-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการพัฒนาสมรรถนะด้านวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ของบุคลากรทาง การศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 1 กรุงเทพมหานคร
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Development of the Academic Competency according to Iddhipada IV of Phrapariyattidhamma School Educational Personnel, the General Education Section, Group 1, Bangkok.
- ผู้วิจัยพระมหาสุเมธ สุจิตฺโต (สามารถกิจ)
- ที่ปรึกษา 1พระมหาสมบูรณ์ สุธมฺโม
- ที่ปรึกษา 2ดร. สุภกิจ โสทัด
- วันสำเร็จการศึกษา14/03/2015
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/1978
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 271
- จำนวนผู้เข้าชม 420
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการพัฒนาสมรรถนะด้านวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 1 กรุงเทพมหานคร โดยแยกตามสถานภาพส่วนบุคคล เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านวิชา การตามหลักอิทธิบาท 4 ของบุคลากรทางการศึกษา การศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methology Research) ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กับผู้บริหารและครู จำนวน 184 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบ รวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามทั้งปลายปิดและปลายเปิด มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือการหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informant) แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยความเรียงและสรุปผล
ผลการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนาสมรรถนะด้านวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ของบุคลากรทางการศึกษา ประกอบด้วย 6 ด้านคือ ด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาผู้เรียน ด้านการบริหารจัด การในชั้นเรียน ด้านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน ด้านภาวะผู้นำครู และด้านการสร้างความ สัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.77 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าสูงที่สุดคือ ด้านการพัฒนาผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.88 รองลงมาคือ ด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.87 และค่าน้อยที่สุด คือ ด้านการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.62
2. ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะการพัฒนาสมรรถนะด้านวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ของบุคลากรทางการศึกษา พบว่า
ด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ปัญหาอุปสรรคคือโรงเรียนกำหนดวัตถุ ประสงค์การจัดการเรียนรู้ทุกหลักสูตรของแต่ละชั้นเรียนไม่ชัดเจนเท่าที่ควร โดยมีข้อเสนอแนะให้โรง เรียนต้องกำหนดวัตถุประสงค์การจัดการเรียนรู้ทุกหลักสูตรของแต่ละชั้นเรียนไว้อย่างชัดเจน
ด้านการพัฒนาผู้เรียน ปัญหาอุปสรรคคือโรงเรียนขาดการจัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ โดยมีข้อเสนอแนะให้โรงเรียนควรจัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้มากขึ้นเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
ด้านการบริหารจัดการในชั้นเรียน ปัญหาอุปสรรค คือ โรงเรียนมีการจัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้น้อย โดยมีข้อเสนอแนะให้โรงเรียนควรจัดสภาพแวด ล้อมภายในและภายนอกห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนมากขึ้น
ด้านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน ปัญหาอุปสรรคคือโรงเรียนขาดการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดกลุ่มสภาพปัญหาของผู้เรียน และขาดการทำวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาผู้เรียน โดยมีข้อเสนอแนะให้โรงเรียนควรรวบรวม จำแนก และจัดกลุ่มสภาพปัญหาของผู้เรียน ทำการวิจัยตามแนวคิดทฤษฎีและวิธีการเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ
ด้านภาวะผู้นำครู ปัญหาอุปสรรคคือ ครูขาดความเชี่ยวชาญและขาดการนำหลักการบูรณาการมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างจริงจัง โดยมีข้อเสนอแนะให้โรงเรียนควรรับสมัครครูที่สำเร็จการศึกษาให้ตรงกับวิชาสาขาที่ต้องการหรือมีความเชี่ยวชาญในวิชาที่สอนและมีการจัดอบรมพัฒนาความรู้ เสริมทักษะให้แก่ครูเพื่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการให้แก่ผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
ด้านการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้ ปัญหาอุปสรรคคือ โรงเรียนมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างครู ผู้ปกครอง ชุมชน และองค์กรอื่นๆทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อสนับสนุนส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนน้อย โดยมีข้อเสนอแนะให้โรง เรียนควรสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างครู ผู้ปกครอง ชุมชน และองค์กรอื่นๆทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อสนับสนุนส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
3. ผลการสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับการพัฒนาสมรรถนะด้านวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ของบุคลากรทางการศึกษา จากผู้บริหาร/ครู จำนวน 20 รูป/คน พบว่า
ด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้เป็นหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้จัดโครงสร้างหลักสูตรตามที่สำนักงานพระพุทธ ศาสนาแห่งชาติกำหนด คือ จัดการเรียนรู้ตาม 8 กลุ่มสาระและสาระเพิ่มเติม มีการจัดการเรียน รู้แบบบูรณาการกับภูมิปัญญาท้องถิ่นเหมาะสมกับสภาพนักเรียน ด้านการพัฒนาผู้เรียน มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมด้านจริยธรรมคุณธรรม ด้านทักษะชีวิต สุขภาพกายสุขภาพจิต และด้านความเป็นประชาธิปไตย เพื่อให้ผู้เรียนปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับการเป็นเหล่ากอของสมณะ เป็นศาสนทายาทที่ดีและมีการให้ความช่วยเหลือผู้เรียนโดยมีการตรวจเยี่ยมวัดที่พักอาศัยของผู้เรียนเป็นประจำทุกปี ด้านการบริหารจัดการในชั้นเรียน โรงเรียนมีการจัดบรรยากาศห้องเรียนเหมาะกับการเรียนรู้จัดทำข้อมูลสารสนเทศและเอกสารประจำชั้นเรียน / ประจาวิชา จัดบอร์ดวิชาการ สร้างกฎกติการะเบียบการใช้ห้อง เรียนร่วมกัน ด้านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน ครูมีการแยกแยะรวบรวมประ เด็นปัญหาของผู้เรียน และทำวิจัยเพื่อหาแนวทางช่วยเหลือพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนเต็มศักยภาพ ด้านภาวะผู้นำครูดีมาก ทั้งครูที่เป็นบรรพชิต และคฤหัสถ์ต่างก็มีประสบการณ์ด้านการสอน การอบรมกิจกรรมต่างๆ มีจิตวิทยาในการถ่ายทอดความรู้แก่ผู้เรียนสูง มีปฏิสัมพันธ์ที่ดี มีความรับผิดชอบต่อภาระหน้าที่ของตนเองและส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ เปิดใจกว้าง ยืดหยุ่น ยอมรับทัศนะที่หลากหลายของผู้อื่นสืบเสาะหาข้อมูลความรู้ใหม่ๆเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้มีคุณภาพ ด้านการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้ มีการประสานความร่วมมือ สร้างความสัมพันธ์ กับชุมชนและองค์กรอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อสนับสนุนส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เป็นอย่างดี
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This research aims to study the development of the academic competency according to Iddhipada IV of Phrapariyattidhamma School Educational Personnel, the General Education Section, Group 1 Bangkok, classified by personal status to study the problems and obstacles and guidelines for the development of the academic competency according to Iddhipada IV of educational Personnel. This study takes the form of mixed-methology research. The researcher used regulations and quantitative research methods, as it was a survey research with administrators and teachers, for a total of 184 monks / laypeople. The instruments used to collect data were both closed and open-ended questionnaires with the reliability of 0.98.The statistics, used to analyze the data, were the frequency, percentage, mean and standard deviation and the use of qualitative research methods by in-depth interviews with key informants and then analyzed using descriptive and summary.
