โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ศึกษาหลักธรรมและการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในสมาธิสูตร
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of Dhamma Principles and Insight Meditation Practice in Samādhi Sutta
  • ผู้วิจัยพระเกษม ธีรวํโส
  • ที่ปรึกษา 1พระเทพสุวรรณเมธี, ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ผศ.ดร. วิโรจน์ คุ้มครอง
  • วันสำเร็จการศึกษา09/02/2018
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1675
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 1,515
  • จำนวนผู้เข้าชม 497

บทคัดย่อภาษาไทย

วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาเนื้อหาและสาระสำคัญในสมาธิสูตร 2) เพื่อศึกษาหลักธรรมในสมาธิสูตร และ 3) เพื่อศึกษาหลักธรรมและการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในสมาธิสูตร โดยการศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และคัมภีร์ปกรณวิเสส วิสุทธิมรรคที่เกี่ยวข้อง เรียบเรียง บรรยาย และตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ

จากผลการวิจัยพบว่า สมาธิสูตร เป็นพระสูตรที่ปรากฏในพระไตรปิฎก เล่มที่ 17 สมาธิ หมายถึงความตั้งมั่นของจิต หรือภาวะที่จิตแน่วแน่ต่อสิ่งที่กำหนด ภาวะที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือการที่จิตแน่วแน่ แนบสนิทอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ส่าย ไม่วอกแวก เป็นธรรมที่เกิดร่วมรวมตัวกันอยู่ได้ เหมือนแม่เหล็กที่ดูดเศษเหล็กมารวมกันเป็นก้อนเดียวกันไม่กระจายไป ปรากฏเป็นความสงบ สมาธิในพระสูตรได้กล่าวถึงความตั่งมั่นของจิต และการเห็นชัดในความเกิดดับ ความจริง ที่เป็นเหตุแห่งการหลุดพ้นจากการยึดเหนี่ยวทั้งปวง หลักธรรมสนับสนุนการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในสมาธิสูตร คือ ขันธ์ 5

วิปัสสนาภาวนา คือ ปัญญาเห็นแจ้งในการพิจารณาอารมณ์แล้วเห็นความเกิดขึ้นความดับไปแห่งจิต ผู้ปฏิบัติเห็นในไตรลักษณ์ว่าเป็นของ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ บังคับบัญชาไม่ได้สภาพจิตเข้าสู่สภาวธรรมที่ว่างจากความยึดมั่น ถือมั่นในบัญญัติทั้งหลาย การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาจะต้องปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน 4 โดยการพิจารณา กาย เวทนา จิต และธรรม ซึ่งมีโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ เป็นเกื้อหนุน

ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในสมาธิสูตร ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากำหนดจิตให้เป็นสมาธิเพื่อละอุปาทานขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เพื่อถอนอุปาทานในขันธ์ 5 เพราะอุปาทานเป็น ตัวทำให้เกิดทุกข์ ทุกข์เพราะยึดมั่น โดยการกำหนดรู้ขันธ์ 5 โดยความเป็นไตรลักษณ์ตามหลักปฏิจจสมุปบาท คือ เห็นความเกิดในสายเกิดและความดับในสายดับของ รูป นาม จนเป็นเหตุทำให้เกิดสติ มีปัญญาญาณ หยั่งเห็น ญาณ เบื้องต้น ตั้งแต่ นามรูปปริเฉทญาณ คือ ปัญญาญาณที่สามารถแยกรูป แยกนามได้ จนถึงปัจจเวกขณญาณ คือปัญญาญาณที่พิจารณาทบทวนว่ากิเลสที่ละได้แล้วและกิเลสที่ยังละไม่ได้ โดยลำดับก็จะทำให้โยคีผู้ทำการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ได้บรรลุจุดสูงสุดของพระพุทธศาสนานั้นก็คือ พระนิพพาน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

This thesis has 3 objectives namely; 1) to study the contents and the main teaching in Samādhi Sutta, 2) to study the Dhamma principles in Samādhi Sutta, and   3) to study the Dhamma principles and Insight meditation practice in Samādhi Sutta, by studying the relevant information from the Pali Canon (Tipitaka), its commentaries, sub-commentaryy, and Visuddhimagga text, which were composed in description, finally reviewed by the experts.

The results of the study revealed that Samādhi Sutta is the discourse written in Pitaka, 17th text. Samādhi means the concentration of mind or the state of mind focusing straight, to objects of concentration, state of one pointedness, that is firmly settled mind, absorbing in one object, without distraction, movement, wandering being coexistence of Dhamma just like a magnet that attracts to iron scrap together as a lump, not spread out, and appearing as calmness. Samādhi in the Sutra mentions about the establishment of mind and clearly seeing the ‘rise’ and ‘fall’. The truth that is the cause of being free from all attachment. Dhammas which supports Insight meditation practice in Samādhi Sutta, are the Five Aggregates.

Insight meditation signifies the insight knowledge that can clearly consider all objects for seeing the ‘rise’ and ‘fall’ of all mental formations. The practitioners will see the Three Characteristics (Tilakkhaṇa) as impermanence, suffering, and uncontrollable. It generates the empty state to mind of practitioners that is free from attachment and adherence to all conventional reality. The practice of Insight meditation must follow principle of Four Foundations of Mindfulness by contemplating on body, feeling, mind and mental objects which have Thirty-Seven Factors of Enlightenment (Bodhipakkhiya-dhamma) as supportive virtues.

For practice of Insight meditation in the Samadhi Sutta, the practitioners must detach the Five Aggregates (Pancakkhanddha) namely; matter (Rūpa), feeling (Vedanā), perception (Saññā), mental formations (Sankhāra) and consciousness (Viññāṇa) and to remove attachments in the Five Aggregates because the attachments cause suffering (Dukkha) that is to say, suffering occurs due to attachment. By having mindfulness of the Five Aggregates and by being the Three Characteristics according to Dependent Origination and seeing ‘rise’ in origin process and ‘fall’ in cessation process of name and forms, the practitioners will gain Insight knowledge and mindfulness entering primary knowledge of insight starting from Ñāmarūpapariccheda-ñāṇa or knowledge of the delimitation of mentality–materiality up to Paccavekkhaṇa-ñāṇa or knowledge of reviewing the abandoned and the remaining defilements respectively, finally attain the highest goal of Buddhism called as Nibban

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 3.7 MiB 1,515 22 ก.ค. 2564 เวลา 05:10 น. ดาวน์โหลด