-
ชื่อเรื่องภาษาไทยแนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมในคัมภีร์สัมภารวิบากเพื่อพัฒนาชีวิต
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Guidelines to Application of Buddhadhamma in Sambhāravipāka for Life Development
- ผู้วิจัยนางณัฏฐนาถ ศรีเลิศ
- ที่ปรึกษา 1พระราชวรเมธี
- ที่ปรึกษา 2รศ.ดร.สมิทธิพล เนตรนิมิตร
- วันสำเร็จการศึกษา09/02/2017
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1754
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 512
- จำนวนผู้เข้าชม 553
บทคัดย่อภาษาไทย
งานดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาคัมภีร์สัมภารวิบาก 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาชีวิตในคัมภีร์สัมภารวิบาก 3) เพื่อศึกษาแนวทางประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในคัมภีร์สัมภารวิบากเพื่อพัฒนาชีวิต
จากการศึกษา พบว่า คุณค่าและความสำคัญของคัมภีร์สัมภารวิบาก คือ กระบวนการสั่งสมบารมีของบุคคลกว่าจะมาเป็นพระพุทธเจ้านั้น เป็นหลักการประพฤติปฏิบัติของพระโพธิสัตว์ผู้สั่งสมคุณความดี เพื่อจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า สมภารวิบาก คือ ผลแห่งสัมภาร หมายถึง การสั่งสมคุณความดี คือ บารมี 10 ประการ ได้แก่ (1) ทานบารมี (2) ศีลบารมี (3) เนกขัมมบารมี (4) ปัญญาบารมี (5) วิริยบารมี (6) ขันติบารมี (7) สัจจบารมี (8) อธิษฐานบารมี (9) เมตตาบารมี (10) อุเบกขาบารมี ประพฤติปฏิบัติแบบปกติธรรมดา เช่น ให้สิ่งของเป็นทาน เรียกว่า ทานบารมี ประพฤติปฏิบัติแบบยิ่งขึ้นไป ถึงกับต้องสละอวัยวะเป็นทานเรียกว่าทานอุปบารมี ประพฤติปฏิบัติแบบยิ่งขึ้นไปสูงสุด เช่นสละชีวิตเป็นทาน เรียกว่า ทานปรมัตถบารมี แสดงให้เห็นถึงการมีอำนาจครอบคลุมวิถีชีวิตของมวลหมู่มนุษย์ ผู้ประกอบการใดๆ ไว้ไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือชั่ว ก็ย่อมจะได้รับผลของกรรมนั้นอย่างยุติธรรม การที่เรามีชีวิตอยู่ในปัจจุบันนี้ เปรียบเสมือนอยู่ในสนามแห่งการเลือกสรรแห่งการสร้างกรรมและรับผลของกรรมที่มวลมนุษย์ได้สร้างกรรมไว้แต่ในชาติปางก่อน (กรรมเก่า) เมื่อผลกรรมตามมาทัน โดยกรรมนี้จะทำหน้าที่ของตนอยู่ตลอดเวลาโดยไม่ละเว้นทั้งผู้ที่กระทำดี จะได้รับผลดีเป็นสิ่งตอบแทนและผู้ที่กระทำชั่ว ก็จะได้รับผลชั่วเป็นสิ่งตอบแทน เพราะฉะนั้นคุณค่าและความสำคัญของคัมภีร์สัมภารวิบากจึงปรากฏนับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันจากรุ่นสู่รุ่นของชาวพุทธเรื่อยมา
หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในคัมภีร์สัมภารวิบาก คือ หลักธรรมสำคัญที่ปรากฏในคัมภีร์ สัมภารวิบากที่ผู้วิจัยได้คัดย่อมา มีทั้งหมด 3 หมวด คือ หลักธรรมที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า หลักธรรมที่เกี่ยวกับธรรมชาติ และหลักธรรมที่เกี่ยวกับการปรมัตถสัจจ์ ทั้งหมดมี 12 หลักธรรมด้วยกัน ได้แก่ บารมี 30 มหาปุริสลักษณะ 32 อนุพยัญชนะ 80 อภิญญา 5 สมาบัติ 8 พุทธคุณ 9 บุญญธัญญลักษณะ 9 ไตรลักษณ์ ปฏิจจสมุปบาท กรรม สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 และอิทธิบาท 4 เป็นตอนที่พระพุทธองค์ทรงแสดงอานิสงค์ของการเจริญอิทธิบาท 4 แก่พระอานนท์ที่ปาวาลเจดีย์ ในตอนอื่นๆของคัมภีร์นี้ จะปรากฏแค่ชื่อหัวข้อธรรมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
แนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาชีวิต ในคัมภีร์สัมภารวิบาก คือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นตามแนวทางที่พระพุทธเจ้าปฏิบัติโดยพัฒนาชีวิตในเรื่องอภิญญาและสมบัติ 8 การพัฒนาชีวิตในเรื่องบารมี 30 ทัศ การพัฒนาชีวิตในเรื่องบุญญธัญญลักษณะซึ่งเป็นการมุ่งพัฒนาทางความประพฤติคือ ทางกาย และวาจา การพัฒนาด้านอินทรีย์หรือสมาธิ คือ ให้รู้จักสำรวมอินทรีย์ของตนอย่างมีสติกํากับ การพัฒนาด้านจิตใจให้เกิดความเข้มแข็ง และมั่นคงสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการพัฒนาด้านปัญญานั่นเอง ทั้งนี้เพื่อให้ชีวิตสมบูรณ์และมีความสุขสงบสันติ และเข้าถึงเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือ นิพพานต่อไป
