โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    กระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างพลังเชิงบวก สำหรับนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาจุลมณีศรีสะเกษ ตามหลักพุทธบริหารการศึกษา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Buddhist Based Teaching Management Process for Positive Empowerment of Students of Chulamani Sisaket Vocational College
  • ผู้วิจัยแม่ชีระเบียบ ถิรญาณี
  • ที่ปรึกษา 1รศ.ดร.สมศักดิ์ บุญปู่
  • ที่ปรึกษา 2พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร, ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา15/02/2018
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1857
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 643
  • จำนวนผู้เข้าชม 350

บทคัดย่อภาษาไทย

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการเสริมสร้างพลังเชิงบวกสำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษา และศึกษาหลักพุทธบริหารการจัดการเรียนการสอนสำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษา 2)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการเรียนการสอนในวิทยาลัยอาชีวศึกษาจุลมณีศรีสะเกษ และ 3) เพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างพลังเชิงบวกสำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษาจุลมณี ศรีสะเกษ ตามหลักพุทธบริหารการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชากรของวิทยาลัยการอาชีวศึกษาจุลมณีศรีสะเกษ อ.กันทรลักษณ์ จ. ศรีสะเกษได้แก่บุคลากร ครู-อาจารย์ รวม 31 คน นักศึกษาอาชีวศึกษา ทุกชั้นปีรวม 684 คนและผู้ปกครองนักศึกษาอาชีวศึกษา ทุกชั้นปีรวม 684 คน ทุกข้อค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบัค (Cronbach) ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การหาค่าความถี่และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

ผลการวิจัย พบว่า :

1. เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎี และหลักการเสริมสร้างพลังเชิงบวกสำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษา และศึกษาหลักพุทธบริหารการจัดการเรียนการสอนสำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษา ดังนี้ 1) หลักคิดการจัดการเรียนการสอน (1) วิทยาลัยอาชีวศึกษาควรเป็นวิทยาลัยแห่งการส่งเสริมคุณธรรมนำการศึก ษาเพื่อพัฒนาเยาวชนสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน (2) วิทยาลัยอาชีวศึกษา ควรเป็นแบบอย่างในเกียรติคุณด้านการจัดการวิทยาลัยอาชีวศึกษาวิถีพุทธชั้นนำทั้งระดับภาคหรือระดับประเทศ (3) ผู้บริ หารและครูควรเป็นแบบอย่างในการอบรมพัฒนาจิตใจ เสริมสร้างปัญญาทางวิชาการและวิชาชีพ ฯลฯ 2) หลักการการจัดการเรียนการสอน (1) ควรสอดแทรกหลักพุทธธรรมในกิจกรรมการเรียนรู้มุ่งสู่คุณ ลักษณะอันพึงประสงค์ที่ต้องการ (2) ควรมีการบูรณาการหลักพุทธธรรมในการจัดหน่วยการเรียนรู้ทุกสาขาวิชา (3) กิจกรรมการเรียนรู้มีทั้งในและนอกห้องเรียนทุกสาขาวิชา กล่าวได้ว่า ข้อคิดเห็นโดยทั่วไปของผู้ให้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์มีสาระใจความสำคัญที่กล่าวได้เลยว่า มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับแนวทางและกระบวนการปฏิบัติจริงของวิทยาลัยอาชีวศึกษาจุลมณีศรีสะเกษ เป็นส่วนมากทั้งหลักการการดำเนินงานและหลักคิดการจัดการเรียนการสอน ซึ่งโดยภาพกว้างผู้ถามการสัม ภาษณ์มุ่งเน้นการจัดการองค์ประกอบสำคัญ 5 ประเด็น คือ 1) มีหลักพุทธธรรมนำการจัดการศึกษา 2) มีความมุ่งหมายการพัฒนาเยาวชนให้ดีแล้วมีความเก่งตาม 3) บูรณาการเนื้อหาสาระการเรียนรู้ร่วมกับหลักพุทธธรรม 4) มีกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งพัฒนาเยาวชนทั้งด้านกายภาวนา ศีลภาวนาและจิตตภาวนา 5) วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในทุกมิติที่บ่งบอกถึงผู้จบการศึกษา ซึ่งถึงพร้อมด้วยคุณ ลักษณะของความดีงาม ถึงพร้อมด้วยคุณภาพเยาวชน และมีคุณธรรมพร้อมการดำเนินชีวิตที่สง่างาม เป็นผู้มีวุฒิภาวะทางด้านสติปัญญา หรือพุทธพิสัยมีความพร้อมด้านเจตคติหรือจิตพิสัยถึงพร้อมด้วยความสามารถในการทำงานหรือทักษะพิสัยและสุดท้ายสำคัญยิ่งคือ ความถึงพร้อมด้วยบุคลิกภาพคุณ ลักษณะความเข้าใจและใฝ่รู้อยู่ตลอดเวลาจนเป็นผู้มีอุปนิสัยที่ดีมีคุณธรรม (Charcteristic) จนกล่าวได้อย่างมั่นใจว่าลูกๆ เยาวชนทุกคนมีความพร้อม ทั้งด้านวิชาการที่ครบถ้วน มีความพร้อมด้านวิชาชีพอย่างมั่นใจ และมีความพร้อมด้านวิชาชีวิตด้วยคุณธรรม จริยธรรมที่เพียงพอ

2. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการเรียนการสอนในวิทยาลัยอาชีวศึกษาจุลมณีศรีสะ เกษ พลังเชิงบวกเพื่อการเรียนรู้ของลูกๆ เยาวชนของวิทยาลัยอาชีวศึกษาจุลมณีศรีสะเกษ เกิดจากการจัดรูปแบบการเรียนการสอนที่มีทั้งคุณภาพ มีคุณธรรม มีหลักธรรมไตรสิกขา ซึ่งเน้นการมีศีล สร้างสมาธิ และเกิดปัญญาในทุกๆ กิจกรรมการเรียนการสอน ก่อให้เกิดพลังเชิงบวก 4 แนวทาง คือ การคิดบวกอย่างมีสติการสร้างแรงบันดาลใจเชิงคุณธรรม การคิดสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาและความอบอุ่นของลูกๆ เยาวชนจากความเมตตา กรุณาของพ่อครู แม่ครู ในสถานศึกษาด้วยรูปแบบการสอนของพ่อครู แม่ครูที่มีศิลปะ สีสันและลีลา 4 แนวทางสำคัญ คือ การอบรมบ่มเพาะ การฝึกฝนกล่อมเกลา การปฏิบัติให้ดูเป็นแบบอย่างและการจูงใจโน้มน้าวใจเชิงคุณธรรม ซึ่งพ่อครู แม่ครู ทุกท่านจะมีกิจกรรมเชิงบูรณาการการจัดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้แล้ววิทยาลัยอาชีวศึกษาจุลมณี ศรีสะเกษยังได้มีการจัดโปรแกรม กิจกรรมสร้างสรรค์และส่งเสริมคุณค่าของหลักธรรมเป็นโปรแกรมประจำวัน    ประจำสัปดาห์ และโปรแกรมกิจกรรมพิเศษต่างๆ ทั้ง 14 กิจกรรม พลังเชิงบวกทั้งภายในตัวคนและภาย นอกตัวคนจึงเกิดขึ้นต่อลูกๆ เยาวชนตลอดเวลา ส่งผลต่อคุณภาพการเรียนรู้ คุณธรรมการดำเนินชีวิตและความพร้อมในการทำอาชีพสุจริต

3. เพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างพลังเชิงบวกสำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษาจุลมณี ศรีสะเกษ ตามหลักพุทธบริหารการศึกษา หลักพุทธธรรมไตรสิกขาสามารถนำมาบูรณาการได้กับความมุ่งหมายของหลักสูตร เนื้อหาสาระทุกสาขาวิชาทุกองค์ความรู้บูรณาการกับการผลิตและใช้สื่อการเรียนการสอนและบูรณาการเข้ากับการพัฒนาพลังเชิงบวกเพื่อการเรียนรู้ของเยาว ชนในทุกๆ ด้าน ผลลัพธ์การบูรณาการจะนำมาซึ่งสัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้ทั้ง 4 มิติที่ทำงานคือ ผู้เรียน 1) มีพุทธิพิสัยที่มีคุณภาพและคุณธรรม 2) มีจิตพิสัยที่มีคุณภาพและคุณธรรม

3) มีทักษะพิสัยที่มีคุณภาพและคุณธรรม 4) มีอุปนิสัยใฝ่รู้ที่มีคุณภาพและคุณธรรม การวิจัยครั้งนี้ตอบวัตถุประสงค์ครบถ้วนทุกประการ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The objectives of this dissertation were; 1. to study theory, concept and principle of positive empowerment for vocational students and principle of Buddhist educational administration for vocational institutions, 2. to study the present state of teaching and learning in Chulamani Sisaket Vocational College, and 3. to develop teaching management process for positive empowerment of students in Chulamani Sisaket Vocational College based on Buddhist educational administration. The samples used in the study were 31 teachers and personnel, 684 students and 684 students’ parents of Chulamani Sisaket Vocational College in Kantharalak district of Sisaket province. The data were collected through questionnaires with reliability at 0.89 and analyzed by percentage, mean and standard deviation.

The research results found that:

1. The theory, concept, positive empowerment principle and Buddhist educational administration principle for vocational college consisted of; 1) Teaching and learning management concept, (1) Vocational college should provide morality based education for students into ASEAN Community, (2) Vocational college should be a model of Buddhist based management regionally and nationally, (3) Administrators and teachers should be the model in mental development, academic development and professional development, and 2) Principle of teaching and learning management consisted of (1) Buddhist principles should be integrated in learning activities for desirable characteristics, (2) Buddhist principles should be integrated in every course of subjects, and (3) Learning activities in every course of subjects should be arranged in and outside classroom. Chulamani Sisaket Vocational College places a focus on management in 5 aspects; 1) Buddhist based education management, 2) Good first and intelligent, 3) Learning contents integrated with Buddhist principles, 4) Learning activities based on physical, moral and mental development, and 5) Measurement and evaluation in all dimensions to indicate that the graduates accomplished with knowledge and characteristics. 

2. The current state of teaching and learning management in Chulamani Sisaket Vocational College results from incorporation of qualified management, virtues and principles of the Threefold Training in every learning activity to enhance positive empowerment in 4 aspects; positive thinking with mindfulness, virtue based inspiration, positive thinking for development, and Loving-kindness and compassion based warmth. Students were tamed and trained with 4 methods; training, practicing, sampling, and convincing. There were also creative activities and virtue support activities daily and weekly, and 14 extra activities.

3. In the development of teaching management process for positive empowerment of students in Chulamani Sisaket Vocational College based on Buddhist educational administration, the principles of the Threefold Training should be integrated in every course of subjects and learning activities in order to create positive empowerment to the learners in 4 dimensions; 1) qualified and virtual cognitive domain, 2) qualified and virtual affective domain, 3) qualified and virtual psychomotor domain, and 4) qualified and virtual learning habit.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 7.67 MiB 643 31 ก.ค. 2564 เวลา 00:28 น. ดาวน์โหลด