-
ชื่อเรื่องภาษาไทยพัฒนาการความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างรัฐกับคณะสงฆ์ไทย
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Development of Power Relationshiphip Between The State and Thai Sangha
- ผู้วิจัยร.ต.ท.ชาตรี อุตสาหรัมย์
- ที่ปรึกษา 1พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร, ดร.
- ที่ปรึกษา 2รศ.ดร.สมิทธิพล เนตรนิมิตร
- วันสำเร็จการศึกษา23/01/2018
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1751
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 398
- จำนวนผู้เข้าชม 1,236
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “พัฒนาการความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างรัฐกับคณะสงฆ์ไทย” ประกอบด้วยวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงอำนาจ 2) ศึกษาพัฒนาการความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างรัฐกับคณะสงฆ์ไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิง อำนาจระหว่างรัฐกับคณะสงฆ์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ประกอบด้วยการศึกษาค้นคว้าเอกสาร สัมภาษณ์ ประชาพิจารณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
จากการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์เชิงอำนาจหมายถึงความสัมพันธ์ในทางกฎหมายที่ใช้อำนาจทางการปกครอง รวมทั้งความสัมพันธ์ที่มีต่อบุคคลในเชิงจารีตประเพณีที่เคยมีมา ความสัมพันธ์ลักษณะดังกล่าวนั้นหมายถึง ความสัมพันธ์ในด้านปฏิบัติการและการบริหารราชการในทุกระดับตั้งแต่ระดับบุคคล ระดับกลุ่มคน และระดับสังคม เมื่อรัฐใช้อำนาจในการปกครองบ้านเมืองผ่านทางกฎหมาย ในขณะเดียวกันพระพุทธศาสนามีอิทธิพลต่อรัฐทั้งในระดับสถาบันและบุคคล ดังนั้นหลักธรรมที่รัฐควรนำมาปฏิบัติ คือ หลักธรรมาธิปไตยซึ่งเป็นหลักการสำคัญแนวพุทธ ที่ไม่ใช่รูปแบบการปกครองแต่เป็นหลักการที่เคารพยึดถือหลักธรรมเป็นใหญ่ โดยหลักธรรมสำคัญได้แก่หลักธรรมราชาซึ่งเป็นหลักธรรมของผู้ปกครองที่ดีมีสัมมาทิฐิ คือผู้ที่มีศีลเป็นข้อประพฤติพื้นฐานนั่นเอง
พัฒนาการความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างรัฐกับคณะสงฆ์ไทย สมัยรัตนโกสินทร์ ปรากฎให้เห็น 3 ด้านคือ ในด้านกฎหมาย ด้านการเมืองการปกครอง และด้านเผยแผ่ พระพุทธ ศาสนา กล่าวคือ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นพระพุทธรูปเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันเกิดจากบุญบารมีของพระมหากษัตริย์ แต่ช่วงปลายสมัยต้นมิติรูปแบบการปกครอง แนวคิดใหม่ให้เป็นการสำนึกทางประวัติศาสตร์ของรัฐ ต่อมาสมัยรัตนโกสินทร์ยุคกลางเปลี่ยนแนวคิดจากจักรวาลวิทยามาสู่ แนวคิดภายใต้อำนาจรัฐที่มั่นคงเป็นปึกแผ่น กับจิตสำนึกร่วมทางประวัติศาสตร์ภายใต้อุดมคติทางการเมืองสมัยใหม่ของสยามประเทศ สมัยปัจจุบันเป็นช่วงสลับสับเปลี่ยนระหว่างรัฐบาลเผด็จการกับรัฐบาลประชาธิปไตย ซึ่งทำให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติคณะสงฆ์หลายครั้ง จนถึงในรัชกาลปัจจุบันมีการแก้ไขพระราชบัญญัติคระสงฆ์ ปี พ.ศ.2560
ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างรัฐกับคณะสงฆ์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ปรากฏชัดทางด้านกฎหมาย ดังนี้ รัชกาลที่ 1 มีการตรากฎหมายพระสงฆ์ พ.ศ.2325-2344 เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรก รัชกาลที่ 4 มีการตรากฎหมายเรียกว่าประชุมประกาศ รัชกาลที่ 4 ขึ้น สมัยรัชกาลที่ 5 มีการตรากฎหมายลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 ปรับโครงสร้างคณะสงฆ์เป็น 2 นิกาย คือ (1)ธรรมยุติกนิกาย (2) มหานิกาย โดยให้มหาเถรสมาคมเป็นที่ปรึกษา ต่อมารัชกาลที่ 8 มีการตราพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ. 2484 ซึ่งเปลี่ยนระบบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์พระมหากษัตริย์มีอำนาจสูงสุด มาสู่ระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่อำนาจสูงสุดอยู่ที่รัฐธรรมนูญ โดยพระมหากษัตริย์ใช้อำนาจผ่านอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ สมัยรัชกาลที่ 9 มีการตราพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 โดยในปี พ.ศ. 2535 มีการแก้ไขพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ครั้งที่ 1 และในรัชกาลปัจจุบันได้ทำการแก้ไขพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ.2560 ซึ่งบัญญัติให้พระมหากษัตริย์เป็นผู้แต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช ดังโบราณราชประเพณีในอดีต
