โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การศึกษาวิเคราะห์สุขวรรคในคัมภีร์ธรรมบท
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analytical Study of Sukhavagga in Dhammapada Scripture
  • ผู้วิจัยนางสาวณัฎฐาพรรณ กรรภิรมย์พชิรา
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาสุขสันติ์ สุขวฑฺฒโน, ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระมหาอดิเดช สติวโร, ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา30/07/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2003
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 626
  • จำนวนผู้เข้าชม 305

บทคัดย่อภาษาไทย

วิทยานิพนธ์เรื่อง การศึกษาวิเคราะห์สุขวรรคในคัมภีร์ธรรมบท มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาโครงสร้างและเนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับความสุขในสุขวรรค 2) เพื่อศึกษาความสุขที่ปรากฏในพระไตรปิฎก 3) เพื่อวิเคราะห์ลักษณะของความสุขในสุขวรรค เป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research)

ผลการวิจัย พบว่า โครงสร้างและเนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับความสุขในสุขวรรค มี 8 เรื่อง ดังนี้ 1) เรื่องญาติกลหวูปสมนวัตถุ เป็นเรื่องการระงับความทะเลาะของหมู่พระญาติ 2) เรื่องมารวัตถุ เป็นเรื่องมาร 3) เรื่องโกสลรัญโญปราชยวัตถุ เป็นเรื่องความพ่ายแพ้ของพระเจ้าโกศล 4) เรื่องอัญญตรกุลทาริกาวัตถุ 5) เรื่องอัญญตรปุปาสกวัตถุ เป็นเรื่องอุบาสกคนใดคนหนึ่ง 6) เรื่องปเสนทิโกสลวัตถุ เป็นเรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศล 7) เรื่องติสสเถรวัตถุ เป็นเรื่องพระติสสเถระ 8) เรื่องสักกวัตถุ เป็นเรื่องท้าวสักกะ

ความสุขที่ปรากฏในพระไตรปิฎก พบว่า 1) ประเภทของความสุขมี 13 ประเภท โดยจัดแบ่งเป็นคู่ ๆ มีความหมายตรงข้ามกัน, ความสุขจัดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ความสุขแบบคฤหัสถ์ และความสุขแบบบรรพชิต 2) ระดับของความสุข มี 10 ขั้น จัดแบ่งออกเป็นระดับใหญ่ ๆ ได้ 2 ระดับคือ โลกิยสุข และโลกุตตรสุข และแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ 1) กามสุข, 2) สุขในรูปฌาน, 3) สุขในอรูปฌาน, 4) สุขในสัญญาเวทยิตนิโรธสมาปัตติสุข, 5) นิพพานสุข

ลักษณะของความสุขในสุขวรรค พบว่า 1) ความไม่มีเวรต่อกัน, 2) ไม่มีความเดือดร้อนเพราะกิเลส, 3) การละความติดใจในกามคุณ 5, 4) ความปราศจากกิเลสเครื่องกังวลคือ ราคะ โทสะ และโมหะ, 5) การอยู่ร่วมกับพระอริยะและนักปราชญ์ก่อให้เกิดสุข

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

                The thesis entitled An Analytical Study of Sukhavagga in Dhammapada Scripture. There are three objectives; 1) To study the structure and content regarding to happiness in the Sukhavagga , 2) To study the happiness that appears in the Tipitaka, 3) To analyze the nature of happiness in the Sukhavagga.  This is the documentary research.

                The result of this research was found that the structure and content regarding happiness in the Sukhavagga, there are 8 subjects, namely; 1) Ñātikalahavūsamana Vatthu – The Pacification of the Relatives of the Buddha. 2) Māra Vatthu – Mara. 3) Kosalarañño Parājaya Vatthu – Defeat of Kosala King.  4) Aññatarakuladārika Vatthu – a Young Bride. 5) AññatarapupaAññatarasaka Vatthu – a Lay-Disciple. 6) Pasenadikosala Vatthu – King Pasenadikosala. 7) Tissatthera Vatthu –Tissa Thera. 8) Sakka Vatthu – Sakka (Lord of the Devil).

            The happiness that appears in the Tripitaka was found that 1) The 13 categories of happiness, by being arranged in pairs and its have an opposite meaning, The happiness can be divided into 2 types, namely; the house-life’s happiness and the ordained-life’s happiness. 2) The happiness’s level, There are 10 which dividid into 2 main levels, namely; Mundane and Supermundane, and can divided into 5 levels, namely; (1) The Sense Pleasures, (2) Happiness in the Fine-Material sphere, (3) Happiness in the Immaterial sphere, (4) The happiness by extinction of perception and feeling, (5) The Nibbana’s happiness.

                The nature of happiness in Sukhavagga was found that 1) Without enmity of each other, 2) Without trouble because the defilements (Kilesa), 3) Not striving for the sensual pleasures (Kāmagana 5), 4) Without any Defilements, 5) Living with the Noble One and the Philosopher will be blessed.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6101201032 6101201032 1.18 MiB 626 7 ส.ค. 2564 เวลา 00:31 น. ดาวน์โหลด