-
ชื่อเรื่องภาษาไทยรูปแบบการเสริมสร้างพลังศักยภาพสตรีเพื่อพัฒนาชุมชน ตามหลักพุทธธรรม
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Model of Women Empowerment for the Community Development According to Buddhist Principles
- ผู้วิจัยนางประทิน แสงไทย
- ที่ปรึกษา 1พระราชปริยัติกวี (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ), ศ.ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระมหาพรชัย สิริวโร (ศรีภักดี), ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา11/01/2018
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1549
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 220
- จำนวนผู้เข้าชม 461
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง รูปแบบการเสริมสร้างพลังศักยภาพสตรีเพื่อพัฒนาชุมชน ตามหลักพุทธธรรม มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี การเสริมสร้างพลังศักยภาพสตรีเพื่อพัฒนาชุมชนตามศาสตร์สมัยใหม่ 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมในการเสริมสร้างพลังศักยภาพสตรีเพื่อพัฒนาชุมชน และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการเสริมสร้างพลังศักยภาพสตรีเพื่อพัฒนาชุมชนตามหลักพุทธธรรม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาจากเอกสาร จากการลงพื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำ คัญ และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม
ผลการศึกษา พบว่า ตามแนวคิดศาสตร์สมัยใหม่สตรีควรได้รับการเสริมสร้างพลังศักยภาพ ทั้ง 5 ด้าน คือ 1) ด้านครอบครัว สตรีต้องพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจดูแลอบรมบุตรและปฏิบัติตามบท บาทหน้าที่ 2) ด้านการศึกษา พัฒนาและกระตือรือร้นแสวงหาความรู้ 3) ด้านเศรษฐกิจ กระตุ้นให้สตรีเป็นผู้นำ และรู้กฎหมายแรงงาน 4) ด้านสังคม ร่วมคิดและตัดสินใจในกิจกรรมของชุมชน 5) ด้านการ เมือง สนับสนุนให้สตรีและเยาวชนสนใจการเมืองท้องถิ่นและการปกครองระบอบประชาธิปไตย และลงเลือกตั้งมากขึ้น
หลักพุทธธรรมที่นำมาเสริมสร้างพลังศักยภาพสตรีด้วยครอบครัว คือ หลักพรหมวิหาร 4 หลักฆราวาสธรรม 4 และหลักทิศ 6 ด้านการศึกษาใช้หลักไตรสิกขา และหลักพาหุสัจจะ ด้านเศรษฐกิจใช้หลักทิฏฐิธัมมิกัตถะ ด้านสังคมใช้หลักสังคหวัตถุ 4 หลักสาราณียธรรม 6 และด้านการเมืองใช้หลัก อปริหานิยธรรม และหลักอคติธรรม
รูปแบบการเสริมสร้างพลังศักยภาพสตรีเพื่อพัฒนาชุมชนตามหลักพุทธธรรม พบรูปแบบที่เรียกว่า “LPD Model for Women” อันประกอบด้วย 1) Learning Step (ขั้นเรียนรู้) คือ การส่งเสริมโลกแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยการพัฒนาตนเองให้มีพลังแห่งความรักทำให้ครอบครัวมีความอบอุ่นและเข้มแข็งและการทำบทบาทหน้าที่ของตนให้ครบถ้วนสมบูรณ์และพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพื่อนำมาสร้างคุณค่าให้กับตนเองและพัฒนาชุมชน ทั้งในด้านการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง การสานสัมพันธ์ในชุมชน การปกครองทั้งด้านนิติรัฐและประชาติรัฐตามหลักประชาธิปไตย 2) Practice Step (ขั้นปฏิบัติ) คือ การส่งเสริมให้สตรีแสดงตนเป็นแบบอย่างที่ดีตามบทบาทหน้าที่ทั้งส่วนตัวและสังคม หมั่นพัฒนาตนเองเสมอ ขยันหาและขยันเก็บเป็นนักวางแผนการเงินให้กับครอบครัวและชุมชน สามารถเป็นผู้นำและปฏิบัติตนเป็นพลเมืองประชาธิปไตยที่ดีเป็นแบบอย่าง ใส่ใจแบ่งปันและทำตนให้เป็นประโยชน์กับชุมชน 3) Development Step (ขั้นพัฒนา) คือ การเสริมสร้างศักยภาพสตรีเพื่อให้มีพลังยิ่งขึ้นด้วยการใช้หลักพุทธธรรมมาเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตตนเองในทางที่ดีงามและนำพาชุมชนให้เจริญเข้มแข็งและยั่งยืนด้วยพลังสตรีในชุมชน โดยการทบทวนความผิดพลาด ปรับปรุงแก้ไขและทำให้เจริญ พัฒนาตนเอง พัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่อง สำหรับ ด้านครอบครัว คือ เสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัวให้อบอุ่น, แบ่งบทบาทหน้าที่ด้วยตระหนักรู้ในคุณค่าของกันและกัน และรับผิดชอบงานภาย ในบ้านควบคู่กับใช้ชีวิตในชุมชนให้มากขึ้นด้วยการทำงานสร้างสรรค์ ด้านการศึกษา คือ การเรียนรู้โลกด้านในสร้างปัญญาและพลังชีวิต, การเติมเต็มความรู้ร่วมสมัยเพื่อก้าวทันโลกอย่างสมดุล และทบทวนตรวจสอบตนเองเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้านเศรษฐกิจ คือ การแสวงหาช่องทางการเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวและชุมชนบนรากฐานแห่งความพอเพียงและความไม่ประมาท และสร้างวินัยบริหารการเงินอย่างตระหนักถึงคุณค่ามากกว่าสนองวัตถุนิยม ด้านสังคม คือ ปลูกจิตสำนึกการยึดเหนี่ยวใจในชุมชน และปลูกฝังความมีวินัยความหนักแน่นมั่นคงในจุดหมายที่ดีงามร่วมกัน ด้านการเมือง คือ สร้างความรอบรู้ด้วยการหมั่นพบประพูดคุยในชุมชน, ยึดมั่นเคารพในกติกา, ร่วมสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตย, ส่งเสริมให้เรียนรู้ในการให้เกียรติรับฟัง เคารพในความเห็นต่าง, กล้าแสดงความเห็นที่เป็นประโยชน์, สร้างเสริมวัฒนธรรมชุมชนในการสอดส่องดูแลและปกป้องสิทธิ์, ร่วมกันรักษาประเพณีอันดีงามและตระหนักถึงคุณค่าให้เกียรติยกย่องผู้อาวุโสในชุมชน
