-
ชื่อเรื่องภาษาไทยศึกษาเนสัชชิกังคธุดงควัตรในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาของพระราชสิทธาจารย์ วิ. (ทองใบ ปภสฺสโร)
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of Nesajjikaṅgadhutaṅga in Vipassana Meditation Practice of Phraratchasitthachan (Thongbai Pabhassaro)
- ผู้วิจัยพระนิพล ขนฺติพโล (บัวบาน)
- ที่ปรึกษา 1ดร.บุณชญา วิวิธขจร
- วันสำเร็จการศึกษา19/01/2018
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1678
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 1,517
- จำนวนผู้เข้าชม 1,168
บทคัดย่อภาษาไทย
สารนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ เพื่อศึกษาการปฏิบัติธุดงควัตรในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท เพื่อศึกษาเนสัชชิกังคธุดงควัตรในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาของพระราชสิทธาจารย์ วิ. (ทองใบ ปภสฺสโร) โดยการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท คือ พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา คัมภีร์วิสุทธิมรรค เป็นต้น และจากหนังสือการปฏิบัติธรรมของ พระราชสิทธาจารย์ ตลอดทั้งบทสัม ภาษณ์ แล้วนำมาเรียบเรียงบรรยาย และตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ จากการศึกษา พบว่า
ธุดงควัตรหมายถึง ธรรมเครื่องขัดเกลากิเลสให้เบาบางเป็นธรรมเครื่องช่วยให้ผู้ถือปฏิบัติธุดงค์เพิ่มความเพียรให้มากยิ่งขึ้น ว่าโดยหลักในคัมภีร์แล้วมี 13 ประการ คือ การบิณฑบาตเป็นปกติ การอยู่ป่าเป็นปกติเป็นต้น มีหลักปฏิบัติอยู่ 4 หมวด คือ ว่าด้วยเครื่องนุ่งห่ม หมวดว่าด้วยอาหาร หมวดว่าด้วยที่อยู่อาศัย หมวดว่าด้วยการปรารภความเพียร คือการถืออิริยาบถ 3 เว้นการนอน
เนสัชชิกังคธุดงควัตร หมายถึง การสมาทานไม่นอน มีแนวทางปฏิบัติ 3 ระดับคือ 1) ระดับต่ำ สามารถใช้พนักอิงข้าง แคร่นั่งทำด้วยผ้า ผ้าสายโยค หมอนพิง เก้าอี้มีองค์ 5 เก้าอี้ มีองค์ 7 ใช้ได้ 2) ระดับกลาง สามารถใช้พนักอิงข้าง แคร่นั่งทำด้วยผ้า และเก้าอี้ ในของ 3 อย่างนี้ เพียงแต่อย่างใดอย่างหนึ่งใช้ได้ 3) ระดับเคร่ง หรือ ระดับอุกฤษฏ์ พนักอิงข้าง หมอนอิงข้าง แคร่นั่งทำด้วยผ้า ผ้าสายโยค เก้าอี้มีองค์ 5 เก้าอี้มีองค์ 7 ใช้ไม่ได้
การปฏิบัติเนสัชชิกังคธุดงควัตรของพระราชสิทธาจารย์ วิ. (ทองใบ ปภสฺสโร) ปฏิบัติ 2 ระดับ คือ ระดับกลางและระดับอุกฤษฏ์ ปฏิบัติสลับกันไปทุก 7 วัน ตลอดระยะเวลา 23 ปี ท่านเป็นคนพูดน้อย สัน โดษในปัจจัยสี่ ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ มีความมุ่งมั่นปรารภความเพียรไม่หยุดจนกว่าจะประสบความมุ่งหมาย
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This research paper aims at studying the practice of Dharma in Theravada Buddhism and studying of Nesajjikangadhutanga in Vipassana Meditation Practice of Phraratchasitthachan (Thongbai Pabhassaro) by collecting the research data from Theravada Buddhist texts; Tipitaka, its commentaries, sub-commentaries, Visuddhimagga etc., and collected meditation teachings of Phraratchasitthachan with interviews of persons involved, then bring to compose in describtion, finally verified by experts. From the study, it found that;
Dhutanga-vatta refers to the training course for suppressing defilements which is helpful the Dhutanga observer to increase the efforts more. There are 13 types of Dhutanga such as living with arm-giving, forest dwelling etc. classified into 4 sections; clothing, fooding, shelter and effort which composes of 3 postures except sleeping posture.
Nesajjikangadhutanga means the observing an active practice in only sleeping posture which contains 3 levels; 1) begining level can use backrest, liter made of robe, hammock robe, cushion and chair with 5 or 7 compositions. 2) middle level can use backrest, liter made of robe and chair, among 3 things only one can be used, 3) strict level or effective level can not use backrest, cushion and liter maded of robe, hammock chairs with 5 or 7 compositions.
The most Ven. Phraratchasitthachan (Thongbai Pabhassaro) has chosen Nesajjikangadhu tanga practice only 2 levels; midle and austere level in one week and other level in other week for more than 23 years continuously. He also speaks less, recluses with 4 basic needs, not consort with others, bearing patience, having active behavior and not stop his attempts unless he reaches the goal.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 10.18 MiB | 1,517 | 22 ก.ค. 2564 เวลา 05:30 น. | ดาวน์โหลด |