-
ชื่อเรื่องภาษาไทยรูปแบบการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศของสำนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค 14
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Model of Administration for Excellence of Pariyattidhamma Schools at Sangha Administration, Region 14
- ผู้วิจัยพระครูโกศลธรรมานุสิฐ (ประสิทธิ์ อโสโก/มกรางกูร)
- ที่ปรึกษา 1พระอุดมสิทธินายก, ผศ.ดร.
- ที่ปรึกษา 2รศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม
- วันสำเร็จการศึกษา08/03/2018
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1684
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 2,042
- จำนวนผู้เข้าชม 819
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปในการบริหารจัดการสำนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค 14 2. เพื่อศึกษาองค์ประกอบในการบริหารจัด การสู่ความเป็นเลิศของสำนักเรียนพระปริยัติ แผนกบาลี ในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค 14 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศของสำนักเรียนพระปริยัติแผนกบาลี ในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค ๑๔
ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 ท่าน และการสนทนากลุ่มเฉพาะผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา และการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการวิจัยแบบสำรวจกับผู้บริหาร ครู และนักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ซึ่งเป็นกลุ่มตัว อย่าง จำนวน 265 รูป เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.981 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพทั่วไปในการบริหารจัดการสำนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค 14 โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการบริหารงานวิชาการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านการบริหารงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก จากการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า ในบางสำนัก สามารถจัดหาทุนเพื่อนำมาใช้ในการบริหารงานการศึกษาได้ โดยการรับบริจาค และมีการจัดตั้งกองทุนเพื่อการศึกษา มีการสรรหา คัดเลือก พัฒนา ครูสอน และให้กำลังใจแก่บุคลากรภาย ใน และมีการจัดสวัสดิการต่าง ๆ ให้แก่ครูผู้สอน และนักเรียน จัดอาคารสถานที่มีความเหมาะสม มีอุปกรณ์ครุภัณฑ์ ที่เพียงพอสำหรับการปฏิบัติงาน ในบางสำนัก ครูผู้สอนยังใช้วิธีการสอนแบบเดิมๆ ไม่สามารถผลิตสื่อ หรืออธิบายให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาของหลักสูตร มีงบประมาณในการบริหารอย่างจำ กัด ไม่เพียงพอต่อการบริหารดูแล ทั้งไม่มีการจัดทำบัญชีการเงิน ครูผู้สอนที่มีความรู้ความสามารถจริง ๆ มีจำนวนน้อยลง ไม่กระตือรือร้น ทั้งยังมีจำนวนนักเรียนที่น้อยลง และบรรยากาศการเรียนการสอน และอาคารสถานที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน
2. องค์ประกอบในการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศของสำนักเรียนพระปริยัติ แผนกบาลี ในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค 14 พบว่า 1) กำหนดทิศทาง วิสัยทัศน์ พันธกิจ วางนโยบาย และกำหนดงบประมาณในการจัดการศึกษาแต่ละปี 2) ได้จัดหาทรัพยากร รับบริจาค สร้างครูสอน ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ พัฒนาศักยภาพความสามารถของครูผู้สอนที่มีอยู่ 3) กำหนดแรงจูงใจ พัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียน มอบสิ่งตอบแทนให้บุคลากร 4) การบริหารงานดี ประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์กร การตรวจสอบ และการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ
3. รูปแบบการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศของสำนักเรียนพระปริยัติแผนกบาลี ในเขตปก ครองคณะสงฆ์ ภาค 14 ประยุกต์หลักอิทธิบาท 4 พบว่า 1) ด้านการบริหารงานวิชาการ คือ ใฝ่ใจจัดทำแผนพัฒนางานด้านวิชาการ จัดครูสอน และตารางเรียน หมั่นส่งเสริมให้ครูสอนผลิตสื่อการสอนให้ เข้าใจง่ายขึ้น เอาจิตฝักใฝ่ ตรวจสอบคุณภาพการเรียนการสอนเป็นประจำ ใคร่ครวญ ตรวจสอบ และพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ 2) ด้านการบริหารงบประมาณ คือ มีความต้องการที่จะสำรวจค่าใช้จ่าย วางแผนการหางบประมาณประจำปี เพียรสรรหาแหล่งงบประมาณเพื่อนำมาใช้ในการบริหารงาน ใส่ใจจัดสรรงบประมาณอย่างทั่วถึง ใช้จ่ายอย่างคุ้มค่า ตรวจสอบบัญชีสรุปรายรับรายจ่ายงบประมาณการศึกษาประจำปี 3) ด้านการบริหารงานบุคคล คือ ตั้งใจที่จะสรรหาคัดเลือกแต่งตั้งครูสอน หมั่นให้กำลังใจ พัฒนาครูผู้สอน และนักเรียน เอาใจใส่กำกับ และติดตามผลการสอนของครูผู้สอน พิจารณากำหนดค่าตอบแทน และสร้างแรงจูงใจเพื่อรักษาไว้ซึงบุคลากร 4) ด้านการบริหารทั่วไป คือ มีใจรักในการวางแผนบริหารงาน