โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    รูปแบบการเสริมสร้างการตระหนักรู้มุสาวาทของผู้ปฏิบัติธรรม ในโครงการวิปัสสนาวัดปัญญานันทาราม
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of the Musāvāda Awareness Promotion of Meditation Practitioners of Wat Punyanuntaram Project
  • ผู้วิจัยนางสาวพิชญานันต์ พงษ์ไพบูลย์
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร, รศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม
  • วันสำเร็จการศึกษา16/06/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1960
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 13
  • จำนวนผู้เข้าชม 12

บทคัดย่อภาษาไทย

                  ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษากระบวนการอบรมจริยธรรมในโครงการวิปัสสนาวัดปัญญานันทาราม 2) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างการตระหนักรู้มุสาวาทของผู้ปฏิบัติธรรมในโครงการวิปัสสนาวัดปัญญานันทาราม และ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการเสริมสร้างการตระหนักรู้มุสาวาทของผู้ปฏิบัติธรรมในโครงการวิปัสสนาวัดปัญญานันทาราม

                  การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยศึกษาข้อมูลทั้งจากเอกสาร (Documentary Research) ทั้งข้อมูลจากคัมภีร์ของพุทธศาสนาเถรวาทและทฤษฎีการตระหนักรู้ของนักวิชาการทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ ประกอบกับข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (Indept Interview) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ทั้ง 25 ท่านได้แก่ พระวิปัสสนาจารย์จำนวน 7 รูป และผู้เข้าอบรมในโครงการวิป้สสนา 5 ครั้งขึ้นไป จำนวน 18 คน และจัดทำสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผู้เข้าอบรมโครงการวิปัสสนาวัดนันทาราม จำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มละ 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ (Interview Form) และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-Participant Observation) แล้วนำข้อมูลมาเขียนบรรยายในแบบการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research)

                ผลการวิจัยพบว่า

               1. ทางวัดปัญญานันทารามได้มีกระบวนการอบรมจริยธรรม เพื่อใช้ในโครงการวิปัสสนา คือ 1กระบวนการเรียนรู้ อันได้มาจากการการให้ความรู้ในด้านจริยธรรม การมาเรียนรู้ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน 2กระบวนการตระหนักรู้ อันได้มาจากการเข้าใจเมื่อได้มาปฏิบัติจริง และ 3กระบวนการฝึกฝน อันได้มาจากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมโครงการ ฟังธรรมเทศนาฝึกวิปัสสนา จนก่อให้เกิดการมีศีล สมาธิ ปัญญา ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางจริยธรรมที่ดีขึ้น

              2.การเสริมสร้างการตระหนักรู้มุสาวาทในโครงการปฏิบัติธรรมของวัดปัญญาที่ผู้เข้าอบรมได้รับจาก 4 ด้าน คือ 1) หลักธรรมคำสอน 2) พระวิปัสสนาจารย์และบุคคลากร และ3) สถานที่สัปปายะ 4) กิจกรรมในโครงการ ตลอดระยะเวลาการอบรมฝึกฝนอย่างเคร่งครัดตลอดระยะเวลา 3 วัน ทั้งในการฟังธรรมเทศนา การรักษาศีล 8 การปิดวาจา ก่อให้เกิด 1) การรับรู้คุณและโทษของมุสาวาท อยากละเว้นการใช้มุสาวาท 2) ความเข้าใจในการใช้คำพูดที่ดีขึ้นและแสดงออกในการสื่อสารอย่างมีสติ นำไปสู่ 3) การตระหนักรู้มุสาวาท มีสติสัมปชัญญะในคำพูด และการแสดงความคิดเห็นทั้งในการพูดและการเขียนความเห็นในโลกออนไลน์ เนื่องจากรู้คุณและโทษของมุสาวาทก่อให้เกิดการปฏิบัติดีขึ้นและรู้จักละการมุสาวาทในชีวิตประจำวัน