The results of this research were as follows:
1.The development of the academic competency according to Iddhipada IV of educational Personnel consisted of 6 aspects, namely, the aspect of curriculum management and learning management, the aspect of learner development, the aspect of inner class management, the aspect of analysis and synthesis and the research to develop learners, the aspect of the teacher leadership and the aspect of building relationships and partnerships with community for learning management. The overall were at the high level with an average of 3.77; when considering each individual aspect, it was found that all aspects were at the high level; the highest value was the aspect of the learner development with an average of 3.88; followed by the aspect of curriculum management and learning management with an average of 3.87 and the lowest was the aspect of building relationships and partnerships with community learning management with an average of 3.62.
2. The problems and obstacles and guidelines for the development of the academic competency according to Iddhipada IV of educational Personnel were found as follows:
The aspect of curriculum management and learning management; problems and obstacles, namely; the objective of the earning management of the curriculum of each class that was defined of the schools, was not clear enough; for this matter there was the suggestion that the schools need to have the objectives clearly defined for the learning management of each curriculum and of each class.
The aspect of learner development; problems and obstacles, namely; the schools had not got any systems to help and develop learners to have quality; for this matter there was the suggestion that the schools should provide a system to care and help more the learners develop them to have the quality and efficiency.
The aspect of inner class management; problems and obstacles, namely; the schools were held inside and outside the class environment that was conducive to learning a little bit; for this matter there was the suggestion that schools should be held inside and outside the class environment that was more conducive to learning for the learners.
The aspect of analysis and synthesis and the research to develop learners; problems and obstacles, namely; the schools lacked analysis and synthesis, and the problematic group arranging of the learners and there was no research to solve the problem of the learners; for this matter there was the suggestion that the school should be collected, classified and grouped the problems of the learners; conduct the research based on the concept, theory and the method to solve problems and develop the learners to have the quality.
The aspect of the teacher leadership; problems and obstacles, namely; the teachers lacked the expertise and core integration; used in the teaching and learning seriously; for this matter there was the suggestion that the schools should recruit teachers who graduate the study at the required fields or expertise in the subjects taught and training to develop knowledge to reinforce the skills of the teachers to integrate learning to the learners effectively.
The aspect of building relationships and partnerships with community for learning management; problems and obstacles, namely; the schools were to create a network of cooperation between teachers, parents, community and other organizations, both public and private sectors to promote a little learning management for the learners; for this matter there was the suggestion that the schools should create a network of cooperation between teachers, parents, community and other organizations, both public and private organizations to promote ongoing learning management for the learners.
3. The results of in-depth interviews about the development of the academic competency according to Iddhipada IV of educational Personnel; from administrators / teachers 20 monks / laypeople were found as follows:
The aspect of curriculum management and learning management is a basic education curriculum in B.E. 2551, namely; the secondary school and high school curriculum. The curriculum structure was organized and defined by the Office of the National Buddhism, called learning management based on the eight strand groups and the additional subjects; as follows: the learning management integrated with local wisdom appropriate to the learners;
The aspect of learner development: the promotional activities of the aspect of ethical virtue; the life skills; the physical and mental health; and the democratization to help the learners conduct themselves in accordance with the descendants of the heir to good religious clerics and assisting the learners by going out to visit the learners and their temples every year.
The aspect of inner class management: The schools had a classroom atmosphere that was appropriate to their learning, provided information, documents of the classes / subjects, had held academic board, established rules and regulations for applying class together.
The aspect of analysis and synthesis and the research to develop learners: the teachers had to identify the problems of the learners and do the research to find ways to help the learner's full learning potential.
The aspect of the teacher leadership was excellent : both teachers were monks and laypeople, had teaching experience, training activities, the psychology of knowledge to the learners, better interaction, responsible for their own obligations, constructive contributions to the open-minded and flexible attitude to accept a variety of others quest for new knowledge to improve the quality of learning.
The aspect of building relationships and partnerships with community for learning management: the schools had established partnerships, building relationships with the community and other organizations both public and private for the promotion of learning as well.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 6.42 MiB | 271 | 5 ส.ค. 2564 เวลา 05:32 น. | ดาวน์โหลด |