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This dissertation entitled “The Development of Power Relationship Between The State and Thai Sangha” has three objectives: (1) to study the theory of the Power Relationship (2) to study the Development of the Power Relationship between the state and the Sangha in the Rattanakosin period (3) to study the Power Relationship between the state and the Sangha in period of Rattanakosin. This is a quality research that consists with documentary research, interview, public hearing and content analysis.
The research findings were the Power Relationship means the relation through the Law to empower the government including the interpersonal relation towards the custom. The said relation relate to the operation and administration connection in every level; interpersonal, group and society.The state authorize the power of government through the law ; moreover, the Buddhism qualify the state towards the institution and personnel level ; therefore, the Practical Dhamma Principle for the state is Dhammacracy. It is not the pattern of government; however, the concept to respect the Dhamma Principle. The important Dhamma Principle is Dhammaraja which show the good leader who has the right view; the Sila practice as normal.
The development of Power Relationship between the state and Thai Sangha state in the Rattanakosin period occurred in 3 types ; Law, Politics and the propagation of Buddhism. The early age of the Rattanakosin period the Buddha statue were the holy and merit of the King ; however, the last of this age the dimension of Politics related with the historical sense.The middle age of the Rattanakosin period, Universal concept was changed to solidarity state concept which complied with the historical sense under the new modern Siam Country. At the Present, there are the government of autocracy switch to the government of democracy ; moreover, several time to correct The Thai Sangha Law. The last one in the period The present King of Thailand is The additional corrections Thai Sangha law 2560 B.C.
The relation of Power Relationship between the state and Thai Sangha state in the Rattanakosin period towards the law as the followings; King Rama I did written enactment the Thai Sangha law 2325-2344 B.C., King Rama IV enacted The Law meeting announcement IV. At the period of King Rama V legislated Thai Sangha law 121 R.C.which 2 sects : Dhammayuttika Sect and Great Sect ; moreover, the Sangha Supreme Council of Thailand as the advisor.The Sangha law 2484 B.C. was enacted in the period of King Rama VIII according to the supremacy was change from The King to Constitution Law. The King took the power through the Legislative Power, Executive Power and Judicial Power.At the period of King Rama IX legislated the Sangha law 2505 B.C.; moreover, the first revised in 2535 B.C. Now, The present King of Thailand edited the second Thai Sangha law 2505 B.C. with the His Majesty Supreme Patriarch will be selected by The King as the ancient traditions.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 8.83 MiB | 398 | 28 ก.ค. 2564 เวลา 04:10 น. | ดาวน์โหลด |