-
ชื่อเรื่องภาษาไทยศึกษาการบรรลุธรรมของพระโสณกุฏิกัณณเถระ
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of Enlightenment of Soṇakuṭikaṇṇathera
- ผู้วิจัยพระครูสุทธิจิตตารักษ์ (สำเริง สุทฺธจิตฺโต / ศิลป์เปรื่อง)
- ที่ปรึกษา 1พระครูพิพิธวรกิจจานุการ, ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา13/03/2018
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1690
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 1,064
- จำนวนผู้เข้าชม 754
บทคัดย่อภาษาไทย
สารนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ เพื่อศึกษาประวัติและการสั่งสมบารมีของพระโสณกุฏิกัณณเถระ และเพื่อศึกษาการบรรลุธรรมของพระโสณกุฏิกัณณเถระ โดยศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาทตลอดจนหนังสือตำราเอกสารทางวิชาการและงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวบ รวมนำมาเรียบเรียงบรรยายเชิงพรรณนา แล้วตรวจสอบความถูกต้องโดยผู้เชี่ยวชาญ
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า การบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนา หมายถึง รู้แจ้งอริยสัจ 4 คือ ทุกข์สมุทัย นิโรธ มรรค โดยอาศัยการพัฒนาปัญญาตามหลักการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา เพื่อให้จิตบรรลุผ่านวิปัสสนาญาณขั้นต่างๆ ตามลำดับสภาวะแห่งจิต จนเข้าสู่กระแสแห่งนิพพาน ซึ่งเป็นที่สุดของการดับทุกข์ทั้งปวง ผู้มีสภาวะจิตเข้าสู่กระแสแห่งนิพพานได้นั้น เรียกว่า พระอริยบุคคล เริ่มตั้งแต่พระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี จนถึงพระอรหันต์ ถือเป็นเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
ประวัติการสั่งสมบารมีของพระโสณกุฏิกัณณเถระ พบว่า เดิมมีชื่อว่า โสณะ เป็นชาวเมือง กุรรฆระ เกิดในตระกูลเศรษฐี ในอดีตชาติ ท่านได้เริ่มตั้งความปรารถนา และได้รับพุทธพยากรณ์ในสมัยพระปทุมุตตรพุทธเจ้า และสำเร็จความปรารถนาในสมัยพระโคตมพุทธเจ้า เป็นพระอรหันต์ และ ได้รับยกย่องในฐานะเอตทัคคะด้านการใช้ถ้อยคำที่ไพเราะจากการแสดงพระสูตรทำนองสรภัญญะต่อหน้าพระพักตร์พระพุทธเจ้า นอกจากนี้ ยังได้รับการประทานพุทธานุญาตให้อุปสมบทโดยคณะสงฆ์เพียง 5 รูป ซึ่งเป็นคุณูปการต่อพระภิกษุสงฆ์ที่อยู่ในปัจจันตชนบทในรุ่นหลังจวบจนปัจจุบัน
การบรรลุธรรมของพระโสณกุฏิกัณณเถระ พบว่า ตั้งแต่ยังเป็นฆราวาส อุบาสกโสณะมีความตั้งใจประพฤติ และปฏิบัติตนตามหลักธรรมอย่างเคร่งครัดเพื่อหลุดพ้นจากกองทุกข์ โดยถือการบริโภคอาหารมื้อเดียวต่อวัน เป็นผู้ปรารภกายวิเวก ไม่คลุกคลีด้วยด้วยหมู่คณะ รักษาอุโบสถศีลเป็นนิตย์ เมื่อโสณกุฏิกัณณะได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุโดยมีพระมหากัจจายนเถระเป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านสมาทานการเป็นอยู่ผู้เดียวซึ่งเป็นการประพฤติวิเวกประการหนึ่ง ได้เจริญวิปัสสนาภาวนาจนได้บรรลุธรรมด้วยการพิจารณาสังขารคือขันธ์ 5 ลงในไตรลักษณ์ ซึ่งจัดอยู่ในหมวดธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ได้บรรลุอรหัตตผลพร้อมด้วยอภิญญา 6 หลังจากที่ได้ถวายการอธิบายพระสูตรโดยการสวดสรภัญญะต่อหน้าพระพักตร์พระพุทธเจ้าในพรรษาแรก
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This research paper had two objectives; to study the biography and perfections-accumulating of Sonakutikannathera and to study the Enlightenment of Sonakutikannathera. Data are clarified analyzed and taken from the Theravada Buddhist Scriptures and other related documents then composed, explained and verified by Buddhist scholars.
The research findings were that the enlightenment in Buddhism is realization of Four Noble Truth; suffering, origin of suffering, the extinction of suffering and the path leading to extinction of suffering by the means of wisdom developing according to the principles of practicing the Insight meditation in order to realize and enter various states of insight knowledge until the practitioner’s mind has entered into the stream of Nibbana, the end of all sufferings. Having attained realization, one will be called as Ariya-Puggala starting from Sotāpannā, Sakadāgāmī, Anāgāmī up to Arahanta which is the final goal of Buddhism.
The perfection accumulating of Sonakutikannathera revealed that Sonakutikannathera was named as Sona when he was a layman, born in wealthy family in Parangala city. In past lives, he had made the wishes and received his predictions in the time of Padumuttara Buddha and finally accomplished his wishes in the time of Gotama Buddha. He had gained Arahantship and been praised by the Buddha an excellent blessed with charming speech, from distinctive and clearly explaining the discourses and melodious utterance in front of Buddha. Moreover, he was asked for permission of ordination by a sangha with only 5 members Bhikkhus very helpful to the later Bhikkus nowadays.
The enlightenment of Sonakutikannathera found that Sonakutikanna strictly followed the teaching of Buddha in order to seek the suffering end with great attention. He had only one meal per day, sleeping alone, not associated with others, observing eight precepts since he was a lay disciple. After having ordained as Bhikkhu under Mahakaccayanathera as his preceptor, he preferred living alone which is one of the seclusion practice. He had started cultivating insight meditation until attained the enlightenment by considering Saṅkhāra or five aggregates into the Three Marks of Existence which includes in mindfulness foundation of mental objects contemplation and finally he attain Arahantship along with 6 super-knowledge (Abhiññā) while finishing his explaining the discourse with sweet speech in front of Buddha in the first rainy retreat.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 2.15 MiB | 1,064 | 23 ก.ค. 2564 เวลา 05:28 น. | ดาวน์โหลด |