โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อการสอนทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อการสอน วิชาพระพุทธศาสนา ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่ม 1 กรุงเทพมหานคร
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษStudent's Attitudes toward Teaching Buddhist Subject at Phrapariyattidhamma School, General Education Division, Group 1 Bangkok
  • ผู้วิจัยพระมหาเอกพงษ์ สุนทรเมธี (ประสีละเตสัง)
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาสมบูรณ์ สุธมโม ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ดร.สุภกิจ โสทัด
  • วันสำเร็จการศึกษา18/02/2015
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2004
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 71
  • จำนวนผู้เข้าชม 166

บทคัดย่อภาษาไทย

                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อการสอนวิชา พระพุทธศาสนา เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อการสอนวิชาพระพุทธศาสนา และเพื่อ ศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะแนวทางการสอนวิชาพระพุทธศาสนา ในโรงเรียนพระปริยัติ ธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่ม 1 กรุงเทพมหานคร

                 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียน จํานวน 218 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล คือ การหาค่าความถี่และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่าเอฟ (F-test) โดยการ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance)

                 ผลการวิจัยพบว่า

                 1. ทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อการสอนวิชาพระพุทธศาสนา โดยภาพรวมทัศนคติของ นักเรียนที่มีต่อการสอนวิชาพระพุทธศาสนาอยู่ในระดับมากทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.87 เมื่อ พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านเนื้อหาของหลักสูตร การทําให้สามารถเข้าใจหลักธรรมทาง พระพุทธศาสนาอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.09 ด้านการจัดกิจกรรมสอน มีการนํา นักเรียนทุกชั้นปีไปทัศนศึกษานอกสถานที่ เพื่อส่งเสริมประสบการณ์ชีวิตอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.09 ด้านสื่อการสอนโรงเรียนตระหนักในคุณค่าและความสําคัญโดยการสนับสนุน การใช้สื่อการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.58 ด้านการจัดสภาพแวดล้อมบรรยากาศ การสอน มีการสร้างบรรยากาศความเป็นกันเองระหว่างครูกับนักเรียนและระหว่างนักเรียนกับ นักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.42 และด้านการวัดผลและประเมินผล การวัดผล และประเมินผลวิชาพระพุทธศาสนา เป็นการวัดความรู้ ความเข้าใจ และการนําหลักธรรม มาประยุกต์ใช้ต่อการดําเนินชีวิตประจําวันอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.98

                 2. การเปรียบเทียบทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อการสอนวิชาพระพุทธศาสนา จําแนกตาม สถานภาพ อายุ กําลังศึกษาอยู่ในชั้นเรียนและวุฒิการศึกษานักธรรม โดยภาพรวมพบว่านักเรียน มีทัศนคติไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า นักเรียนมีทัศนคติไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

                 3. ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะแนวการสอนวิชาพระพุทธศาสนา มีดังนี้

                     3.1 ด้านเนื้อหาหลักสูตร ควรจัดเนื้อหารายวิชาที่เน้นโครงการเพื่อพัฒนา ให้นักเรียน มีการบูรณาการกับรายวิชาอื่นได้อย่างชัดเจน และควรเน้นครูที่มีความเข้าใจในเนื้อหา โครงสร้างหลักสูตรอย่างแท้จริง เพื่อที่จะได้ทําแผนการสอนในรายวิชานั้นๆ ให้ถูกต้อง

                     3.2 ด้านการจัดกิจกรรมการสอน ควรมีการจัดกิจกรรมที่นอกเหนือจากเนื้อหา สาระที่กําหนดไว้ในหลักสูตรเสริมแก่นักเรียน และจัดหาครูที่มีวุฒิทางการศึกษาตรงต่อรายวิชา ที่สอนและควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงออกทางความคิด ความสามารถของตนให้มากขึ้น

                     3.3 ด้านสื่อการสอน ควรจัดให้นักเรียนทุกชั้นปีมีส่วนร่วมเสนอความคิดเห็น และ การแก้ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการใช้ วัสดุ อุปกรณ์ โสตทัศนศึกษา ที่ใช้ประกอบการเรียน การสอน เช่น คอมพิวเตอร์ โปรเจคเตอร์ แท็บเล็ต ทําให้นักเรียนได้เรียนรู้ทางเทคโนโลยี และควร จัดหาครูที่มีความรู้ความสามารถในการใช้สื่อเทคโนโลยีที่แนะนําให้กับนักเรียนได้

