-
ชื่อเรื่องภาษาไทยประสิทธิภาพการบริหารจัดการวัดท่าซุง อําเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษEFFICIENCY MANAGEMENT OF WAT THASUNG MUANG DISTRICT, UTHAI THANI PROVINCE
- ผู้วิจัยนายวัฒนา หลวกประยูร
- ที่ปรึกษา 1พระปลัดสมบัติ ฐิติญาโณ, ดร..
- ที่ปรึกษา 2พระครูนิวิฐศีลขันธ์, ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา07/03/2016
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2008
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 92
- จำนวนผู้เข้าชม 165
บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาวิจัยเรื่องประสิทธิภาพการบริหารจัดการวัดท่าซุง อําเภอเมือง จังหวัด อุทัยธานี มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของผู้มาปฏิบัติธรรมต่อประสิทธิภาพ การบริหารจัดการวัดท่าซุง อําเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้มา ปฏิบัติธรรมต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการวัดท่าซุง อําเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี จําแนกตาม สถานภาพส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของผู้มาปฏิบัติธรรมเกี่ยวกับ ประสิทธิภาพการบริหารจัดการวัดท่าซุง อําเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี
ศึกษาวิจัยโดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างการ วิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงสํารวจ (Survey Research) จากแบบสอบถาม (Questionnaire) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ที่เก็บ รวมรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสําคัญ (Key Informants) เพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ปฏิบัติธรรมใน วัดท่าซุง อําเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี จํานวน 385 คน ซึ่งใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและ มาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ แบบสอบถามปลายเปิด และแบบสัมภาษณ์ สถิติ ค่าความถี (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เปรียบเทียบความแตกต่างโดยการทดสอบ ค่าที (t-test) และการทดสอบ ค่าเอฟ (F-test) โดยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) โดยกําหนดนัยสําคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 และคําถามปลายเปิดเป็นความเรียงประกอบตาราง โดยการแจกแจงความถี่ ของผู้ตอบ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสําคัญ (Key Informants) จํานวน 9 ท่าน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการศึกษาพบว่า
1. ความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติธรรมต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการวัดท่าซุง อําเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ทั้งด้านการวางแผน (Planning) ด้านการจัดองค์การ (Organizing) ด้านการจัดบุคลากร (Staffing) ด้านการสั่งการ (Directing) ด้านการควบคุม (Controlling) พบว่า ด้านการควบคุมและด้านการวางแผน อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านการจัดองค์การ ด้านการจัด บุคลากรและด้านการสั่งการ อยู่ในระดับมาก
2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติธรรมต่อประสิทธิภาพการบริหาร จัดการวัดท่าซุง อําเภอเมืองจังหวัดอุทัยธานี จําแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า ผู้ปฏิบัติธรรมมี เพศ อายุ แตกต่างกัน มีความคิดเห็นไม่ต่างแตกกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนผู้ปฏิบัติธรรมที่ มีวุฒิการศึกษา อาชีพและประสบการณ์การเข้าวัด แตกต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกัน จึงยอมรับ สมมติฐานที่ตั้งไว้
3. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในประสิทธิภาพการบริหารจัดการวัดท่าซุง อําเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี พบว่า การวางแผน (Planning) ของวัดท่าซุงได้รับคําชมเชยจากผู้ ปฏิบัติธรรมว่า มีการวางแผนที่ดีมาก จนสามารถนําไปเป็นต้นแบบด้านการวางแผนเพื่อการบริหาร จัดการให้กับวัดที่ยังไม่สามารถวางแผนการบริหารงานประจําปีของวัด การวางแผนด้านการจัดระบบ ให้ผู้มาปฏิบัติธรรมลงทะเบียนรายชื่อก่อนการเข้าอบรมพระกรรมฐานมีขั้นตอนชัดเจน การ จัดองค์การ (Organizing) ใช้หลักผสมผสานตามลําดับอาวุโสและหลักความสามารถ ซึ่งจะระบุ ขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบไว้อย่างชัดเจน การจัดบุคลากร (Staffing) ของวัดท่าซุงมีระบบการ จัดบุคลากรค่อนข้างชัดเจนดีมาก มีการบริการแก่ผู้ปฏิบัติธรรม ถือศีล ทําบุญ อย่างดีเยี่ยมทุกๆ ด้าน แต่เนื่องจากวัดมีขนาดใหญ่มาก ทําให้มีบุคลากรไม่เพียงพอกับปริมาณงาน จึงควรประกาศรับสมัคร จิตอาสาล่วงหน้า เพื่อจะได้มีผู้ช่วยมากขึ้น เนื่องจากมีผู้ที่ต้องการจะช่วยมาก แต่ยังไม่ทราบช่องทาง ที่จะติดต่ออย่างเป็นกิจลักษณะ การสั่งการ (Directing) ใช้การสื่อสารทั้งในรูปแบบการสั่งด้วยวาจา การสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร และมีการนําระบบไลน์มาใช้ในการสั่งการ ทําให้วัดสามารถจัดการแก้ไข ได้รวดเร็วทันการณ์ถือว่าทําได้ดีมาก การควบคุม (Controlling) เป็นหัวใจหลักของวัดท่าซุง คือ การ มีกฎระเบียบ ข้อห้าม ข้อปฏิบัติสําหรับผู้ปฏิบัติอย่างชัดเจน ทําให้เกิดการควบคุมที่ดี ถ้ามีปัญหาก็จะ ประชุมและแก้ไขต่อปัญหานั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การสังเคราะห์องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัย พบองค์ความรู้หลักการบริหารผสานวิธีแบบ WATTANA Model เป็นวงจร (Cycle) โดยเป็นหลักการบริหารผสานวิธี (Mixed Methods Management Principle) แบบ 5 หลักการ 10 เงื่อนไข สําหรับองค์กรและผู้บริหารเพื่อใช้เป็น หลักในการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพแบบไม่มีสิ้นสุด ซึ่งสามารถเริ่มต้นจาก 1) การวางแผน (Planning) ตามหลักการบริหารผสานวิธี มีเงื่อนไขหลัก 2 ข้อ คือ ต้องมีการจัดทํา Master Plan และ Action Plan เป็นบริบทในกระบวนการวางแผน 2) การจัดองค์กร (Organizing) มี 2 เงื่อนไข คือ ต้องมีการจัดองค์กรโดยระบบ Level System และ Merit System 3) การจัดบุคลากร (Staffing) มี 2 เงื่อนไข คือ ต้องมีการกําหนด Function และ Responsibility 4) การสั่งการ (Directing) มี 2 เงื่อนไข คือ ต้องมีระบบการ Command และ Conference 5) การควบคุม (Controlling) มี 2 เงื่อนไข คือ ต้องมี Rule of law และ Regulations เป็นบริบทในกระบวนการ ตามลําดับข้อ 1-5 หรือสามารถเริ่มต้นจากข้อ 3, 4, 5, 1, 2 หรือเริ่มจากกระบวนการที่ 5, 1, 2, 3, 4 เป็นวงจรที่ไม่มีจุดจบที่เป็นเครื่องมือช่วยทางการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research “Efficiency Management of Wat Thasung, Muang District, Uthai Thani Province” are as follows : 1) To study the level of public opinion on efficiency management of Wat Thasung, Muang District, Uthai Thani Province. 2) To compare the public opinion of meditation practitioners opinion on efficiency management of Wat Thasung, Muang District, Uthai Thani Province and 3) To study the problem, obstacles, and suggested improvements of meditation practitioners on efficiency management of Wat Thasung, Muang District, Uthai Thani Province. This research using mixed method involves the mixing of quantitive, qualitative and survey research. A questionnaire was also used as a research tool in this study. For qualitative research, an in-depth interview with key informants was selected to support the qualitative data. The sampling group for this study was 385 which using by cluster sampling. The tools used in this research was questionnaire which consisted of check-list questions, five-level rating scale, open-ended questions and interview. The researcher analysed all data by using frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test, one way ANOVA. Least significa (LSD) was used the statistical significance at the 0.05 level, and open-ended questions are available on the accompanying table, the frequency of respondents. Qualitative research by In-depth interview method with 9 key Informants by using technical analysis of context.
