-
ชื่อเรื่องภาษาไทยความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานนทบุรี เขต 1
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Opinion of Teachers towards an Academic Administration Based on The Principle of Sangahavatthu IV in Nonthaburi Primary Educational Service Area Office 1
- ผู้วิจัยนางสาวพรสวรรค์ รอดคล้าย
- ที่ปรึกษา 1พระมหาสมบูรณ์ สุธมโม, ดร.
- ที่ปรึกษา 2ดร.สุภกิจ โสทัด
- วันสำเร็จการศึกษา18/02/2015
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2005
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 163
- จำนวนผู้เข้าชม 206
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็น เปรียบเทียบความคิดเห็น และวิเคราะห์ ปัญหาและข้อเสนอแนะของครูเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในโรงเรียน ขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 โดยใช้ แผนการวิจัยเชิงปริมาณ รวบรวมข้อมูลจากครู 4 โรงเรียน รวม 261 คน โดยการคํานวณตามสัดส่วน ของจํานวนครูทั้งหมดในโรงเรียนนั้น จากนั้นจึงใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และ ทดสอบค่าเอฟ (F-test) โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และ เปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของฟิชเชอร์ (Fisher's Least-significant Difference: LSD)
ผลการวิจัยพบว่า
ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในโรงเรียน ขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 ประกอบด้วย 7 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการวัดผลการประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการประกัน คุณภาพการศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ รองลงมาคือด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ส่วนด้าน การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษามีค่าเฉลี่ยต่ําที่สุด
ผลการเปรียบเทียบจําแนกตามเพศ อายุ และประสบการณ์สอน พบว่า ครูที่มีเพศ อายุ และประสบการณ์สอนต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการตามหลักสังคหวัตถุ 4 โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงไม่เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ แต่เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า มีความ คิดเห็นที่แตกต่างกัน จึงเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนผล การเปรียบเทียบจําแนกตามสถานภาพสมรสและระดับการศึกษา พบว่า ครูที่มีสถานภาพสมรส และ ระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในภาพรวม และรายด้านไม่แตกต่างกัน จึงไม่เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้
ส่วนปัญหาและข้อเสนอแนะ ผลการวิจัยพบว่า ครูมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงาน วิชาการตามหลักสังคหวัตถุ 4 หลายประเด็น กล่าวคือ ผู้บริหารงานวิชาการควรเป็นผู้นําในการ พัฒนาทั้ง 7 ด้าน โดยด้านการพัฒนาหลักสูตรต้องมีการจัดทําแผนปฏิบัติงานวิชาการให้สอดคล้องกับ พระราชบัญญัติการศึกษาหรือจุดหมายของสถานศึกษาโดยให้ยึดประโยชน์ของส่วนร่วมเป็นหลัก ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ผู้บริหารควรมีการวางแผนพัฒนากระบวนการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียน เป็นศูนย์กลางและให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษา ด้านการวัดผล การประเมินผลและเทียบโอน ผลการเรียน ผู้บริหารควรเปิดโอกาสให้บุคลากรในสถานศึกษามีส่วนร่วมในการพัฒนาเครื่องมือ ประเมินการเรียนรู้ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านการวิจัยเพื่อ พัฒนาคุณภาพการศึกษา ผู้บริหารควรส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณให้ครูผู้สอนมีผลงานการวิจัย ในชั้นเรียนเพื่อเป็นผู้นําทางวิชาการ ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ผู้บริหารควรสร้างความตระหนักให้ครูผู้สอนเห็นความสําคัญของการใช้สื่อ สามารถจัดหาสื่อ ประจําท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ได้ ด้านการนิเทศการศึกษา ผู้บริหารควรมีแผนการ นิเทศสถานศึกษาและเปิดโอกาสให้ครูได้เยี่ยมชมสถานศึกษาที่มีผลงานดีเด่น ด้านการประกันคุณภาพ การศึกษา ผู้บริหารควรมีแผนและระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา รวมทั้งเผยแพร่ การดําเนินงานต่อสาธารณะชน
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The purposes of this research were to study the opinions, compare the opinions and analyze the problems and recommendations of teachers toward the academic administration based on the principle of Sangahavatthu IV in extended schools, Nonthaburi Primary Educational Service Area Office I. The research design was performed in the concept of quantitative research. The informants were 216teachers from 8 extended schools in Nonthaburi Primary Educational Service Area Office I. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard division, t-test, F-test with One-Way ANOVA and Fisher's Least-significant Difference: LSD
The research findings revealed that:
The opinions of teachers toward the academic administration which are divided into 7 parts including curriculum development, learning process development, measurement-evaluation and transformation, research for educational quality development, educational media innovation and technology development, educational supervision, and educational quality insurance were located in high level. Particularly the learning process development was found holistically to the highest mean, then the curriculum development and the research for educational quality development respectively.
The research findings about the opinion comparison revealed that the teachers with different gender, age and teaching experience did not make holistically the different opinions toward the academic administration based on the Principle of Sangahavatthu IV. These were not appeared as specifying in the research hypothesis. However, the separated comparison in each part was found to be accepted the research hypothesis at 0.05. While the teachers with different marital status and educational level were found to make no difference both holistic and separated comparison among the opinions toward the academic administration mentioned.
For the problems and recommendations, the teachers presented that the academic operational plan should be performed accordingly with the Educational Act and the school purpose. The child-centered learning should be focused accordingly with the plan of educational reform. The school administrator should be giving more participation for all stakeholders to design the learning evaluation forms accordance with the standard criteria of basic education. Classroom research should be more supported particularly its budget for educational quality development. The teachers should be paying more awareness about the application of educational media and technology; particularly the local equipments. The school should be having an educational supervision plan and paying more opportunity for teachers to observe some excellent schools. And the school should be having the internal system and plan of educational quality insurance together with presenting to the public.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 27.97 MiB | 163 | 6 ส.ค. 2564 เวลา 10:29 น. | ดาวน์โหลด |