โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ผลสัมฤทธิ์การสอนวิชาพระพุทธศาสนาของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAchievement of Teaching Buddhism Subject of Moral Teaching Monks in Secondary Schools in Banpong District, Ratchaburi Province
  • ผู้วิจัยพระปลัดอนุวัฒน์ อนาวิโล (ดีเอี่ยม)
  • ที่ปรึกษา 1พระครูสังฆรักษ์ทรงพรรณ ชยทตฺโต,ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ, ผศ.ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา15/03/2018
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1648
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 195
  • จำนวนผู้เข้าชม 638

บทคัดย่อภาษาไทย

               การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์การสอนวิชาพระพุทธศาสนาของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อผลสัมฤทธิ์การสอนวิชาพระพุทธศาสนาของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนระดับมัธยม ศึกษาตอนปลาย อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) ศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะสำหรับพัฒนาผลสัมฤทธิ์การสอนวิชาพระพุทธศาสนาของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลภาคสนามจากนัก เรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี จำนวน 300 คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที และค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบความแตกต่างจึงเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นคู่ ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การศึกษาเอก สารที่เกี่ยวข้อง และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 รูป/คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

                ผลการวิจัยพบว่า

                1. ผลสัมฤทธิ์การสอนวิชาพระพุทธศาสนาของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนระดับมัธยม    ศึกษาตอนปลาย อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.61 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านเทคนิคและวิธีการสอน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.32 ด้านเนื้อหารายวิชา อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.66 ด้านการจัดกิจ กรรมการเรียนการสอน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.53 ด้านการใช้สื่อการสอน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.59 ด้านการวัดผลและประเมินผล อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.68

                2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อผลสัมฤทธิ์การสอนวิชาพระพุทธศาสนาของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ มีผลให้ความคิดเห็นที่มีต่อผลสัมฤทธิ์การสอนวิชาพระพุทธศาสนาของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี แตกต่างกันอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนปัจจัยบุคคลอื่น ไม่พบความแตกต่าง

               3. ปัญหา อุปสรรคการสอนวิชาพระพุทธศาสนาของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนระดับมัธยม ศึกษาตอนปลาย อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี พบว่า นักเรียนบางกลุ่มไม่ให้ความสนใจ, ขาดการทำกิจกรรมนอกห้องเรียน, พระสอนศีลธรรมบางรูปใช้เสียงในระดับต่ำ, พระสอนศีลธรรมบางรูปไม่มีการทดสอบก่อนเรียนหรือไม่ได้เตรียมการสอน และมีข้อเสนอแนะสำหรับพัฒนาผลสัมฤทธิ์การสอนวิชาพระพุทธศาสนาของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี พบว่า ทุกฝ่ายควรร่วมมือกันจัดอบรมถวายความรู้แก่พระสอนศีลธรรม โดยมีเนื้อหาในการอบรมครอบคลุมเรื่อง เทคนิคสำหรับการควบคุมห้องเรียน และจิตวิทยาการสอน และ พระสอนศีลธรรมควรใช้เทคนิคและวิธีการสอนที่หลากหลาย เพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน, ควรเน้นการสร้างความศรัทธาเพื่อให้นักเรียนนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน มากกว่า การเรียนเพื่อให้ครอบคลุมเนื้อหาจำนวนมาก, พระสอนศีลธรรมควรเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามในประเด็นที่สงสัยหรือไม่เข้าใจ โดยอาจใช้ช่วงเวลา 10-15 นาที ในช่วงท้ายชั่วโมงเรียน สำหรับการถาม-ตอบปัญหา, พระสอนศีลธรรมและสถานศึกษาควรร่วมมือกันจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนอกสถานที่ โดยอาจจัดให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมในวันสำคัญทางศาสนา หรือเข้าค่ายพุทธบุตร เป็นประจำทุกปี เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงด้วยตนเอง, พระสอนศีลธรรมที่มีอายุมากควรใช้เครื่องขยายเสียงมาเป็นอุปกรณ์ช่วยสอน, ควรนำสื่อการสอนที่ทันสมัยเข้ามาใช้ เช่น คอมพิวเตอร์ โปรเจคเตอร์ มัลติมิเดีย และรูปภาพต่างๆ มาใช้เพื่อสร้างความสนใจแก่ผู้เรียน, ควรวัดระดับพื้นฐานความรู้ของกลุ่มผู้เรียนก่อนการจัดการสอน โดยใช้แบบทดสอบซึ่งเป็นข้อคำถามปลายปิดหรือข้อคำถามปลายเปิด แล้วจึงสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้สำหรับการวางแผนจัดการเรียนการสอน, ปรับปรุงรูปแบบของข้อสอบหรือแบบทดสอบสำหรับการวัดผลและประ เมินให้มีลักษณะของข้อคำถามที่สอบถามความเข้าใจในการนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