The results of revealed the following :
(1) The meditation practitioners, had opinions at the most level ( X̅ = 4.53 ) according of the meditation practitioners opinion on efficiency management of Wat Thasung, Muang District, Uthai Thani Province. When considering each aspects, found that the Control and Planning at the most level. For Organizing, Staffing and Controlling, it was found at the high level for all.
(2) The comparison of the meditation practitioners opinion on efficiency management of Wat Thasung, Muang District, Uthai Thani Province, were classified by personal factor. It was found that the differences in gender, age did not influence the opinions of the meditation practitioners towards on efficiency management of Wat Thasung. Therefor the hypothesis was rejected. Were classified by personal factor, it was found that the differences in education, occupation and experience with the temple's. It's influence the opinions of the meditation practitioners towards on efficiency management of Wat Thasung. Therefor research hypothesis were accept
(3) The problems, obstacles and some suggest improvement concerning the efficiency management of Wat Thasung, Muang District, Uthai Thani Province. It was found that the meditation practitioners also was Planning of th planning praised by those who practice it. There is a very good plan It can be a model for the planning, other temple that cannot be planned for the year. Organizing of the Wat Thasung, organization combines the main principles in order of seniority and competence, which specifies the duties and responsibilities clearly. Staffing of the Wat Thasung, staff is very clear. The meditation practitioners, people observe religious precepts and philanthropist to great aspects get excellence service, but because Wat Thasung area a very large scale. The staff insufficient disproportionate amount of work, temple should communication to accepting applications for volunteers, in order to have more help staff. Because there are many people who want to help. but do not know the channels to contact. Directing of the Wat Thasung, directing is a form of communication, both verbal command. Order in writing and used in the command Line System. Wat Thasung can be solving problem, made quickly and timely patch management is very well done. Controlling of the Wat Thasung, controlling is the heart of a regulatory, is to the regulations and the rules, prohibit the practice for practitioners clearly, thus resulting in better control. If there is a problem, It will conduct a meeting and resolve the problem effectively.
Synthesis of knowledge gained from research, found that knowledge management principles by mix methods management approach WATTANA Model. The cycle was management principles for how the 5 principles and 10 conditions for corporate executives to use as a basis for management to be effective without end. Which can start from : 1) Planning, you can start from planning management principles by mix methods management approach. There are two main conditions to prepare of Master Plan and Action Plan System in the context of the planning process. 2) Organizing, you can start from organization management principles by mix methods management approach. There are two main conditions to prepare of Level System and the Merit System in the context of the organization management process. 3) Staffing, you can start from staffing management principles by mix methods management approach. There are two main conditions to prepare of Function and Responsibility in the context of the management staffing process. 4) Directing, you can start from principles by mix methods management approach. There are two main conditions to prepare of Master Plan and Action Plan System in the context of the planning process. 2) Organizing, you can start from organization management principles by mix methods management approach. There are two main conditions to prepare of Level System and the Merit System in the context of the organization management process. 3) Staffing, you can start from staffing management principles by mix methods management approach. There are two main conditions to prepare of Function and Responsibility in the context of the management staffing process. 4) Directing, you can start from directing management principles by mix methods management approach. There are two main conditions to prepare of Command and Conference in the context of the directing management process. 5) Controlling, you can start from controlling management principles by mix methods management approach. There are two main conditions to prepare of Rule of law and Regulations in the context of the controlling management process, respectively 1-5, or can be started from 3, 4, 5, 1, 2 or beginning of the process, 5, 1, 2, 3, 4 is a circuit that is not the end of the tool allows the management to be effective.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 13.74 MiB | 92 | 7 ส.ค. 2564 เวลา 04:05 น. | ดาวน์โหลด |