-
ชื่อเรื่องภาษาไทยประสิทธิภาพการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในอำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Efficiency in the Sangha Administration of the Sangha Administritors at Bantak District,Tak Province
- ผู้วิจัยพระปลัดสุขสันต์ ยสินฺธโร
- ที่ปรึกษา 1พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ, รศ.
- ที่ปรึกษา 2ดร.อุบล วุฒิพรโสภณ
- วันสำเร็จการศึกษา26/04/2017
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1633
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 175
- จำนวนผู้เข้าชม 479
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในอำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก 2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในอำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อประสิทธิภาพการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในอำ เภอบ้านตาก จังหวัดตาก
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการแจกแบบ สอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่นำมาใช้ในงานวิจัย คือ พระสงฆ์ในอำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก จำนวน 126 รูป จากจำนวนพระภิกษุ 183 รูป โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.894 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ในกรณีตัวแปรต้นสองกลุ่ม และทดสอบสมมติฐานโดยการทด สอบค่าเอฟ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด และนำเสนอเป็นบทความเรียงประกอบตาราง โดยการแจกแจงความถี่ของผู้ตอบคำถามปลายเปิด และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดย การสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 ท่าน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า
1) ความคิดเห็นของพระสงฆ์ที่มีต่อประสิทธิภาพการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในอำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X̅= 3.19) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความคิดเห็นของพระสงฆ์ที่มีต่อประสิทธิภาพการบริหารกิจการ คณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในอำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก โดยด้านที่มีประสิทธิภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านการสาธารณสงเคราะห์ (X̅= 3.41) ส่วนรองลงมา ได้แก่ ด้านการเผยแผ่ (X̅= 3.38) และด้านที่น้อยที่สุด ได้ แก่ ด้านการศาสนศึกษา (X̅= 2.59)
2) การเปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสงฆ์ที่มีต่อประสิทธิภาพการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการ ในอำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้
3) ปัญหา อุปสรรคที่เกี่ยวกับประสิทธิภาพการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในอำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก พบว่า ด้านการปกครอง ขาดความเด็ดขาดในการดูแลอย่างทั่วถึงและยังย่อหย่อนในการปกครองเกินไป ด้านการศาสนศึกษา ขาดงบประมาณในการดำเนินงานในเรื่องสนับ สนุนการศึกษา ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ยังขาดบุคลากรที่มีคุณภาพไม่เพียงพอเท่าที่ควร ด้านการเผยแผ่ การจัดอบรมให้แก่พระภิกษุสามเณรและศาสนิกชนทั่วไป ยังค่อนข้างน้อย ด้านการสาธารณูป การ ขาดปัจจัยในการทำนุบำรุงซ่อมแซมอาคารสถานที่ ด้านการสาธารณสงเคราะห์ ขาดการดำเนินกิจ การสาธารณสงเคราะห์ด้วยการพัฒนาหมู่บ้าน และชุมชน โดยข้อเสนอแนะ พบว่า ด้านการปกครอง พระภิกษุผู้บวชใหม่ต้องให้ความเคารพพระภิกษุผู้บวชก่อนตามพระธรรมวินัยที่บัญญัติไว้ ด้านการศาสนศึกษา ควรของบประมาณจากหน่วยงานภาครัฐเพื่อสนับสนุนเรื่องการศึกษาของพระภิกษุและสามเณร ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ควรจัดหางบประมาณการสนับสนุนการศึกษา ด้านการเผยแผ่ ควรให้พระภิกษุสามเณรและศาสนิกชนทั่วไป ได้มีการจัดอบรมธรรมะหรือหลักการปฏิบัติหรือควรจัดให้มีการสนทนาธรรมกันตามสมควร ด้านการสาธารณูปการ ควรดูแลรักษาความสะอาดเสนาสนะ และบริเวณสถานที่ต่างๆ ภายในวัดอยู่เสมอ เพื่อให้วัดมีความสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย ด้านการสาธารณสงเคราะห์ จัดตั้งกองทุนให้แก่ชาวบ้าน เพื่อส่งเสริมอาชีพและรายได้
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research were : (1) to study the The Efficiency in the Sangha Administration of the Sangha Administritors at Bantak District,Tak Province, (2) to compare the The Efficiency in the Sangha Administration of the Sangha Administritors at Bantak District, Tak Province, (3) to study the problems , obstacles and suggestions to Efficiency in the Sangha Administration of the Sangha Administritors at Bantak District, Tak Province.
This research is the mixed method research between quantitative researches by using the questionnaire distribution. The sampling group was 126 Buddhist monks from 183 monks at Bangtak District, Tak province. The tool was used for data collection as the questionnaire by having the reliance test with 0.894. The statistic uses the data analysis through frequency, percentage, and average, standard deviation (S.D) for describing data from variables or personal characteristics. The analysis was also done through t-test for analysis the hypotheses in order to test the average difference between the two groups and f- test by one-way ANOVA and the qualitative research was from in-depth interview from 7 key informants by using the content analysis technique.
The findings of this research as following :
1. The opinion of monks to Efficiency in the Sangha Administration of the Sangha Administritors at Bantak District, Tak Province, in overall , was at moderate level (X̅=3.19). When considered in each aspect found that the opinion of monks to Efficiency in the Sangha Administration of the Sangha Administritors at Bantak District, Tak Province for the efficiency was the highest level such as the public welfare (X̅=3.41). The second aspect was the propagation (X̅=3.38) and the lowest aspect was the religious education (X̅=2.59).
2. The comparison of opinions of monks Efficiency in the Sangha Administration of the Sangha Administritors at Bantak District, Tak Province, in overall indifferently. It rejected the hypothesis.
3. The problem, obstacles and guidelines for the Efficiency in the Sangha Administration of the Sangha Administritors at Bantak District, Tak Province, found that the administration lacks of absolute power to take care of people all and very loose for administration. The religious education lacks of budget to support the education. The Educational welfare lacks of quality personnel. The propagation lack of training for the monks and novices and general people. The constructions lack of money to maintain and reconstruct the religious building. The public welfare lacks of public welfare procedure to develop the village and community.
The suggestions: The administration, the new monks must respect the senior monks according to Dhammavinaya. The religious education should have the budget from the government for the support of education of monks and novices. The Educational welfare, should find out the budget to support the education. The propagation should let the monks and novices and general people have the Dhamma traing or principle of practice or should set up the Dhamma conversation on some occation. The constructions, should look after the cleaning the building. The public welfare should set up the fund to villagers for career and income promotion.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 23.44 MiB | 175 | 20 ก.ค. 2564 เวลา 07:26 น. | ดาวน์โหลด |