                     3.4 ด้านการจัดสภาพแวดล้อมบรรยากาศการสอน ควรมีการสร้างบรรยากาศการ อยู่ร่วมกัน ระเบียบกฎเกณฑ์ของชั้นเรียน การทํางานร่วมกัน ตามระบอบการปกครองประชาธิปไตย โดยการขอความร่วมมือผู้บริหารและครูช่วยกันจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน ห้องเรียนให้ มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการเรียนพระพุทธศาสนา และจัดแหล่งการเรียนรู้ภายในโรงเรียนตามวัน สําคัญทางพระพุทธศาสนา

                     3.5 ด้านการวัดผลและประเมินผล ควรจัดให้มีเครื่องมือที่โรงเรียนใช้ในการวัดผล วิชาพระพุทธศาสนา เช่น ข้อสอบ การสัมภาษณ์ การสังเกตความประพฤติ การปฏิบัติตัวของนักเรียน ในแต่ละครั้ง เครื่องมือที่ใช้ควรมีการพัฒนาปรับปรุงพัฒนาให้มีความเที่ยงธรรมตรงและมีความเชื่อมั่น เป็นข้อสอบที่มีมาตรฐาน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

                 The purposes of this research were threefold: (1) to study student s'attitudes toward teaching Buddhist Subject (2) to compare students' attitudes toward teaching Buddhist Subject and (3) to study the problems, suggestions and approaches to teaching Buddhist Subject at student's attitudes toward teaching Buddhist Subject at Phrapariyattidhamma School, General Education Division, Group 1 Bangkok.

                 The sample groups to the research were 218 novice students. The statistics used in data analysis were the frequency, percentage, mean standard deviation ,testing of the t-test and the F-test by one-way analysis of variance.

                 The results were as follows:

                 1. The students' attitudes toward teaching Buddhist Subject. The overall, the students' attitudes toward the teaching of Buddhist Subject, were at the high level on all aspects with an average of 3.87. When considering each individual aspect, the content of the curriculum was found that it was to be able to understand the principle of Buddhism was the highest level with an average of 4.09. The arrangement aspect of the teaching activities by having the students from all classes get to field trips to enhance your experience living at the highest level with an average of 4.09. The instructional media aspect, the schools recognize the value and importance of supporting instructional media at the highest level with an average of 3.98. The arrangement aspect of the atmosphere teaching environment by creating a friendly atmosphere between teachers and students and students and students at the highest level with an average of 3.92 and the measurement and evaluation aspect, namely: the assessment and evaluation of Buddhist Subject that measured knowledge, understanding and application of the principles of the Buddhist doctrines can be applied to everyday life at the highest level with an average of 3.98.

                 2. A comparison of students' attitudes toward teaching Buddhist Subject. Classified by status, age, studying in classes and the academic levels of theologian. The overall found out that the students' attitudes were not different statistically significant at the 0.05 level. When considering each individual aspect; it were found that the student's attitudes were not different statistically significant at the 0.05 level; so it did not meet the standards set.

                 3. Problems, obstacles and suggestions and approaches to the teaching of Buddhist Subject, were as follows:

                      3.1 The content aspect of curriculum; namely the curriculum content should be organized, focusing on the project, to teach the In order to develop the students by being integrated explicitly with other subjects and teachers who have a real understanding of the course content should be emphasized In order to make the lesson plan of each subject that is correct.

                      3.2 The arrangement aspect of the teaching activities should be organized in addition to the content specified in the curriculum to the students. And provide teachers with educational qualifications on a list of courses and teachers should allow their students to express their ideas and their ability increase.

                      3.3 The instructional media aspect should be provided to all students grade by participating ideas and solving the problems that occur with the use of materials; equipment; audio and visual used for learning and teaching, were as follows: computers, projectors, tablets for students to learn the technology, and the teachers who were competent in the use of media technologies advise the students should be provided.

                      3.4 The arrangement aspect of the atmosphere teaching environment should be created by having an atmosphere of coexistence, rules and regulations, the criteria of the classroom and work together as the democratic regime by requesting cooperation from administrators and teachers to help prepare the environment within the school. In a classroom environment that is conducive to studying Buddhist Subject and learning resources within the school according to the important days of Buddhism.

                      3.5 The assessment and evaluation aspect should be provided with the tools that schools use to measure of Buddhist Subject; namely examinations, interviews, the observed behaviors, the practice of students in each time, the instrument should be developed to improve the fairness and confidence as standard examinations.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 3.07 MiB 71 6 ส.ค. 2564 เวลา 10:03 น. ดาวน์โหลด