-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Development of Educational Quality Assurance of Mahachulalongkornrajavidyalaya University
- ผู้วิจัยพระสุรชัย สุรชโย (หงษ์ตระกูล)
- ที่ปรึกษา 1รศ.ดร.สมศักดิ์ บุญปู่
- ที่ปรึกษา 2รศ.ดร.สิน งามประโคน
- วันสำเร็จการศึกษา10/03/2018
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1856
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 508
- จำนวนผู้เข้าชม 608
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพขององค์ประกอบของการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยระดับอุดมศึกษา เพื่อพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และเพื่อตรวจสอบระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Research Method) ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม จำนวน 260 รูป/คน และสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผู้บริหาร จำนวน 5 รูป และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 รูป/คน เพื่อตรวจสอบระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย การวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่า E.F.A. วิเคราะห์ปัจจัย (Exploratory Factor Analysis) การวิเคราะห์เอกสาร และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า :
1. องค์ประกอบของระบบการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาประกอบไปด้วย 1) ปณิธาน วัตถุประสงค์ เอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ 2) ผู้นำและการบริหารจัดการ 3) กลยุทธ์ 4) ลูกค้า/ผู้เรียน 5) บุคลากร 6) ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 7) ข้อกำหนดของหลักสูตร 8) โครงสร้างและเนื้อหาของหลักสูตร 9) กิจกรรมพัฒนาบุคลากร 10) การสนับสนุนผู้เรียน 11) สิ่งสนับสนุนและอำนวยความสะดวก 12) การประกันคุณภาพกระบวนการการเรียนและการสอน 13) ข้อมูลป้อนกลับจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมและความสัมพันธ์กับชุมชน/สังคม 14) ผลผลิต/ผลลัพธ์ ความคิดเห็นของผู้บริหารและอาจารย์ที่มีต่อองค์ประกอบของการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยระดับอุดมศึกษา ทั้ง 14 ด้าน พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก คือ สิ่งสนับสนุนและอำนวยความสะดวก ผู้นำและการบริหารจัดการ ข้อมูลป้อนกลับจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมและความสัมพันธ์กับชุมชน/สังคม ในส่วนของสิ่งสนับสนุนและอำนวยความสะดวก กลยุทธ์ และ ผลผลิต/ผลลัพธ์ตามลำดับ
2. พัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย การวิเคราะห์ระบบ ประกอบด้วย องค์ประกอบของระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการผลิตบัณฑิต 2) ด้านการวิจัย 3) ด้านการบริการวิชาการ 4) ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒน ธรรม 5) ด้านการบริหารจัดการ ออกแบบระบบประกอบด้วย 1) ขั้นตอนการพัฒนาระบบ 2) กระบวนการการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา 3) โครงการ/กิจกรรมการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพ การนำระบบไปใช้ ประกอบด้วย 1) การเตรียมการดำเนินงาน 2) การดำเนินงาน 3) การประเมินผลการดำเนินงาน การประเมินผลการดำเนินงาน ประกอบด้วย ปรับเปลี่ยนตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาระดับสถาบันของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และปรับเปลี่ยนตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายนอกระดับสถาบันของสำนักงาน สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
3. ผลการตรวจสอบระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านความถูกต้อง ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นประโยชน์ และด้านความเป็นไปได้ ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเหมือนกันซึ่งอยู่ในระดับมากซึ่งต้องมีความรู้จากผลการวิจัย คือ ต้องพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยระบบประกันคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับการจัดการศึกษาระดับประเทศและระดับโลก
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This research aims to study the condition of components of educational quality assurance in higher education institutions, to develop the educational quality assurance system of Mahachulalongkornrajavidyalaya University, and to check the educational quality assurance system of Mahachulalongkornrajavidyalaya University. The mixed research methods were used in the study. The quantitative data were collected from 260 samples and analyzed by percentage, frequency, mean and standard deviation. The qualitative data were obtained from in-depth interviews with 5 administrators and focus group discussions with 8 experts and analyzed by content analysis.
The results of the study found that:
1. Components of the educational quality assurance system for higher education consist of: 1) Purpose, uniqueness and identity, 2) Leader and administration, 3) Strategy, 4) Customer / learner, 5) Personnel, 6) Expected achievement, 7) Curriculum requirements, 8) Curriculum structure and content, 9) Staff development activities, 10) Student support, 11) Support and facilities, 12) The quality assurance of teaching and learning process, 13) feedback from stakeholders, Arts and Culture conservation and Community/Society Relations, and 14) Productivity. The opinion towards educational quality assurance system in 14 aspects was at the high level overall. The highest level was on Support and facilities, followed by leader and administration, feedback from stakeholder, art and culture conservation and community/society relations, strategy, and product respectively.
2. Development of the educational quality assurance system of Mahachulalongkornraja vidyalaya University in 5 aspects was on; 1) the production of graduates, 2) research, 3) Academic Services, 4) Arts and Culture conservation, and 5) Management. The system design consisted of; 1) System Development, 2) System Development Process, 3) Project/activity in system development. System implementation consisted of; 1) Preparation of the operation, 2) Implementation, 3) Evaluation of the implementation. Operation assurance consisted of criteria adjustment according to the institutional quality assurance criteria of the Office of the Higher Education Commission and according to the institution's external quality assurance standards by The Office for Standards and Quality Assessment (Public Organization).
3. The results of educational quality assurance system of Mahachulalongkorn rajavidyalaya University were at the high level overall. When considering each aspect, the highest level was on accuracy, followed by propriety, utility, and feasibility respectively. The respondents had similar opinions with the high level on to develop educational system with educational quality assurance system in accordance with standard of national and international education.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 6.46 MiB | 508 | 31 ก.ค. 2564 เวลา 00:03 น. | ดาวน์โหลด |