โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    บทบาทพุทธศาสตรบัณฑิตที่มีต่อการพัฒนาสังคมในจังหวัดตาก
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhist Bachelor Role towards Social Development in Tak Province
  • ผู้วิจัยพระมหาจักรพันธ์ จกฺกวโร (นะวะแก้ว)
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ, รศ.
  • ที่ปรึกษา 2ดร.อุบล วุฒิพรโสภณ
  • วันสำเร็จการศึกษา18/04/2017
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1621
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 192
  • จำนวนผู้เข้าชม 253

บทคัดย่อภาษาไทย

               การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของพุทธศาสตรบัณฑิตที่มีต่อการพัฒนาสังคมในจังหวัดตาก 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของพุทธศาสตรบัณฑิตที่มีต่อการพัฒนาสังคมในจังหวัดตาก 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ในการนำไปสู่กระบวน การพัฒนา พุทธศาสตรบัณฑิตที่มีความสอดคล้องกับความต้องการของสังคม

                 การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ดำเนินตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจโดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ พุทธศาสตรบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหน่วยวิทยบริการจังหวัดตาก จำนวน 6 รุ่น มีจำนวนประชากนทั้งสิ้น 336 รูป/คน และได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 183 รูป/คน  ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยการใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ การทดสอบค่าที ในกรณีตัวแปรต้นสองกลุ่ม และทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปร ปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด และนำเสนอเป็นบท ความเรียงประกอบตาราง โดยการแจกแจงความถี่ของผู้ตอบคำถามปลายเปิด และการ วิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 ท่าน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประ กอบบริบท

               ผลการวิจัย พบว่า

               1) ผู้สำเร็จการศึกษาพุทธศาสตรบัณฑิตมีความคิดเห็นต่อบทบาทการพัฒนาสังคมในจังหวัดตาก โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน คือ ด้านบทบาทการบริการวิชาการรับใช้สัง คม ด้านการสืบสานศิลปวัฒนธรรมและการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และด้านการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อรับใช้สังคม พบว่า ผู้สำเร็จการศึกษาพุทธศาสตรบัณฑิตมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้าน

               2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้สำเร็จการศึกษาพุทธศาสตรบัณฑิตต่อบทบาทการพัฒนาสังคม ในจังหวัดตากที่จำแนกตาม สถานภาพ อายุ บัณฑิตรุ่นที่ และประเภทหน่วยงานของท่าน  ตัวแปรที่ทำให้ความคิดเห็นของผู้สำเร็จการศึกษาพุทธศาสตรบัณฑิตที่มีต่อการพัฒนาสังคมในจังหวัดตาก ที่แตกต่างกันก็คือ อายุและประเภทของหน่วยงาน ส่วนตัวแปรที่ทำให้ความคิดเห็นของผู้สำเร็จการศึกษาพุทธศาสตรบัณฑิตที่มีต่อการพัฒนาสังคมในจังหวัดตาก ไม่แตกต่างกันคือ สถานภาพ และบัณฑิตรุ่นที่

               3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ บทบาทพุทธศาสตรบัณฑิตที่มีต่อการพัฒนาสังคมในจังหวัดตาก ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม ควรจัดกิจกรรมเข้าร่วมโครงการต่างๆกับส่วนงานราชการเพื่อสร้างบทบาทในเวทีแลกเปลี่ยนทางวิชาการ รวมไปถึงการจัดกลุ่มองค์กรในการเผยแผ่ผลงานวิชา การออกสู่สังคม สร้างเครือข่ายด้านการบริการวิชาการแก่สังคมร่วมกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ หรือมีการจัดอบรมเครือข่ายการบริการวิชาการแก่สังคมเพื่อให้บัณฑิตได้ใช้เป็นฐานในการพัฒนาองค์ความรู้ เพื่อให้บัณฑิตรุ่นต่อไปได้สานต่องานจิตสาธารณะ

