โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ศึกษาการเจริญวิปัสสนาภาวนาในอัชฌัตตานัตตสูตร
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of Insight Meditation Practice in Ajjhattānattasutta
  • ผู้วิจัยพระสมชาย จนฺทสาโร (ทุ่งมล)
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาชิต ฐานชิโต, ดร., ป.ธ. 7
  • วันสำเร็จการศึกษา25/02/2020
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/200
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 317
  • จำนวนผู้เข้าชม 518

บทคัดย่อภาษาไทย


สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์2ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาเนื้อหาและสาระสำคัญในอัชฌัตตานัตตสูตร (2) เพื่อศึกษาการเจริญวิปัสสนาภาวนาในอัชฌัตตานัตตสูตรเป็นงานวิจัยเชิงเอกสารโดยศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท คือ พระไตรปิฎก อรรถกถา และคัมภีร์อื่นที่เกี่ยวข้อง เรียบเรียง บรรยาย ตรวจสอบ โดยผู้เชี่ยวชาญ และแก้ไขตามคำแนะนำ

จากการศึกษาพบว่า อัชฌัตตานัตตสูตร นี้มีหลักธรรมสำคัญ คือ 1) อายตนะภายใน หรือ
อัชฌัตตายตนะ 6 ได้แก่ จักขุอายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ และ มนายตนะ เป็นอารมณ์ภายในที่มีปัจจัยเกื้อหนุนจากอายตนะภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รสโผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ 2) หลักอนัตตา ซึ่งเป็นหนึ่งในไตรลักษณ์ทั้ง 3 คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในพระสูตรนี้พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนแก่ผู้ปฏิบัติให้เจริญอายตนะภายในทั้ง ๖ ให้เข้าสู่ลำดับวิปัสสนาญาณโดยความเป็นอนัตตาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา จนจิตของผู้ปฏิบัติได้บรรลุถึงมรรคผลนิพพานในที่สุด

การเจริญวิปัสสนาภาวนาในพระสูตรนี้ พระพุทธเจ้าทรงชักชวนผู้ปฏิบัติให้เจริญวิปัสสนาโดยมีสติสัมปชัญญะรู้อารมณ์ปรมัตถสภาวะทางอายตนะภายในทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจที่กำลังเกิดขึ้นเพราะผัสสะกับอายตนะภายนอกในปัจจุบันขณะซึ่งเป็นการเจริญวิปัสสนาภาวนาหมวด
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน จัดเป็นนามรูปปริเฉทญาณ โดยความเป็นอนัตตาซึ่งอยู่ในไตรลักษณ์ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ซึ่งจัดอยู่ในลำดับสัมมสนญาณ จิตของผู้ฟังอยู่ก็หยั่งลงสู่ลำดับวิปัสสนาญาณ เห็นความเกิดดับของสภาวะของอายตนะทั้งภายใน คือ อุทยัพพยญาณจนเกิดความเบื่อหน่ายในสภาวะนั้นเป็นนิพพิทาญาณ ตามลำดับพุทธพจน์ว่าเมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด คือจิตเข้าสู่มุญจิตุกัมยตาญาณ เพราะคลายกำหนัดจิตย่อมหลุดพ้นคือได้บรรลุมรรค ผลญาณ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป จิตของผู้ฟังได้บรรลุถึงปัจจเวกขณญาณ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ


This thematic paper had two objectives; 1) to study contents and essential teaching found in Ajjhattānattasutta, 2) to study insight meditation development in Ajjhattānattasutta. It was a documentary research by taking primary source from Theravada Buddhist texts; Tipitaka, its commentaries and sub-commentaries as well as concerned documents. The collected data was analyzed, compiled, approved by advisor then re-corrected and composed in descriptive style as supervisor suggested.

From study, it found that Ajjhattānattasutta contains main teachings; 1) 6 internal sense-fields or Ajjhatāyatana, namely, the eye, ear, nose, tongue, body, mind. They are all inner senses supported by outer sense organs, i.e. visible objects, sound, ordo, taste, tangible objects, mind-objects, 2) Non-self teaching, which is one of the three common characteristics; impermanence, suffering and non-self. In this discourse, the Buddha taught Bhikkhus to cultivate Insight meditation through observing the six internal sense-fields until their mind entering into Insight knowledge by realizing the non-self as that is not mine, I am not such, that is not myself, gaining knowledge through void liberation. Finally, his audiences entered Noble path and Nibbana. 
For insight development found in Ajjhattānattasutta, it visualized the way that the Buddha persuaded Bhikkhus to follow insight meditation. At first, one must investigate his mindfulness and awareness observing the absolute state of 6 internal sense-fields namely, eye, ear, nose, tongue, body, mind which were happening while contacting with outer sensual organs at present moment classified as Dhammānupassanāsatipaṭṭhāna named as Nāmarūpaparichedañāṇa, Then the Buddha persuaded to focus on non-self which was one in Three Common Characteristics as that is not mine, I am not such, that is not my self, classified in Sammasanañāṇa. From that knowledge, the mind entered into true insight knowledge seeing rise and falls of internal sense-fields, that is Udayabbayañāṇa, then detaching from such conditions classified as Nibbidāñāṇa along with the words of the Buddha. Having detached, one renounces from pleasures and lust entering Muñcitukamyatāñāṇa, having renounced from all pleasures, his mind has liberated called as Maggañāṇa and Phalañāṇa. Having liberated, one realized that he had completely liberated, knowing that his birth ended, noble life had completed, his works is completed, no other works to be done again. At this state, audiences had attained final insight knowledge called as Paccavekkhaṇañāṇa.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 4.99 MiB 317 23 พ.ค. 2564 เวลา 23:33 น. ดาวน์โหลด