-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการสอนแบบโยนิโสมนสิการ วิชาพระพุทธศาสนานักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดแม่เฉย จังหวัดอุตรดิตถ์
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Yonisomanasikara Approch of Buddhist Subject for Secondary School Titled Wat Maechoei. Uttaradit Province.
- ผู้วิจัยพระพิทักษ์ อริยปุตฺโต (บุญทอง)
- ที่ปรึกษา 1พระวิเทศพรหมคุณ, ดร.
- ที่ปรึกษา 2ผศ.ดร.บุญเลิศ จีรภัทร์
- วันสำเร็จการศึกษา22/01/2018
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1844
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 2,859
- จำนวนผู้เข้าชม 1,650
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยเรื่อง “การสอนแบบโยนิโสมนสิการ วิชาพระพุทธศาสนานักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดแม่เฉย จังหวัดอุตรดิตถ์” การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียวที่มีการทดสอบก่อน – หลังเรียน (One Group Pretest - Posttest Design) มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ประกอบด้วย 1) เพื่อศึกษาการสอนแบบโยนิโสมนสิการ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดแม่เฉย อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบการสอนแบบโยนิโสมนสิการ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียน วัดแม่เฉย อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยหน่วยการเรียนรู้ เรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบหน่วยการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์วิเคราะห์สถิติสำเร็จรูป ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติเชิงอนุมาน คือ การเปรียบเทียบคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการวิเคราะห์ความแตกต่างของกลุ่มตัวอย่าง (Paired Sample t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การสอนแบบโยนิโสมนสิการ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดแม่เฉย อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ร่วมกันภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มอย่างมีเหตุผล นำเสนอ ซักถามแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามหลักโยนิโมนสิการได้เป็นอย่างดี
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ ที่ 1 เรื่องวันมาฆบูชา แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่องวันวิสาขบูชา แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่องวัน อาสาฬหบูชา แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 เรื่องวันเข้าพรรษาแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 เรื่องวันออกพรรษา มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The research entitled “The Yonisomanasikara Approach of Buddhist Subject for Secondary School Titled Wat Maechoei, Uttaradit Province”. This was the experienced research in the model as the one group pretest/posttest design. Its objectives were (1) to study the teaching the Yonisomanasikara Approach in the Secondary School Named Wat Maechoei, Uttaradit Province and (2) to compare it before and after learning on this topic as the Buddhist’s Holy Days. The data was collected by the test forms. Its analysis was used by the computer program with the software. It was the descriptive statistics that was the means, the standard deviation and the inferential statistics, because the score comparison of the test before and after by analyzing the difference of the paired sample t-test
Findings were as follows:
1. The teaching the Yonisomanasikara Approach in the Secondary School Named Wat Maechoei, Uttaradit Province was interesting to students who could reasonably study together with the group and the small groups, present, make the questions, and share the knowledge each other according to the Yonisomanasikara Approach.
2. The learning achievement was after learning the higher score than before it and it the statistic significant difference at the level 0.01 in this school of students who learnt the first learning plan on Maghapuja Day, the second learning plan on Vesakhapuja Day, the third learning plan on Asalhapuja Day, the fourth learning plan on Buddhist Lent Day and the fifth learning plan on End of Buddhist Lent Day.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 4.17 MiB | 2,859 | 30 ก.ค. 2564 เวลา 09:04 น. | ดาวน์โหลด |