิบายปฏิจจสมุปบาทยึดหลักอริยสัจ 4 ด้วย และอธิบายเป็นเรื่องทุกข์กับไม่ทุกข์ในขณะผัสสะเกิดเวทนา เมื่อเพลินในเวทนา(มีตัณหา) จึงเป็นทุกข์ ไม่เพลินในเวทนา(ไม่มีตัณหา) ไม่ทุกข์ และไม่ทุกข์นั้นคือนิโรธ (นิโรธ มาจาก นิ บทหน้า แปลว่า ไม่มี, ไม่เหลือ, สิ้นเชิง, กับ รุธฺ ธาตุ บทหลัง ในความปิดกั้น, กัน, ป้องกัน) ทุกขนิโรธ จึงแปลว่า ธรรมที่ป้องกันไว้ได้อย่างสิ้นเชิงซึ่งทุกข์ เป็นภาวะที่ไม่ให้ทุกข์เกิด คือเดินไปในทางที่ตรงกันข้ามกับทางสมุทัย-ทุกข์ ก็คือไม่ทุกข์ หรือทุกข์ไม่เกิด จึงมีความหมายว่า ไม่ทุกข์ เป็นสายนิโรธวาร เป็นสายไม่ทุกข์ในปฏิจจสมุปบาท ไม่ใช่สายดับทุกข์ และอธิบายภพ-ชาติเป็นการเกิดในภาวะ (ภพ) ใหม่ ทั้งทางกายและทางจิต คำว่า ภพ ได้แก่ ภาวะที่จิตอยู่ในภาวะใหม่ กายอยู่ในภาวะใหม่ จิตใหม่กับกายใหม่รวมกันก็เกิดเป็นชีวิตใหม่หรือชาติในที่นี้ อย่างมิใช่ตัวตน บุคคล เราเขา
3. เปรียบเทียบการอธิบายปฏิจจสมุปบาทในพระไตรปิฎกกับในพระเถราจารย์ พบว่าในพระไตรปิฎกอธิบายเป็น 2 สาย ได้แก่ สายสมุทยวาร คือสายทุกข์ และสายนิโรธวาร คือสายไม่ทุกข์ ไม่ทุกข์เป็นความหมายของ ทุกขนิโรธ ที่มาจากภาษาบาลี ซึ่งแปลว่า ป้องกันไว้ได้อย่างสิ้นเชิงซึ่งทุกข์เป็นภาวะธรรมที่ไม่ให้ทุกข์เกิด ก็คือ ไม่ทุกข์ และพระเถราจารย์ทั้งสามท่านอธิบายเป็นสองสายเช่นกัน คือสายสมุทยวารเป็นสายทุกข์ แต่สายนิโรธวารท่านอธิบายเป็นสายดับทุกข์ มีเพียงพระวรศักดิ์ วรธมฺโม ท่านเดียวเท่านั้น ที่ท่านอธิบายเป็นสายทุกข์กับสายไม่ทุกข์ ไม่ใช่สายทุกข์กับดับทุกข์ ดังพระเถราจารย์ทั้งสามอธิบาย.
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The study aimed (1) to study the explanation of Patiicca-samuppàda in the Tripitaka, (2) to investigate explanatory ways on Paticcasamuppàdaby Buddhist elders, and (3) to analyze the comparison of the explanation on Patiicca-samuppàda in the Buddhist Canon and by four prominent Buddhist Elders ; Buddhaghosacariya, Buddhadasa Bhikkhu, Phrabramgunapon and Phra Worasak Waradhammo.
The findings were as follows:
1. the explanation on Paticca-samuppàda in the Buddhist Canon explains the Four Noble Truths focusing on suffering, cause of suffering (Dukkha-Ariyasacca-DukkhasamudayaAriyasacca on Samudayavara in Paticca-samuppàda), cessation of suffering (Nirodha-Ariyasacca and Magga-Ariyasacca in Nirodhavara which does not take the most extreme side of Sassataditthi and Ucchedaditthi or Atta and Nirta that is accorded with the important Buddhist doctrinal principles like Ayatana 5, Khandha 5, Ariyasacca, Tilakkhana and Ariya-Aatthamgikamagga etc.
2. The explanations given by the four Buddhist elders were as follows; (i) Buddhaghosa cariya elaborated Paticca-samuppàda from beginning to the end, the end to the beginning and the middle to the beginning with the explanation on dukkha and Samudaya and the birth of a man in three realms and births, (ii) Buddhadasa Bhikkhu explained Paticca-samuppàda in Ariyasacca mode focusing on suffering and cessation of suffering emphasizing contact by being mindful while having contact His explanation focus on "Desire is the cause of Suffering. The Eight - fold Path is the Way leading to the cessation of suffering". This means the explanation does not focas on contact. If this focas on contact the Buddha's teaching will be "the suffering and the state of no suffering" not the suffering and the cessation on of Suffering, (iii) Phrabomgunapon explains Paticca-samuppàda in Ariyasacca mode focusing on suffering and cause with example of a person who cannot see the state of Paccayakara, (iv) Pra Worasak Woradhammo explains Paticca-samuppàda in the Ariyasacca mode as suffering and no suffering from contact and sensation If seusation is attached to suffering (Dukkha) will arise. If the seusation is detached from the state of no suffering (Nirodha) will appear.
3. In comparative result, it was found that the explanation in the Buddhist Canon is divided into two streams; Samudayawara-dukkha and Nirodhawara– cessation whereas elders present two streams; Samudyawara-dukkha and Nirodhawavara–cessation. Phra Worasak explained dukkha stream and no dukkha stream.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 3.6 MiB | 670 | 16 ก.ค. 2564 เวลา 05:34 น. | ดาวน์โหลด |