-
ชื่อเรื่องภาษาไทยประสิทธิผลการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนอำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษEffectiveness of Buddhism Propagation of Moral Teaching Monks in Muang Samutsongkham District, Samutsongkham Province
- ผู้วิจัยพระครูใบฎีกามนตรี อธิปญฺโญ (สมาธิ)
- ที่ปรึกษา 1พระสมุทรวชิรโสภณ, ดร.
- ที่ปรึกษา 2ผศ.ดร.ธิติวุฒิ หมั่นมี
- วันสำเร็จการศึกษา15/03/2018
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1637
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 183
- จำนวนผู้เข้าชม 378
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาประสิทธิผลการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนอำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อประสิทธิผลการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนอำเภอเมืองสมุทรสงคราม โดยจำ แนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) ศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาประสิทธิผลการเผย แผ่พระพุทธศาสนาของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนอำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลจากผู้บริหาร ครูพี่เลี้ยง และพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน จำนวน 92 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที และค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบความแตกต่าง จึงทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นคู่ ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูป/คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิผลการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนอำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.61 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการใช้สื่อการสอน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.75 ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านเทคนิคและวิธีการสอน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.50
2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อประสิทธิผลการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนอำเภอเมืองสมุทรสงคราม โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลของ ได้แก่ สถานภาพ เพศ อายุ และการศึกษา มีผลให้ความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูพี่เลี้ยง และพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ที่มีต่อประสิทธิผลการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนอำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. ปัญหา และอุปสรรคการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนอำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม พบว่า การเรียนช่วงบ่ายทำให้เกิดความง่วง พระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมีจำนวนน้อย พระสอนศีลธรรมในโรงเรียนบางรูปขาดสอนบ่อย นักเรียนไม่ได้เป็นผู้เลือกประ เภทของกิจกรรม สื่อการสอนไม่ทันสมัย นักเรียนต้องการซีดีสรุปบทเรียนธรรมะ และขาดการประเมินความพึงพอใจ และข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาประสิทธิผลการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของ พระสอนศีลธรรมในโรงเรียนอำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม พบว่า ควรจัดชั่วโมงเรียนพระพุทธศาสนาไว้ในคาบเช้าของวัน กระทรวงศึกษาธิการควรมีนโยบายในการเพิ่มจำนวนพระสอนศีลธรรมให้เพียงพอต่อความต้องการของแต่ละพื้นที่ ควรจัดการสอนโดยต่อเนื่อง ควรใช้นักเรียนเป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรม ควรใช้สื่อการสอนสมัยใหม่เพื่อกระตุ้นความสนใจแก่ผู้เรียน ควรมีซีดีธรรมะไว้สำหรับให้นักเรียนที่สนใจได้ยืมไปศึกษาเพิ่มเติมที่บ้านได้ ควรมีการประเมินผลหลังกิจกรรมโดยใช้แบบสอบ ถามความพึงพอใจกับนักเรียนที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of research paper were (1) to study effectiveness of Buddhism propagation of moral teaching monks in Muang Samutsongkham district, Samut-songkham province, (2) to compare the opinion toward effectiveness of Buddhism propagation of moral teaching monks in Muang Samutsongkham district, Samut-songkham province, classified by personal data, and (3) to study problems, obstacles and suggestions for development of effectiveness of Buddhism propagation of moral teaching monks in Muang Samutsongkham district, Samutsongkham province. It was the mixed research method that the quantitative research used the questionnaire as the tool to collect the data from 92 persons. The statistics were used for the data analysis through frequency, percentage, mean, standard deviation (S.D.), F-test, One-way Analysis of Variance and Least Significant Difference: LSD. And the qualitative research had the documentary analysis and interview as the tool to collect the data from 10 key informants and analyzed the data through the content analysis technique.
The findings of research were:
1. Effectiveness of Buddhism propagation of moral teaching monks in Muang Samutsong kham district, Samutsongkham province, overall, that in high at mean of 3.61, when considering the aspect found that in high level all aspect. The aspects that had the most value include the aspect of instruction, high level at mean of 3.75. The aspects with the lowest mean include the aspect of the techniques high level at mean of 3.50.
2. The comparison for opinion toward effectiveness of Buddhism propagation of moral teaching monks in Muang Samutsongkham district, Samutsongkham province, classified by personal data found that status, sex, age and education were not different. The hypothesis wasn't accepted.
3. Problems and obstacles of Buddhism propagation of moral teaching monks in Muang Samutsongkham district, Samutsongkham province as following; afternoon classes cause drowsiness, moral teaching monks have a small number, some moral teaching monks do not teach often, students do not choose the type of activity, teaching materials are outdated, students need a summarize CD to Dharma lesson, lack of satisfaction assessment. And, suggestions for development of effectiveness of Buddhism propagation of moral teaching monks in Muang Samutsongkham district, Samutsongkham province as following; set Buddhism subject study period in the morning, the ministry of education should set policy to increase the moral teaching monks to meet the needs of each area, should teach continuously, should use the students as the center of activity, use modern teaching media to stimulate interest among learners, should have the Dhamma C.D. for students to borrow to use at homes, and should also evaluate the activity by asking the satisfaction of participative students.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 3.97 MiB | 183 | 21 ก.ค. 2564 เวลา 02:48 น. | ดาวน์โหลด |