                The objectives of research paper were (1) to study achievement of teaching Buddhism subject of moral teaching monks in secondary schools in Banpong district, Ratchaburi province, (2) to compare the opinion toward achievement of teaching Buddhism subject of moral teaching monks in secondary schools in Banpong district, Ratchaburi province, classified by personal data, and (3) to study problems, obstacles and suggestions for development of achievement of teaching Buddhism subject of moral teaching monks in secondary schools in Banpong district, Ratchaburi. It was the mixed research method that the quantitative research used the questionnaire as the tool to collect the data in the field study from 187 students in secondary schools in Banpong district, Ratchaburi province. The statistics were used for the data analysis through frequency, percentage, mean, standard deviation (S.D.), t-test, F-test, One-way Analysis of Variance and Least Significant Difference: LSD. And the qualitative research had the documentary analysis and interview as the tool to collect the data in the field study from 12 key informants and analyzed the data through the content analysis technique.

               The findings of research were:

               1. Achievement of teaching Buddhism subject of moral teaching monks in secondary schools in Banpong district, Ratchaburi. Overall, that in highest at mean of 3.61, when considering the aspect found that in high level all aspect. The techniques aspect was at high at mean of 3.62. The course content aspect was at high at mean of 3.66. The teaching and learning activities aspect was at high at mean of 3.53. The medium of instruction aspect was at high at mean of 3.59. The evaluation aspect was at high at mean of 3.68.

               2. The comparison for opinion of student toward achievement of teaching Buddhism subject of moral teaching monks in secondary schools in Banpong district, Ratchaburi, classified by personal data found that sex has the significantly at 0.05, the hypothesis was accepted. Those personal statuses results not different.

               3. The problems and obstacles of teaching Buddhism subject of moral teaching monks in secondary schools in Banpong district, Ratchaburi, as following; some students do not pay attention, lack of activities outside the classroom, some moral teaching monks use low voice, some moral teaching monks do not have pre-test. And, the suggestions for development of achievement of teaching Buddhism subject of moral teaching monks in secondary schools in Banpong district, Ratchaburi, as following; educating the moral teaching monks of the content of the course covers techniques for the control classroom and the teaching of psychology, the moral teaching monks should use a variety of teaching techniques and methods to stimulate the interest of students, should be improved curriculum by focusing on the faith to the students to put into practice in daily life than learning to cover a lot of content, moral teaching monks should allow students to ask questions or do not understand the subject, takes 10-15 minutes during the school hours for the problem, the moral teaching monks and education institutions should jointly organized educational trips can be arranged for students to participate in the religious children Buddhist camp every year for the students to learn from self experience, old moral teaching monks should use an amplifier device, should be taught to use modern materials such as computers, multimedia projectors and pictures, to inspire the students, moral teaching monks should the evaluation basic knowledge of students prior to the test, which is a closed-ended questions or open-ended questions, and then synthesize the information for planning instruction, improve the format of the test for evaluating the nature of the question to get an understanding, to the applications in daily life.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 5.29 MiB 195 21 ก.ค. 2564 เวลา 05:09 น. ดาวน์โหลด