โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองสามพราน อําเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAdministration in Accordance with Good Governance of Samphran Municipality, Samphran District, Nakhonpathom Province
  • ผู้วิจัยพระมหาชินวัฒน์ ธมฺมเสฏโฐ (หาญกุล)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ.ดร.ธัชชนันท์ อิศรเดช
  • ที่ปรึกษา 2พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตติปญโญ.ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา31/03/2015
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2009
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 586
  • จำนวนผู้เข้าชม 367

บทคัดย่อภาษาไทย

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ  1) เพื่อศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของ เทศบาลเมืองสามพราน อําเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม  2) เพื่อเปรียญเทียบการบริหารงานตาม หลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองสามพราน อําเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยจําแนกตามปัจจัย ส่วนบุคคล และ  3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองสามพราน อําเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

               การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) โดยกําหนด รูปแบบเป็นการวิจัยเชิงสํารวจ (Survey Research) โดยใช้วิธีวิจัยเชิงประมาณ (Quantitative Research) ซึ่งเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือแบบสอบถาม (Questionnaire) และใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ ข้อมูลสําคัญ (Key Informants) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างด้วยสูตรการคํานวณ ของ ทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามวิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐาน ด้วยการทดสอบค่าที (t-test), การทดสอบค่าเอฟ (F-test), การวิเคราะห์ความ แปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และด้วยวิธีผลต่างนัยสําคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD.) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitataive research) กําหนดผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) จํานวน ๙ ท่าน เลือกแบบเจาะจงจากผู้มีประสบการณ์และผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือเก็บ ข้อมูลได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง (Structured In-depth Interview) เก็บข้อมูลด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึกตัวต่อตัว (face-to-face In-depth Interview) ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) วิเคราะห์โดยวิธีการพรรณนาความ (descriptive Interpretation)

               ผลการวิจัยพบว่า

               1) การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองสามพราน อําเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม พบว่า ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของ เทศบาลเมืองสามพราน อําเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.79) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยมีลําดับดังนี้ ด้านหลักนิติธรรม ( = 3.77) ด้านหลักคุณธรรม ( = 3.79) ด้านหลักความโปร่งใส ( = 3.82) ด้านหลักการมีส่วนร่วม ( = 3.76) ด้านหลักความรับผิดชอบ (= 3.87) และด้านหลักความคุ้มค่า ( = 3.74)

               2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ของเทศบาลเมืองสามพราน อําเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม จําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ วุฒิการศึกษา อาชีพ และรายได้(ต่อเดือน) พบว่า มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลัก        ธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองสามพราน อําเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

              3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของ เทศบาลเมืองสามพราน อําเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม พบว่าปัญหา อุปสรรค คือ บุคลากรบางส่วน ยังไม่สามารถปฏิบัติตามกฎหมายหรือข้อบัญญัติต่างๆได้อย่างเคร่งครัด บุคลากรบางส่วนยังขาดเรื่อง ระเบียบวินัยในการปฏิบัติงานเห็นประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม

              ข้อเสนอแนะ คือผู้บริหารต้องนําเอาหลักธรรมาภิบาลมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงาน เพื่อให้การบริหารงานของ เทศบาลไปในทิศทางเดียวกัน โดยยึดหลักความถูกต้องตามกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่ชอบธรรม เทศบาลเมืองสามพรานควรสร้างทัศนคติทางด้านคุณธรรมจริยธรรมให้เกิดขึ้นแก่บุคลากรส่งเสริมให้ บุคลากรเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน เสริมสร้างความสามัคคีให้เกิดแก่บุคลากร ภายในองค์การเพื่อนําไปสู่การบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นการพัฒนาการบริหารงาน ให้สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาลโดยเฉพาะบุคลากรฝ่ายบริหารต้องเป็นผู้นําที่มีความรอบรู้และมี ความซื่อสัตย์ สุจริต ยึดหลักความถูกต้องเป็นที่ตั้งเป็นธรรมกับประชาชนทุกชุมชนและมีความเสมอ ภาคต่อโครงการพัฒนา ด้วยการเปิดโอกาสให้ประชาชนตรวจสอบมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาต่างๆและมีส่วนร่วมทุกมิติครอบคลุมขอบเขตชัดเจนต่อการบริหารงาน ของเทศบาลทั้งระบบตามหลักธรรมาภิบาล จนนําภาคองค์การไปสู่ความสําเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ สูงสุดแบบยั่งยืน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

               The objective of this study were: 1) to study the administration in accordance with good governance of samphran municipality, samphran district, nakhonpathom province, 2) to compare the administration in accordance aith good governance of samphran municipality, samphran district, nakhonpathom province, classified by personal factors 3) to study the problems, obstacles and suggestions about administration in accordance with good governance of samphran municipality, samphran district, nakhonpathom province.

               The research methodology was the mixed research method between the quantitative research by using the survey research from the questionnaires. The quantitative research collected the data through the questionnaires and the qualitative research was the structured in-depth interview from key informants to support the quantitative data. The sampling group came from the Taro Yamane's formula. The tool for data collection was the questionnairs. The data analysis was the ready programme for the research of social sciences. The data analysis was by frequency, percentage, mean, standard deviation; SD, t-test and F-test by one way analysis of variance; ANOVA, and test the differences of the average pairing with the Least Significant Difference: LSD. The quantitative research, 9 key informants were purposefully selected from experts and administrators. The tool for collecting data was structured In-depth Interview. The data collection was the face to face In-depth Interview and structured In-depth Interview. The data was analyzed by descriptive interpretation.

               The Findings of this research as follows:

               1. The administration in accordance with good governance of samphran municipality, samphran district, nakhonpathom province, found that opinions of the people to administration in accordance with good governance of samphran municipality, samphran district, nakhonpathom province in overall, was at high level ( = 3.79) When considered in each side, found that it was at high level for all sides as follows : the rule of law ( = 3.77) the morality ( = 3.79) the transparency ( = 3.82) the participation ( = 3.76) the responsibility ( = 3.87) accountability ( = 3.74)

               2. the findings of comparison the opinions of the people to administration in accordance with good governance of samphran municipality, samphran district, nakhonpathom province, classified by personal factors like gender, age, education, career, and income per month, found that opinions of the people to administration in accordance with good governance of samphran municipality, samphran district, nakhonpathom province in overall, indifferently. it rejected the set hypo

               3. The problems, obstacles and suggestions about administration in accordance with good governance of samphran municipality, samphran district, nakhonpathom province, found that the problems, obstacle were some officers did not practice along with the law or regulations strictly and lacked of discipline to work for the benefits of the people as whole but worked for their own benefit and friends.

               Suggestions as follows: the administrators should use the principles of good governance for applying in the administration for the same pattern by using the right laws and rules. samphran municipality should create the ethical and moral attitude to officers or personnel, support the personnel to realize the public benefit more than own benefit, should create the harmony to personnel in the organization for efficient administration for administration along with good governance, especially, administrative personnel must have the knowledge, honour, sincerity, have the right actions with the people in every community and equality for the development. To allow the people to check and participate the opinion expression for decision making to solve the problems and participate in all directions covering to administration of municipality with good governance until leading the organization to the success with high efficiency sustainably.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 6.81 MiB 586 7 ส.ค. 2564 เวลา 04:32 น. ดาวน์โหลด