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This dissertation entitled ‘A Model Of Women Empowerment for The Community Development According to Buddhist Principles’ has three objectives: 1) to study ideas and theories empowering women for the development of community based on modern sciences, 2) to study Buddhist principles in empowering women for the development of community, and 3) to propose the model in empowering women for the development of community based on Buddhist Principles. This is a qualitative research done by studying documentaries and in-depth interview of key informants including non-participatory observation.
In the study, it was found that the empowerment ideas of women based on modern sciences in the matter of family basically require the physical and mental readiness while taking care of children and performing their assigned duty, in education, it requires the lifelong development of knowledge; they should be enthusiastic about searching for certain knowledge and new information technology in order that they can make use of them in daily life, in economics, they should be economically trained so that they can help their family and community; they should have self-reliance by having knowledge on labour law, in society, they should be participatory allowed in thinking and making some decision in the community activities and in politics they should be encouraged to pay proper attention to the regional politics and democratic government; they should be allowed to making more networking and being the members of political party and election than this.
As far as the Buddhist principles in empowering women are concerned, four sublime states of mind and six directions should be applied to empower family, threefold training and scholars should be applied to empower the education, in economics the principle of virtues conducive to benefits in the present should be applied, in society four bases of solidarity and four virtues for a good householder life should be applied, in politics the principle of things leading never to decline but only to prosperity should be applied.
The empowerment model of women for the community development according to Buddhadhamma found the model called ‘LPD Model for Women’. That can be divided into three steps as follows: 1) Learning step; this step basically requires the affection and good relationship for the family which can be actualized through loving kindness, compassion sympathetic joy and equanimity; one should forgive and being honest and that can be made when one is making endless effort in learning and participating, understanding the regional and country government in the way it becomes, be it legal state or civil state so as to adjust it to suit the community, 2) Practice step; one should act as the best practitioner such as those who become mothers, they should act as the role model through learning and making effort to earn cost of living, apart from that they should get themselves trained to be the good leader in community and society including bring democratic value to their family and community, and 3) Development step; Buddhadhamma can be empowered in the following ways: in family the good relationship inside one’s family should be empowered through realization of one’s duty and valuation of one another by means of taking responsibility of what is creatively assigned inside the family side by side with more community’s work, in education the learning leading to wisdom and vital life should be constructively provided so that one can understand the need and thereby learning and evaluating oneself leading to the sustainable development, in economics the principle of the present benefit should be applied in order to earn what is based on sufficiency economy and its true value, in society the establishment of the consciousness of community based on the firm goal should be made, in politics the principle of things leading never to decline but only to prosperity and non-bias should be applied to making an awareness through conversation in order to have mutual respect in the order and thereby realizing the value of democracy, honoring others’ opposite opinions and expression wherein certain benefit is available, and the cultural community and rights of people should be protected so that the value in the community including honoring the elderly people can be actualized respectively.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 7.61 MiB | 220 | 17 ก.ค. 2564 เวลา 05:24 น. | ดาวน์โหลด |