โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ศึกษาหลักธรรมและวิธีการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในอทันตอคุตตสูตร
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of the Dhamma Principles and Vipassana Meditaion Practice in Adanta-agutta Sutta
  • ผู้วิจัยพระมหาธีรภัทร์ ชินอตฺตโน (วิลัยรัตน์)
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาชิต ฐานชิโต, ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา19/01/2018
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1671
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 770
  • จำนวนผู้เข้าชม 403

บทคัดย่อภาษาไทย

               สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ เพื่อศึกษาหลักธรรมในอทันตอคุตตสูตร และเพื่อศึก ษาวิธีการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในอทันตอคุตตสูตร โดยการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถร วาท คือ พระไตรปิฎก อรรถกถา รวมทั้งข้อมูลจากเอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาเรียบเรียงบรร ยาย ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า

               อทันตอคุตตสูตร เป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสกับภิกษุทั้งหลายที่เมืองสาวัตถีเกี่ยวกับเรื่อง ผัสสายตนะ 6 ประการ คือ 1) ผัสสายตนะคือจักขุ 2) ผัสสายตนะคือโสตะ 3) ผัสสายตนะคือฆานะ 4) ผัสสายตนะคือชิวหา 5) ผัสสายตนะคือกาย ๖) ผัสสายตนะคือมโน เมื่อคู่อายตนะภายในและอายตนะภายนอก กระทบกันแล้วจะเกิดผัสสะเชื่อมต่อให้เกิดการรับรู้เฉพาะด้านของอายตนะ เรียกว่า วิญญาณ คือความรู้แจ้งของอารมณ์ ผัสสะเป็นสภาวธรรมอย่างหนึ่งที่เกิดแล้วรู้ได้ด้วยใจ ผัสสะที่เกิดแล้วเป็นปัจจัยให้เกิดความรู้สึกพอใจ (สุขเวทนา) ไม่พอใจ (ทุกขเวทนา) หรือความรู้สึกวางเฉย (อุเบกขาเวทนา) ขึ้นอยู่กับอารมณ์ที่มากระทบทำให้จิตรับรู้วิบากและปรุงแต่งจิตให้เป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง

               วิธีการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในอทันตอคุตตสูตร ผู้ปฏิบัติต้องฝึกควบคุมผัสสายตนะ 6 โดยใช้สติสัมปชัญญะไปกำหนดให้รู้เท่าทันอารมณ์ที่กระทบในขณะปัจจุบันเพื่อให้เกิดการรู้เท่าทันสภาพความจริง ไม่ยินดีใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งซึ่งเป็นการรู้เหตุปัจจัย อยู่ในขั้น  ปัจจยปริคคหญาณ เมื่อมีสติกำหนดรู้อย่างต่อเนื่องจะมีความสามารถในการพิจารณารูปและนามชัดเจนขึ้น ทำให้ผู้ปฏิบัติบรรเทาใจจากกามคุณหรือเรือนทั้ง 5 คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และมีใจไปในทางเนกขัมมะ ส่วนผู้ที่ยังมีปปัญจสัญญา คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ อยู่จะเป็นผู้ที่ยังวนเวียนอยู่ในวัฏฏะ แต่ผู้ปฏิบัติที่อบรมมาดีย่อมเห็นสภาวะของรูปนามตลอดเวลา ซึ่งมีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา ย่อมละราคะ ละโทสะ ละตัณหา ประหารกิเลสได้  จนเกิดปัญญาญาณรู้แจ้งตามความเป็นจริงของสภาวธรรมทั้งหลายและส่งผลให้บรรลุ มรรคญาณ ผลญาณ นิพพาน อันเป็นบรมสุขของพระพุทธศาสนา

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

               This Research paper has 2 objectives; to study the Dhamma Principles in Adanta-agutta Sutta and to study the Vipassana Meditation methods appear in Adanta-agutta Sutta by collecting information from Buddhist scriptures Tipitaka, commentaries and other concerned documents. All these data are brought to compose in descriptive style and to be checked by experts, findings were that.

                Adanta-agutta Sutta is a discourse that the Buddha delivered to Bhikkhus at Savatthi. It presents the six bases of contact as follows: 1) The eye as a base for contact, 2) The ear as a base for contact, 3) The nose as a base of contact, 4) The tongue as a base of contact, 5) The body as a base of contact, 6) The mind as a base of contact. When the couples of internal base for contact and external base for contact conjoin together, it connected to the specific perception of sense base which is called consciousness, it is the perception of the feeling. The sense-impression is one of perception that occur at mind and known by mind. The sense-impression is a factor to feel pleasant feeling (Sukha-vedanã) unpleasant feeling (Dukkha-vedanã) neither pleasant nor unpleasant feeling (Upekkhã-vedanã) depends on the emotions that conjoin to the mind and occurred some merit mind or some evil mind.

                Practicing Vipassana Meditation in Adanta-agutta Sutta, the practitioner has to control the six bases for contact uses mindfulness and consciousness to determine the feeling that affect the present moment in order to realize the truth, and unpleasant in form, sound, odor, taste, tangible objects, mind object, which the factors rely on each embellishments occurred. This perception is in the steps of Paccaya-pariggaha-ñãna. When mindfulness continually determined, the mindfulness is capable of determining the Rũpa and the Nãma clearly. The practitioners will relieved of the sensual pleasures or five houses, these are form, sound, odor, taste, tangible objects and lead to the way of ordination. But for whom have mental diffusion, craving, pride, view will be still in circle. The well-trained practitioner will always see the state of the Rũpa and the Nãma all the time, it occurred maintained and gone down being ordinary. The practitioners can decrease lust, hatred, craving, and get rid of defilement until insight-knowledge occurred and know the real natural phenomenon, as a result to achieve Magga-ñãna, Phala-ñãna and to attain the Nibbana, the ultimate happiness of Buddhism.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 4.44 MiB 770 22 ก.ค. 2564 เวลา 04:51 น. ดาวน์โหลด