-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการบริหารสถานศึกษาตามหลักโยนิโสมนสิการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษSchool Administration Based on Yonisomanasikāra of School Administrators under Khon Kaen Primary Education Office Area 1
- ผู้วิจัยภิญญาดา ชนะเสภา
- ที่ปรึกษา 1ดร.สังวาลย์ เพียยุระ
- ที่ปรึกษา 2ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.ธีระศักดิ์ บึงมุม
- วันสำเร็จการศึกษา25/02/2018
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1709
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 348
- จำนวนผู้เข้าชม 239
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ และแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักโยนิโสมนสิการ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 182 คน และครูผู้สอน จำนวน 317 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 501 คน และกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 9 คนและครูผู้สอน จำนวน 12 คน รวมจำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย,ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน,การทดสอบสมมุติฐานด้วยการทดสอบค่าที,(t–test,แบบ Independent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-test แบบ One-way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’) และวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
การบริหารสถานศึกษาตามหลักโยนิโสมนสิการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีการปฏิบัติสูงสุด คือ ด้านการบริหารวิธีคิดแบบวิภัชชวาท รองลงมาคือ ด้านการบริหารวิธีคิดแบบเห็นคุณ โทษและทางออก และด้านการบริหารวิธีคิดแบบเร้าคุณธรรมตามลำดับ ส่วนด้านที่มีการปฏิบัติต่ำสุด คือ ด้านการบริหารด้วยวิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย
ผลการเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาตามหลักโยนิโสมนสิการ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 จำแนกตามตำแหน่ง โดยภาพรวม มีการปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยผู้บริหารมีการปฏิบัติสูงกว่าครูผู้สอน และจำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน โดยภาพรวมมีการปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
แนวทางในการส่งเสริมการบริหารสถานศึกษาตามหลักโยนิโสมนสิการ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 โดยรวมมีวิธีการคิดแบบโยนิโสมนสิการ พบว่า สถานศึกษาควรมุ่งเน้นเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา ครู และผู้บริหารทุกคนควรมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน และสถานศึกษาควรจัดทำสาระท้องถิ่น ที่มีข้อมูลและเนื้อหาที่สำคัญในจังหวัดขอนแก่น ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์และธำรงไว้อันดีงานผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครูสอนรายวิชาที่ถนัดและชำนาญมากที่สุด ซึ่งจะสามารถแก้ไขปัญหาจุดบกพร่องทางการเรียนของผู้เรียน และควรจัดให้มีโครงการเป็นประจำทุกปี เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนการสอน การทดลองนำไปใช้ และการประเมินการใช้สื่อ เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพสื่อการเรียนการสอน และควรมีนโยบายในการส่งเสริมครูผู้สอนในการใช้สื่อประการเรียนการสอนที่เหมาะสม
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The aims of this research were: 1) to study the school administration based on Yonisomanasikāra in the basic education schools under the Khon Kaen Primary Education Office Area 1; 2) to compare the school administration mentioned, classified by the samples’ position and work experience; 3) to present the ways to promote and develop the school administration based on the dhamma above. The samples of this research included 182 administrators and 317 teachers (total 501) in the research area. The target group included 9 educational administrators and 12 teachers (total 21). The tools used in this research were a questionnaire and interview form. The statistics used in this study were Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation, t-test (Independent Samples), f-test (One-way ANOVA), Scheffe’ method and Descriptive analysis.
The research results were as follows:
1) The statistic scores of the school administration based on Yonisomanasikāra in the basic education schools under the Khon Kaen Primary Education Office Area 1 in overall and each aspect perspective were at a high level. The highest score can be seen in the aspect of ‘Vibhajjavāda thought administration’, followed by ‘cause consideration administration’, ‘advantage and disadvantage consideration’; the least can be seen in that of ‘noble thought administration’.
2) The comparative scores of the school administration based on Yonisomanasikāra in the basic education schools under the Khon Kaen Primary Education Office Area 1, classified by the samples’ positions in overall and each aspect perspective were different with the statistical significance level at .01. The score of the administrators were more than that of the teachers. Classified by work experience, the scores were different with the statistical significance level at .01.
3) The ways to promote and develop the school administration mentioned were that the school should focus on the development of the curriculum of the institution; teachers and administrators should participate in the development of the curriculum to give a guideline to teaching and learning; educational institutions should prepare local contents with the information and contents in Khon Kaen; executives should encourage the most qualified teachers to teach in the subjects based on their expertise. This will be able to solve problems of students learning. The projects should be organized annually to develop learning media before being experimented, applied and evaluated to improve the quality of teaching materials. There should be a policy to promote teachers in the use of appropriate instructional media.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 2.28 MiB | 348 | 24 ก.ค. 2564 เวลา 03:43 น. | ดาวน์โหลด |