ออกแบบระบบงานธุรการ หมั่นดูแลสภาพแวดล้อม อาคารสถานที่ และอุปกรณ์ทางการศึกษาให้พร้อมใช้งาน ไตร่ตรองหาวิธีพัฒนาเครือข่ายข้อมูล ประชาสัมพันธ์งาน การศึกษา พิจารณากำหนดทิศทางในการบริหาร และพัฒนาสำนักเรียนให้มีประสิทธิภาพ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The Objectives of this research were: 1. to Study general administration context of Phrapariyattidhamma Schools, Pali division, at Sangha Administration, region 14, 2. to Study administrative components for excellence of Phrapariyattidhamma Schools, Pali section, at Sangha Administration, region 14, and 3. to study Propose an administrative model for excellence of Phrapariyattidhamma Schools, Pali section, at Sangha Administration, region 14,
Methodology was the mixed methods: The qualitative research collected data from 18 key informants by in-depth-interviewing and 10 participants in focus group discussion and analyzed data by descriptive interpretation. The quantitative research collected data with questionnaires with reliability value at 0.981 from 265 samples who were administrators, teachers and students at Phrapariyattidhamma Schools, Pali section and analyzed data with statistics of frequency, percentile, mean and standard deviation, S.D.
Findings were as follows:
1. The general administrative context of Phrapariyattidhamma Schools, Pali division, at Sangha Administration, region 14, by overall were at high level and each aspects of administration were that academic administration was at middle level, the budget, personnel and general administration were at high level and accordingly. Data from in-depth-interviewing revealed that some schools were able to find the budget to run the school activities from various donations and set up fund for education. There was recruitment, selection, development to enhance the morale of teachers and internal personnel and students by providing appropriate facilities with equipment and welfares. Some schools, teachers still used old method of teaching; there was not new teaching media to arouse students’ interest. There was not enough budgets to run the schools effectively and no financial account. Teachers with appropriate knowledge were limited, not energetic Students reduced.Learning atmosphere and school buildings were not attractive to learning.
2. Administrative components for excellence of Phrapariyattidhamma Schools, Pali division, at Sangha Administration, region 14, were that; 1) direction, vision, mission, policy and budgets were set for educational administration annually, 2) using the available resources to develop teachers’ competency, 3) using resources from donations to develop teachers, the schools resources, network creation for students recruitment, 4) setting up motivations by improving schools and facilities to create good atmosphere to teaching and learn, giving awards to students and 5) administrative factors consist of planning, organizing, checking and problems solving.
3. An administrative model for excellence of Phrapariyattidhamma Schools, Pali division, at Sangha Administration, region 14,integrated with Ittipadha 4 were that 1) academic administration; paying attention to assign teachers to class according time table diligent to teach and produce teaching media for easy understanding attention to quality of teaching and learning examination, checking and instruction development 2) budget administration, budget auditing, annual budget planning, effort to find new source of budget for administration, attention to budget allocation and budget summary for education each fiscal year, 3) personnel administration; attention to recruit teachers then develop, teachers and students spiritual uplifting, attention to teaching and learning, allocation of appropriate compensation, motivation personnel to remain with the schools, 4) general administration: planning to design the work flow process, attention to environment, buildings and educational media being ready to use, creating network for educational publicity and school development effectively
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 12.28 MiB | 2,042 | 23 ก.ค. 2564 เวลา 03:08 น. | ดาวน์โหลด |