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This dissertation entitled ‘The Guidelines to Application For Buddhadhamma in Sambhãravipãka for Life Development has three objectives: 1) to study Sambhãravipãka scripture, 2) to study Buddhadhamma in Sambhãravipãka for life development in Sambhãravipãka scripture, and 3) to study the ways in applying Buddhadhamma for life development in Sambhãravipãka scripture. This is a qualitative research.
In the study, it was found that the value and significance of Sambhãravipãka basically refer to the process in cultivating perfection of Bodhisattva who is collecting goodness in order to become a Buddha. Sambhãravipãka is the result of Sambhãra which means the collection of goodness, ten perfections (Pãramĩ), namely, (1) charity, (2) morality, (3) renunciation, (4) wisdom, (5) effort, (6) forbearance, (7) truth, (8) determination, (9) loving-kindness, and (10) equanimity. The regularly practice such alms-giving by materials is called Dãna-Pãramĩ. The superior practice such sacrifice one’s organs is called Dãna-Upapãramĩ (Superior Perfection in Charity). The advanced practice such sacrifice one’s life is called Dãna-paramatthpãramĩ (Supreme Perfection in Charity). It is to show the power covering all human beings life who have done action which is either good or bad, they will receive the result of that action fairly. All human beings live in the present are compared with living in the field of selection of Kamma creation, the field where is the result of Kamma which all human beings had done in the former time, then, they were bound to receive the result of those Kammas. Those mentioned Kammas will do its duty at all times thoroughly, one who does good, will receive good. One who does evil, will receive badness as a reward. Therefore, since then it is very essential to maintain the valuation and significance of Sambhãravipãka to next Buddhist generations.
The importance of Buddhadhamma appeared in Sambhãravipãka Scriptures excerpted here are of three categories, namely, the principle about the Buddha, the nature, and the ultimate reality. There are twelve principles, namely, the thirty perfections (Pãramĩ), the thirty-two Marks of the Great Man (Mahãpurisalakkhaṇa), the eighty Subsidiary Characteristics (Anubyañjana), the five of Abhiñña. the eight of Samãpatti, the nine Buddha’s virtues (Buddhaguṇa), the nine of Puññalakkhaṇa, the three characteristics (Ti-Lakkaṇa), the Dependent Originations (Paṭiccasamuppãda), the Law of Kamma, the four Foundations of Mindfulness (Sati-Paṭṭhãna), the four Great Efforts, and the four Paths of Accomplishment (Iddhipãda). This part is what the Buddha preached the benefits of the practice of four Iddhipãdas to Ãnanda at Pãvãlacetiya. In another part of this scripture, only the name of Dhamma appears.
The ways in applying Buddhadhamma in Sambhãravipãka for life development is to improve the quality of life based on the Buddha’s ways of practice through the development of Abhiñña and the eight of Samãpatti according to the development of thirty Pãramĩs. The development of life done through Puññalakkhaṇa refers to the behavioral development in body and speech, the development of the six faculties (Indriya) by means of controlling one’s faculties through mindfulness in order to empower one’ mind leading to the effectiveness of work, in other words, it means the development of merit done so as to happily and peacefully perfect one’s life wherein the goal of Buddhism, Nibbãna, can be actualized respectively.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 8.11 MiB | 512 | 28 ก.ค. 2564 เวลา 04:52 น. | ดาวน์โหลด |