โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ศึกษาสติและสัมปชัญญะในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of Sati and Sampajanna in Vipassana Meditation Practice
  • ผู้วิจัยพระมหาสุเทิด มหิทฺธิโก (เทียรวรรณ)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ.ดร.วิโรจน์ คุ้มครอง
  • วันสำเร็จการศึกษา19/01/2018
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1677
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 539
  • จำนวนผู้เข้าชม 843

บทคัดย่อภาษาไทย

               สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาสติและสัมปชัญญะในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท และ 2) เพื่อศึกษาสติและสัมปชัญญะในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา โดยการศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และคัมภีร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น คัมภีร์วิสุทธิมรรค โดยการเรียบเรียง บรรยาย และตรวจสอบ โดยอาจารย์ที่ปรึกษา และผู้เชี่ยวชาญ

               จากการศึกษาพบว่า

               สติตามรูปศัพท์หมายถึง การตามระลึกอารมณ์ของจิตทุกขณะปัจจุบัน ส่วนสัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัว ธรรมทั้ง 2 เป็นธรรมที่เกื้อกูลและสนับสนุนธรรมอื่นๆ พระพุทธเจ้าจึงทรงสรรเสริญ สติและสัมปชัญญะว่าเป็นธรรมที่เป็นประโยชน์สูงสุด จัดเป็นภาเวตัพพธรรม คือ ธรรมที่สมควรทำให้เกิดมีและเจริญขึ้น มีประโยชน์มากทั้งในด้านการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติธรรม หลักธรรมที่สนับสนุนสติและสัมปชัญญะ คือโพธิปักขิยธรรม ๓๗ มีสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น ผู้ขาดสติและสัมปชัญญะจะทำให้ภาวะของจิตตกอยู่ในฝ่ายอกุศลธรรมและเป็นเหตุให้ทำความชั่วต่างๆ

               สติและสัมปชัญญะในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา คือ การใช้สติและสัมปชัญญะกำหนดรู้สภาวธรรมรูปนามโดยการกำหนดรู้เห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และเห็นธรรมในธรรม  ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาต้องมีสติและสัมปชัญญะกำหนดรู้อิริยาบถใหญ่คือการเดิน ยืน นั่ง นอน และอาการทางกายต่างๆ ให้ทันขณะปัจจุบันตามสภาวะความเป็นจริงด้วย จนจิตไม่หลงยึดความคิดปรุงแต่งว่าเป็นจริง จึงจะเกิดปัญญาญาณได้ องค์ธรรมสำคัญในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน 4 มีอาตาปี สัมปชาโน สติมา ซึ่งเป็นองค์คุณที่ช่วยทำให้เห็นสภาวธรรมทั้งหลายที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง สามารถกำจัดอภิชฌาและโทมนัสทุกอย่างได้ เมื่อจิตดำเนินไปตามโพธิปักขิยธรรม พร้อมด้วยสติและสัมปชัญญะที่มีความเข้มแข็งแก่กล้าจึงจะทำให้ผู้ปฏิบัติบรรลุมรรคญาณ ผลญาณ และพระนิพพาน ความทุกข์ทั้งหมดจึงดับได้อย่างสิ้นเชิง ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

               This research paper aims at 2 objectives; 1) to study Sati-Sampajañña or mindfulness and awareness in Theravada Buddhist scriptures, and 2) to study Sati-Sampajañña for Vipassana meditation practice. The data had been collected from Theravada Buddhist scriptures; Tipitaka, commentaries, sub-commentaries and other concerned texts such as Visuddhimagga, then compiled in descriptive style, finally examined by experts. The research findings were that;

               Sati literally means being mindful of all phenomena; physical and mental in every present moment only and Sampajañña refers to complete awareness or realizing one self. Both of them are supportive of all virtues and the Buddha has advised Sati-Sampajañña as a great benefit of all Dhamma called as ‘Bhāvetabbadhamma’ or virtues which should be cultivated in mind in living and insight practice. By following ‘Bodhipakkhiyadhamma’ or the 37 factors of enlightenment such as four foundations of mindfulness, this Sati-Sampajañña will be developed in advance steps by steps. Without mindfulness and awareness, one’s mind will fall into unwholesome parts committing the evil acts.

               To imply mindfulness and awareness for insight practice is to use this mindfulness and awareness observing the presents state of Rupa-Nama or forms and names, contemplating on body, feeling, mentality and mental objects as well as in all main gestures; walking, standing, sitting, sleeping and other manners as they really appear until the mind became bright and free from all mental formations. The important factors of insight practice based on Four Foundations of Mindfulness are Atāpi (Effort), Sampajāno (Awareness) and Satimā (Mindfulness). These virtues will lead the practitioners to realize the reality as they really are and uproot all greed, sorrows and pains completely. The mind will go forwards to Factors of Enlightenment with helps of powerful mindfulness and awareness. Finally, practitioners will gain noble paths, fruits and Nibbana, being free from all sufferings which is the final goal of insight meditation practice.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 3.36 MiB 539 22 ก.ค. 2564 เวลา 05:19 น. ดาวน์โหลด