โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนาทักษะชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษDevelopment of Life Skills Based on Sufficiency Economy Philosophy of Vocational College Students
  • ผู้วิจัยพระศรีรัตน์ สิริรตโน (ศรีสง่า)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ.ดร.สิน งามประโคน
  • ที่ปรึกษา 2รศ.ดร.อินถา ศิริวรรณ
  • วันสำเร็จการศึกษา10/03/2018
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1963
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 965
  • จำนวนผู้เข้าชม 1,120

บทคัดย่อภาษาไทย

การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาทักษะชีวิตของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษา 2) เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษา 3) เพื่อเสนอกระบวนการพัฒนาทักษะชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สอบถามนักศึกษา จำนวน 392 คน และสัมภาษณ์ผู้บริหาร ครู อาจารย์ และผู้ปกครองของวิทยาลัยอาชีวศึกษาในจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 10 รูป/คน และการสนทนากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 รูป/คนการวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพปัจจุบันและปัญหาทักษะชีวิตของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษา ได้แก่   ขาดการตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น

    1) การตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น พบว่า นักศึกษาให้ความสนใจตนเองค่อนข้างน้อย และสนใจคนอื่นมากกว่าตนเอง อาจแสดงจากการบริโภคสื่อมากเกินไปทำให้การดำเนินชีวิตขาดเป้าหมายที่ชัดเจน และบางคนขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ในการรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม

    2) การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ พบว่า ขาดหลักการคิดแบบโยนิโสมนสิการด้วยเหตุและผลในการตัดสินใจต่อการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ อย่างเพียงพอ

    3) การจัดการกับอารมณ์และความเครียด พบว่า นักศึกษาบางคนขาดความเข้าใจตนเองและสังคมที่มีผลกระทบต่อการบริโภค คือ จึงเกิดความเครียด ควบคุมอารมณ์ตนเองได้ไม่ดีพอ

    4) การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น พบว่า นักศึกษาขาดการเรียนรู้การใช้ภาษากายและใจในการสื่อสารอยู่ร่วมกับคนอื่น ความสัมพันธ์ร่วมกับคนอื่นอย่างสร้างสรรค์น้อย

2. การพัฒนาทักษะชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน คือ ด้านเงื่อนไขคุณธรรม ส่งเสริมให้นักศึกษาปฏิบัติ ศีล 5 และหิริ โอตตัปปะ จัดกิจกรรมอบรมคุณธรรมสอดแทรกหลักเศรษฐกิจพอเพียง ด้านเงื่อนไขความรู้โดยนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน  ด้านความพอประมาณ เห็นประโยชน์และตระหนักในความสำคัญของการดำเนินชีวิตตามหลักความพอประมาณ ด้านความมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการดำเนินชีวิต และ ด้านความมีภูมิคุ้มกัน จัดทำรายรับรายจ่ายในครัวเรือน

3. กระบวนการพัฒนาทักษะชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาประกอบด้วยทักษะชีวิตของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษา 5 ด้าน  1) ตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น รู้จักความถนัดความสามารถ ของตนเอง  2) คิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ แยกแยะข้อมูลข่าวสาร  3) จัดการกับอารมณ์และความเครียด เข้าใจและรู้เท่าทันภาวะอารมณ์ของบุคคล  4) สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น เข้าใจมุมมอง อารมณ์ ความรู้สึกของผู้อื่น ใช้ภาษาพูดและภาษากายในการสื่อสารและสามารถประยุกต์เข้ากับหลักเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ได้แก่ 1) ด้านความพอประมาณ สร้างความเข้าใจ 2) ด้านความมีเหตุผล จัดทำรายรับรายจ่ายในครัวเรือน 3) ด้านความมีภูมิคุ้มกัน จัดทำบัญชีธนาคารขยะ 4) ด้านเงื่อนไขความรู้ วางแผนองค์ความรู้ 5) ด้านเงื่อนไขคุณธรรม ส่งเสริมให้นักศึกษาปฏิบัติตามหลักโยนิโสมนสิการและอิทธิบาท 4

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The objectives of this research were; 1) to study the state of life skills of vocational college students, 2) to develop life skills of vocational college students based on Sufficiency Economy philosophy, and 3) to propose a life skills development process of vocational college students based on Sufficiency Economy philosophy. The data were collected by questionnaires from 392 vocational college students, in-depth interviews with 10 key-informants consisting of administrators, teachers, and students’ parents of vocational colleges in Sisaket province, and focus group discussions with 10 experts, and then analyzed by percentage, mean, frequency, standard deviation and content analysis.

The research results found that:

1. The current situation and problems in life skills of vocational college students were as follows;

      1.  In self-value and other’s value recognition, students paid less attention to oneself than to the others, had dim target of life, and lacked of responsibility to oneself and society.

      2.  In analytical thinking, making decision and creative problem solving, students lacked of critical reflection before making decision in situations.

3.  In emotion and stress management, students lacked of comprehension in oneself and surrounding society resulting to their stress and emotion control.

4.  In good relation building, students had little knowledge on physical language and mental language in communicating with others.

2. The development in life skills of vocational college students based on Sufficiency Economy philosophy was at the high level in total and in aspect. In virtue, students should be encouraged in observing the Five Precepts and follow Hiri and Ottappa principles together with sufficiency economy philosophy. In knowledge condition, students should be enhanced to apply sufficiency economy philosophy in living a life. In economy condition, students should be initiated to realize the significance and value of living a life on sufficiency economy philosophy. In causality, students should consider causes and effects concerning to their lives, and in immunity, students should make daily pay record.

3. The life skills development process of vocational college students based on Sufficiency Economy philosophy consisted of 5 aspects; 1) To recognize self-value and the others’ value, and to be able to identify one’s own skills and capability, 2) To have critical thinking, creative thinking, creative problem solving, and information analysis ability, 3) To be able to manage emotion and emotional factors and stress of oneself and the others, and 4) to create a good relationship with others through physical and mental languages and apply to 3 circles and 2 conditions of Sufficiency Economy philosophy; 1) In contentment; understanding, 2) In causality; daily pay record, 3) In immunity, recycle bank, 4) In knowledge , plan for body of knowledge, 5) In virtue, to promote the practice of critical reflection and Iddhipada.

 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 4.91 MiB 965 4 ส.ค. 2564 เวลา 10:59 น. ดาวน์โหลด