โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงพุทธบูรณาการขององค์กรธุรกิจ ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ญี่ปุ่นในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Guideline for the Leadership Development Based on Buddhist Integration of the Japanese Automotive Parts Manufacturing Business Organizations in Amata Nakorn Industrial Estate
  • ผู้วิจัยนายอำนาจ มลสิน
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.ประพันธ์ ศุภษร
  • ที่ปรึกษา 2พระครูโกศลศาสนบัณฑิต, รศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา28/09/2020
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 3,045
  • จำนวนผู้เข้าชม 2,567

บทคัดย่อภาษาไทย

             ดุษฎีนิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ (1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีและสภาพปัญหาการพัฒนาภาวะผู้นำขององค์กรธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ญี่ปุ่น ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร                    (2) เพื่อศึกษาพุทธธรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภาวะผู้นำขององค์กรธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ญี่ปุ่น ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร (3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงพุทธ
บูรณาการขององค์กรธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ญี่ปุ่น ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาเอกสารและสัมภาษณ์ผู้นำระดับผู้จัดการ  ผู้บริหารหัวหน้างาน  ผู้ร่วมงาน และผู้เชี่ยวชาญทางพระพุทธศาสนาจำนวน 18 รูป/คน  แล้วนำเสนอผลเชิงพรรณนาโวหาร
               ผลการวิจัยพบว่า ผู้นำองค์กรธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ญี่ปุ่นในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร มีหลักในการปฏิบัติงานตามแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformation Theories) คือ (1) ผู้นำมีอำนาจอิทธิพลต่อผู้ร่วมงาน  (2) การเปลี่ยนสภาพหรือเปลี่ยนแปลงความพยายามของผู้ร่วมงานให้สูงขึ้นกว่าความพยายามที่คาดหวัง  (3) พัฒนาความสามารถของผู้ร่วมงานไปสู่ระดับที่สูงขึ้นและมีศักยภาพมากขึ้น  สภาพปัญหาของผู้นำองค์กรธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ญี่ปุ่นในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร เป็นปัญหาหลักการพื้นฐานของภาวะผู้นำ แบ่งออกเป็น 3 อย่างคือ (1) พฤติกรรมการใช้อำนาจที่เอื้อประโยชน์เฉพาะตนและพวกพ้องเลือกปฏิบัติ (2) ขาดวุฒิภาวะทางอารมณ์ไม่ฉลาดทางอารมณ์ ขาดปิยวาจา ขาดการแบ่งปั่น ขาดเมตตาและ (3) ขาดการเสริมสร้างความรู้ความสามารถในงาน ทำให้ขาดการประสานความร่วมมือและเกิดการแปลกแยกในองค์กร ดังนั้นผู้วิจัยจึงขอนำเสนอหลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างภาวะของผู้นำได้แก่ 
หลักทศพิธราชธรรมซึ่งประกอบด้วยหลักธรรมย่อย 10 ประการดังนี้ 
              หลักพุทธธรรมสำหรับพัฒนาตน ได้แก่  (1) การมีศีล (2) การมีอาชชวะ ความซื่อตรง  (3) อวิโรธนะ ความหนักแน่นในธรรมหลักพุทธธรรมสำหรับพัฒนาคน  ได้แก่  (1) ทาน การให้ (2) มัททวะ ความอ่อนโยน (3) อักโกธะ ไม่โกรธ (4) อวิหิงสาการไม่เบียดเบียนผู้อื่น (5) ปริจจาคะการบริจาค (5) พรหมวิหาร 4 และ (6) สังคหวัตถุ 4 หลักธรรมสำหรับพัฒนางาน  ได้แก่ (1) ตบะ  (2) ขันติ และ (3) อิทธิบาท 4  ซึ่งผู้วิจัยได้องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการศึกษาวิจัย ทั้งจากแนวคิดทฤษฎี การจากสัมภาษณ์เชิงลึก และจากหลักพุทธธรรมในพระพุทธศาสนา เพื่อใช้เป็นแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงพุทธบูรณาการขององค์กรธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ญี่ปุ่นในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร คือ 
              “Four C. Team Spirit of Leadership” โดยผู้นำจะต้องมองโลกผ่านเลนส์ของตัวเองกับ Four C. ดังนี้ (1) C= Change Management บริหารการเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนกรอบความคิด (Mindset) ของผู้นำในยุค New Normal ใหม่หรือวิถีชีวิตปกติใหม่ (2) C= Communication การสื่อสารอย่างมืออาชีพของผู้นำ (3) C= Character Focus ความสง่างามของผู้นำ  (4) C= Cultivate Moral Awareness การปลูกฝังจิตสำนึกในหลักทศพิธราชธรรม พรหมวิหาร 4 อิทธิบาท 4 และสังคหวัตถุ 4 เพื่อเป็นพื้นฐานทางจิตใจที่ยั่งยืน ของภาวะผู้นำองค์กรธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ญี่ปุ่นในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร 
                โดยนำหลักพุทธธรรมมาผสมผสานกับศาสตร์ของผู้นำให้สอดคล้องกับประสบการณ์ที่เกิดจากการปฏิบัติงาน นำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และการจัดทำเป็นคู่มือสำหรับเป็นแนวทางการปฏิบัติงานเชิงพุทธบูรณาการในระดับปัจเจกบุคคล และระดับองค์กรเพื่อให้เกิดประโยชน์และสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ


The dissertation consists of three objectives: 1) to study concepts, theories, and problem conditions of the leadership development of the Japanese automotive parts manufacturing business organizations in Amata Nakorn industrial estate, 2) to study the Buddhist doctrines related to the leadership development of the Japanese automotive parts manufacturing business organizations in Amata Nakorn industrial estate, and 3) to propose the guideline for the leadership development based on Buddhist integration of the Japanese automotive parts manufacturing business organizations in Amata Nakorn industrial estate. The study is qualitative research by way of studying from documents and interview with managers, administrators, supervisors, coworkers, and Buddhist experts, in a total of 18 persons. The obtained data are presented in a descriptive method.

From the study, it is found that the leaders of automotive parts manufacturing business organizations in Amata Nakorn industrial estate have the principles in work performance based on the transformation theories as follows: 1) Leaders have power and influence on their coworkers; 2) A transition or transformation of the co-workers' efforts to be higher than expected; and 3) The development of coworkers’ competence to a higher level with more potentials. The problems of leaders in private business organizations are found to involve the fundamental principle of leadership which can be divided into three aspects: 1) Discrimination by exercising one's power that benefits only oneself and among one’s friends; 2) The lack of emotional intelligence (EQ) and emotional maturity as well as the lack of kindly speech (piyavācā), sharing and compassion (mettā); and 3) The lack of knowledge and ability enhancement in work that one is responsible for as well as the lack of coordination and cooperation which altogether lead to a sense of alienation in the organizations. 

Consequently, the researcher would like to present the Buddhist doctrines on the Tenfold Virtues of the Ruler (dasavidha-rājadhamma) for enhancing the leadership of leaders which can be divided into three main categories: 1) The doctrines for self-development, namely 1.1) Observing the precepts (sīla), 1.2) Honesty (ājjava), and 1.3) Confirming to the law (avirodhana); 2) The doctrines for human development, namely 2.1) Giving (dāna), 2.2) Kindness and gentleness (maddava), 2.3) Non-anger (akkodha), 2.4) Non-violence (avihiṁsā), 2.5) the Four Sublime States of Mind (brahmavihārā), and 2.6) the Four Bases of Social Solidarity (saṅgahavatthu); and 3) The doctrines for work development, namely 3.1) Non-indulgence (tapa), 3.2) Tolerance (khanti), and 3.3) the Four Paths of Accomplishment (iddhipāda). 


รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text 3.95 MiB 3,045 29 ต.ค. 2563 เวลา 21:15 น. ดาวน์โหลด