              3. รูปแบบการตระหนักรู้มุสาวาทของวัดปัญญานันทาราม เกิดจากกระบวนการอบรมจริยธรรมของที่วัดอันมีโครงการวิปัสสนาเนกขัมมะบารมี หลักสูตร 3 วัน และได้ทำกิจกรรมในโครงการ รักษาศีล เจริญภาวนา ฟังธรรมเทศนาที่มุ่งเน้นให้เกิดความมีศีล สมาธิ ปัญญา อันก่อให้เกิดความตระหนักรู้ทางด้านมุสาวาท ผ่านกระบวนการนำเสนอเชิงบวกจากพระอาจารย์ ที่อธิบายให้เห็นประโยชน์ที่ได้จากการรักษาสัจจะ การสำรวมระวังคำพูด ผู้ที่เข้าอบรมฝึกฝนตนอย่างต่อเนื่องจะลดการมุสาวาทได้มากขึ้นเนื่องจากได้ฝึกตนซ้ำ จนเป็นอุปนิสัย ซึ่งไปสอดคล้องกับทฤษฎีตระหนักรู้มุสาวาทของ Sternberg การตระหนักรู้ในตนเองรู้เท่าทันความคิด คำพูด การกระทำ จะทำให้บุคคลรู้เท่าทันการแสดงออกทางกายและคำพูดได้ การตระหนักรู้มุสาวาทนี้ยังสอดคล้องกับการรักษาสัจจะในเบญจธรรมข้อ 4 คือการพูดความจริง พูดตรง ไม่ทำร้ายประโยชน์ผู้อื่น และการมีวาจาสุภาษิตในมงคลชีวิตข้อที่ 10 จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมละมุสาวาทในผู้ที่ฝึกฝนตนเองอย่างตั้งใจและสม่ำเสมอ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

                This dissertation concentrated on 3 main objectives including 1) to study the moral teaching process of the meditation project of  Wat Punyanuntaram 2) to study the Musāvāda Awareness Promotion of meditation practitioners of Wat Punyanuntaram
3) to present the model of the Musāvāda awareness promotion of meditation practitioners participated in meditation project of Wat Punyanuntaram

This study is a qualitative research that reviewed the related documents from scripture in Theravada Buddhism and the awareness theories of both Thai and foreign academics as well as collected the indept interview data from 25 key informants including 7 teaching Monks and 18 practitioners who attended the project at lease 5 times. The data was also included 2 focus group interview of 16 participants,
8 participants in each as well as the information from non-participant observation

           The reseach found that:

            1. The process of moral teaching to promote the awareness of Musāvāda of Wat Punyanuntaram are summarized as 1) Learning process received by the moral teaching from monks and  opinion sharing among participants 2) Awareness process received by pratical practicing , and 3) Training process received by doing activities, listening Dhamma sermon, practicing meditation in order to culticate precepts, concentration and wisdom. These processes were built up through simple and practical living ways of the temple that caused the moral development in individuals.

             2. The Musāvāda Awareness Promotion  of Wat Punyanuntaram Project that the meditation practitioners cultivated were based on 1) Dhamma teaching 2) Role model teaching monks 3) Suitable environment favorable to mental development and 4) The project activities. The whole 3 days of the meditation project completed with listening Dhamma, keeping the Eight precepts and, especially, the verbal holding rule had given 1) the consciousness of pro and con of false speech and reducing false behavior. 2) the understanding of how to use better and mindful language toward communication 3) the awareness of Musāvāda in speaking  of proper speech including expressing comments in persons or on social network. These awareness promotion improved individuals in using right speech in their daily living.

             3. The Model of The Musāvāda Awareness Promotion of Meditation Practitioners of Wat Punyanuntaram Project  was derived from the process of moral teaching of the 3-day meditation project, the project activities , keeping the Eight Precepts, practicing meditation, listening to Dhamma. These processes had given  the awareness of Musāvāda through the positive presentation from teaching monks which acknowledged the advantage of having true & proper speech. The repeat practitioners could better reduce false speech from  their self-training. This Musāvāda Awareness is harmonized with  Sternberg’s awareness theory: the awareness of ones’ ideas, speech, behavior lead to the proper physical, verbal actions. It is also conformed with  the truthfulness stated as No.4 of The five ennobling virtues and The true speech stated in No.10 of the 38 blessings of life. The Musāvāda Awareness  could practically reduce the use of false speech based on individuals’ self- training certainty and consistency.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
5701505167 5701505167 6.71 MiB 13 25 ส.ค. 2564 เวลา 11:11 น. ดาวน์โหลด