               ด้านการสืบสานศิลปวัฒนธรรมและการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ควรมีโครงสร้างการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมให้ชัดเจนโดยเฉพาะวิทยาลัยสงฆ์ควรจะเป็นหลักที่จะสร้างการสืบสานศิลปวัฒนธรรมให้มีความเด่นชัดขึ้น จัดตั้งกลุ่มโดยองค์กรบัณฑิต หรือศิษย์เก่า การสืบสานศิลปวัฒนธรรมส่งเสริมให้ศิษย์เก่าได้เข้าร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นผู้นำชุมชน วิทยาลัยสงฆ์ควรมีแบบในการส่งเสริมให้บัณฑิตได้ใช้ความรู้ทางพระพุทธศาสนาได้อย่างเต็มที่อันเป็นการช่วยสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา

               ด้านพัฒนาองค์ความรู้เพื่อรับใช้สังคม ควรหาเวลาเพิ่มเติมสิ่งที่ยังขาดหาย  และหาข้อบก พร่องในบางประการขององค์ความรู้ในการที่จะถ่ายทอดและพัฒนาองค์ความรู้  จัดให้มีการบรรยายพิเศษโดยวิทยากรด้านพัฒนาสังคมเพื่อเพิ่มทักษะให้กับบัณฑิตอันจะนำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ของตัวเอง และสะสมประสบการณ์พัฒนาองค์ความรู้ของตัวเองในการรับใช้สังคม

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

               The  objectives of this research were: 1) to study  Buddhist Bachelor Role Towards Social Development In Tak Province, 2) to compare the opinion of Buddhist Bachelors to Social Development in Tak Province, 3) To study problems, obstacles and suggestions for leading to process of Buddhist Bachelor development to match with the demand of society.

               This research is the mixed method research. For the quantitative research used the survey research by the sampling group were the 6 alumni of Buddhist bachelors from Tak academic service unit and 184 out of total population of 336 monks/persons that the sampling group used the formula of Taro Yamane. The researcher had the data analysis through frequencies, percentage, and average, standard deviation (S.D) for describing data from variables or personal characteristics. The analysis was also done through t-test for analysis the hypotheses in order to test the average difference between the two groups and f- test by one-way ANOVA and presented the article with table by explaining the frequency of opened questionnaire correspondents. For the qualitative research used in-depth interview from 7 key informants through the content analysis technique.

               The findings of this research as follows :

               1. The persons who finished the Buddhist bachelors or pundit had the opinion to the role to social development in Tak province, in overall, was at high level. When classified by each aspect, such as the role of academy to serve the society, the culture and arts preservation and Buddhism propagation and knowledge development to serve the society, found that the people who finished the Buddhist bachelors had the opinion at high level in all aspects.

               2. The findings the comparison to persons who finished the Buddhist bachelor to Social Development in Tak Province, classified by personal data and found that the difference of status, age , year of Buddhist bachelors and kinds of agencies. For the persons who had the difference of age and kinds of agencies had the opinion to the role of Buddhist bachelors to social development in Tak province differently. But the persons, who had the difference of status and year of Buddhist bachelors, had the opinion to persons who finished the Buddhist bachelor to social development in Tak province indifferently.

               3. The problems, obstacles and suggestions for the role of Buddhist bachelors to social development in Tak province and found that the academic service to society, should set up the activity to participate theprojects with government agencies for creating the role on academic exchange stage including to set up the organization to show academic works to society, network creation for academic service to society with other universities or have the training the academic service network to society to Buddhist bachelors use as the base on knowledge development in the sake of next Buddhist bachelors to have the public minded work.

                     The culture and arts preservation and Buddhism propagation: should have the structure to preserve the arts and culture clearly, especially Sangha University should be the main institution to preserve arts and culture more clearly. To set up the group of Pundit organization or alumni organization to preserve the arts and culture to promote the alumni to participate the activity of Buddhism as community leaders. The university should have the pattern to promote the Buddhist bachelors or pundit to use the fully knowledge of Buddhism for Buddhism maintenance.

                      The knowledge development to serve the society: should find enough time to increase the lost thing and find the some mistakes of knowledge to be transferred and knowledge development, to set up the special lecture by social development academician to adding the skill to Buddhist bachelors or pundits that will lead to own knowledge development and collect the experience of own knowledge development to serve the society.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 5.42 MiB 192 20 ก.ค. 2564 เวลา 03:49 น. ดาวน์โหลด