-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการศึกษาวิเคราะห์พระธรรมวินัยในฐานะเป็นฐานของมารยาทไทย
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analytical Study of Dhammavinaya as based on Thai Manners
- ผู้วิจัยปัญญา นามสง่า
- ที่ปรึกษา 1พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร, ดร.
- ที่ปรึกษา 2ผศ.ดร.ประพัฒน์ ศรีกูลกิจ
- วันสำเร็จการศึกษา29/05/2017
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1546
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 665
- จำนวนผู้เข้าชม 535
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับมารยาทในทรรศนะสังคมไทย เพื่อศึกษามารยาทตามหลักพระธรรมวินัยในพระพุทธศาสนาเถรวาท และเพื่อศึกษาหลักพระธรรมวินัยในฐานะเป็นฐานของมารยาทไทย ซึ่งการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า
มารยาทไทยตามทรรศนะสังคมไทย หมายถึงกิริยาวาจาที่สุภาพเรียบร้อย ที่บุคคลพึงปฏิบัติในสังคม โดยมีระเบียบแบบแผนอันเหมาะสมตามกาลเทศะ อันมีขอบข่ายครอบคลุมถึงกิริยาวาจาต่างๆ เช่น การยืน การเดิน การนั่ง การนอน การรับของส่งสิ่งของ การทำความเคารพ การแสดงกิริยาอาการ การรับประทานอาหาร การให้และรับบริการ การทักทาย การสนทนา การใช้คำพูด การฟัง การพูด การแต่งกาย บุคลิกภาพ รวมทั้งการประพฤติปฏิบัติในพิธีการต่างๆ ของบุคคลผู้ที่มีกาย วาจา ใจ อันประกอบสุจริตและความอ่อนน้อมถ่อมต้น เป็นต้น
พระวินัยที่เป็นฐานของมารยาทไทย จากการศึกษาพบว่า ได้แก่ หลักอภิสมาจาร อันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของภิกษุ และหลักเสขิยวัตร อันเป็นข้อปฏิบัติที่ภิกษุจะต้องศึกษาสำหรับฝึกฝนกิริยามารยาทให้ดูเรียบร้อยงดงามสมกับภาวะของสมณะยังความเลื่อมใสให้เกิดแก่ผู้พบเห็น ส่วนหลักธรรมะที่เป็นฐานให้เกิดมารยาทไทย ได้แก่ อปจายนธรรม คารวธรรม สังคหวัตถุธรรม วาจาสุภาษิต พรหมวิหารธรรม สมชีวิตธรรม ทิฏฐธัมมิกธรรม มาตาปิตุอุปัฏฐานธรรม เป็นต้น นอกจากนี้มารยาทไทยที่เกิดจากพระธรรมวินัย อันเป็นฐานให้เข้าถึงธรรมหรือบรรลุธรรม จากการศึกษาพบว่า มี อคติ โลกปาลธรรม กัลยาณธรรม ไตรสิกขา อปัณณกปฏิปทา อัปปมาทธรรม และสติปัฏฐาน เป็นต้น จากหลักธรรมทั้งหมดดังกล่าวมานี้ เป็นมารยาทที่เป็นฐานให้เกิดความงามกล่าว คือ ‘งามกาย งามวาจา งามทิฏฐิ และงามปัญญา’ และนอกจากนี้ยังส่งผลเชื่อมต่อไปยังหลักธรรมอื่นๆ ในลำดับสูงๆ ขึ้นไปตั้งแต่โลกิยธรรม จนถึงโลกุตตรธรรม
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This research to study the views about manners in Thai society to study of manners on the principles Dhamma-vinaya in Theravada Buddhism and to the analytical study of the principles Dhamma-vinaya as based on the Thai manners (3) to the analytical study of the Thai manners on the ultimate liberation. This study is a qualitative research.
The results of the study found that:
Thai manners on the views of Thai society means the manner which is done in our society such as the appropriate rule, the reasonable pattern that covered on the manners etc. in the act of standing, walking, sitting, sleeping, receiving and sending, respecting, giving and serving, saying, conversation, speaking, dressing, personal act, including all of personal one have to be done in the activity in ritual performance of every one must be done.
Thediscipline (Vinaya) as based on Thai manners. It was found that : Abhisamacara is the principle of the higher training in proper conduct of Bhikkus and Sekhiyavatta is the seventy-three of the rules for training the rules of good breeding of Bhikkhus that they must be study for training rules the manners to suitable in Bhikkuhood and to be make a faith occurs for the watcher person. The Dhamma (Doctrine) as based on Thai manners : Apajayanadhamams (discipline to be gained through being respectful), Gavaradhamma (respecting Dhamma), Jattaro Sangahavatthu (four basses of social solidarity), Vajasuphasit (well spoken speech), Bhahavihara (Holy abiding), Sattasuppurisadhamma (Quality of a good man Balanced) Samajivita (livelihood), Tiddhadhammikattha-samparayikatthadhamma (virtues connective to benefits in the present time), Matapitu–Upatthanang (support of mother and father), etc. In addition to, Thai moralities that happen form the discipline as based on the ultimate liberation or achieved to the Dhamma from the result of this studying was found that : There are Agati (wrong course of behavior), Lokapala-dhamma (virtues that protect the world), Sobhanakarana-dhamma (gracing virtues), Sikkha (the threefold learning) Apannaka-patipasa (unimpeachable path), Appamada (heedfulness) and Satipatthana (foundations of mindfulness), etc. From all these Dhamma principles, it’s so called the best manners which based on a beauty of human : a beautiful personality, a beautiful verbal, a beautiful consciousness, a beautiful thought, and a beautiful wisdom. And in addition to, this study results to links up still to other Dhamma (doctrine) that is ; from the mundane states to supramundane states.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 3.17 MiB | 665 | 17 ก.ค. 2564 เวลา 04:55 น. | ดาวน์โหลด |