-
ชื่อเรื่องภาษาไทยรูปแบบการตัดสินใจเชิงพุทธสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Buddhist Decision - Making Model for School Administrators under the Secondary Educational Service Area Office 1, Bangkok
- ผู้วิจัยพระครูปลัดไกรสอน ธมฺมรํสี (คำน้อย)
- ที่ปรึกษา 1รศ.ดร.สิน งามประโคน
- ที่ปรึกษา 2รศ.ดร.สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย
- วันสำเร็จการศึกษา15/03/2018
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1858
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 1,432
- จำนวนผู้เข้าชม 299
บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาปัจจุบันเกี่ยวกับการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 กรุงเทพมหานคร 2) พัฒนารูปแบบการตัดสินใจเชิงพุทธสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการตัดสินใจเชิงพุทธสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methodology Research) คือ การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยคุณภาพ ซึ่งการวิจัยเชิงปริมาณ มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ประชากร จำนวน 261 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ด้ายการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัม ภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน และการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลและวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัญหาปัจจุบันเกี่ยวกับการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 กรุงเทพมหานคร ทั้งในด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหาร งานวิชาการ ด้านการบริหารงานทั่วไป ด้านการบริหารงานงบประมาณ ในภาพรวมพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก สำหรับปัญหาปัจจุบันการตัดสินใจในงานทั้ง 4 ด้าน เช่น ครูขาดความรู้ความชำนาญ การสรรหาและคัดเลือกบุคลากร ขาดงบประมาณในการอบรมสัมมนา การพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง กำกับติดตามงานของบุคลากร การสอนและทำกิจกรรมในโรงเรียนการฝึกอบรมบุคลากร ขาดการอบรมในด้านการบริหารงานบุคคลที่ดี งานการบริหารด้านงานทั่วไป งานที่ปรับปรุงแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงาน การรักษาความปลอดภัย การบำรุงรักษา การใช้อาคารสถานที่ การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผลงานและกิจการของโรงเรียน ส่งเสริมสนับสนุนงานในเชิงนโยบายให้การจัดการศึกษาเป็นไปตามนโยบาย
2. พัฒนารูปแบบการตัดสินใจเชิงพุทธสำหรับผู้บริหาร พบว่าการนำหลักพุทธธรรมมาบูรณาการกับการพัฒนาการตัดสินใจ ทั้งในด้านด้านบริหารงานวิชาการ ด้านบริหารงานงบประมาณ ด้านบริหารงานบุคคล ด้านบริหารงานทั่วไป ด้วยอริยสัจ 4 เสริมด้วยโยนิโสมนสิการ สอดคล้องกับทฤษฎีการตัดสินใจพลันเกต และแอ็ตเนอร์ Plunkett and Attner, 7 ขั้นตอน 1). การระบุปัญหา 2). การระบุข้อจำกัดของปัจจัย 3). การพัฒนาทางเลือก 4). การวิเคราะห์ทางเลือก 5). การเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด 6). การนำผลการตัดสินใจไปปฏิบัติ 7).การสร้างระบบควบคุมและประเมินผล
3. รูปแบบการตัดสินใจเชิงพุทธสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า การตัดสินใจเชิงพุทธสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา โดยนำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้กับการตัดสินใจตามทฤษฎีพลันเกต และแอ็ตเนอร์ Plunkett and Attner, 7 ขั้นตอน โดยใช้รูปแบบ “DDM Model”ในการตัดสินใจบริหารงานวิชาการ งานงบประมาณ งานบุคคล และงานทั่วไป สอดคล้องกับ อริยสัจ 4 เสริมด้วยโยนิโสมนสิการ คือได้ผลลัพธ์ของการตัดสินใจใช้ในการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพที่ดีที่สุด
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research were; 1. to study the current situations and problems of decision making of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office 1, Bangkok, 2. to develop a Buddhist decision model for school administrators, and 3. to propose a model of Buddhist decision making for school administrators. The mixed research methodology was used in the study. The quantitative data were collected from 261 subjects by questionnaires and analyzed by frequency, percentage, mean, and standard deviation. The qualitative data were obtained from in-depth interviews with 9 key-informants and group discussions with 9 experts, and then analyzed by content analysis.
The research results found that:
1. The current situations and problems on decision making of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office 1, Bangkok, in personnel administration, academic administration, general administration, and budget administration were at the high level overall. The current problems concerning decision making consisted of unskillful teachers, personnel recruitment, budget shortage for training and seminar, continuing personnel development, work monitor and supervision, teaching and activities in schools, personnel training, and lack of best practice training in human resource management. In general administration, work improvement should be done in security, maintenance, building using, public relations and support education in accordance with policy.
2. In the development of a Buddhist decision making model for school administrators under the Secondary Educational Service Area Office 1, Bangkok, the principles of the Four Noble Truths and Critical Reflection should be integrated in academic, budget, personnel and general administration relating to 7 steps of decision making theory of Plunkett and Attner; problem identification, factors limitation identification, alternative development, alternative analysis, optimal solution identification, implementation, and creating a control and evaluation system.
3. The Buddhist decision making model in application with Plunkett and Attner’s 7-step model relevant to the Four Noble Truths integrated with Critical Reflection results to the "DDM Model" for school administrators in the most effective making decision in academic administration, budget administration, personnel administration and general administration.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 9.57 MiB | 1,432 | 31 ก.ค. 2564 เวลา 00:50 น. | ดาวน์โหลด |