โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของพระสังฆาธิการใจจังหวัดกำแพงเพชร
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษHuman Resource Development with The Threefold Training of Sangha Administrators in Kamphaeng Phetch Province
  • ผู้วิจัยพระครูจันทวชิรสาร (จตุสหพล จนฺทสาโร)
  • ที่ปรึกษา 1พระครูนิวิฐศีลขันธ์, ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ประปลัดสมบัติ ฐิติญาโณ, ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา16/03/2016
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2010
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 99
  • จำนวนผู้เข้าชม 203

บทคัดย่อภาษาไทย

   การวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของพระสังฆาธิการในจังหวัดกำแพงเพชร 2) เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของพระสังฆาธิการในจังหวัดกำแพงเพชร โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของพระสังฆา ธิการในจังหวัดกำแพงเพชร ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Methods Research) กลุ่มตัว อย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ พระภิกษุจังหวัดกำแพงเพชร โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) จำนวน 12 รูป/คน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 369 รูป ใช้สูตรขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.953 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นโดยใช้ค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

    ผลการศึกษาพบว่า

   1) พระภิกษุมีความเห็นต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของพระสังฆาธิการในจังหวัดกำแพงเพชร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3.68 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านปัญญา : การพัฒนาปัญญา รองลงมา คือ 3.70 ด้านสมาธิ : การฝึกฝนพัฒนาในด้านจิตใจ 3.68 และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านศีล : การฝึกฝนพัฒนาในด้านพฤติกรรม 3.65 ตามลำดับ

   2) การเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของพระภิกษุต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของพระสังฆาธิการในจังหวัดกำแพงเพชร โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่าพระภิกษุที่มีอายุ วุฒิการศึกษาสามัญ และวุฒิการศึกษาทางเปรียญธรรม แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของพระสังฆาธิการในจังหวัดกำแพงเพชร โดยรวมไม่แตกต่างกัน จึงเป็นไปตามสมมติฐาน ส่วนพระภิกษุที่มีพรรษา และวุฒิการศึกษาทางธรรม แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของพระสังฆาธิการในจังหวัดกำแพง เพชร โดยรวมแตกต่างกัน ซึ่งปฏิเสธเป็นไปตามสมมติฐาน

   3) ข้อเสนอแนะของพระภิกษุเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของพระสังฆาธิการในจังหวัดกำแพงเพชร พบว่า (1) ด้านศีล : การฝึกฝนพัฒนาด้านพฤติกรรมพระสังฆาธิการควรสนับสนุนให้พระสงฆ์ในการปกครองหมั่นศึกษาในการท่องพระปาติโมกข์และความหมายให้มากขึ้นควรให้พระสงฆ์ช่วยเป็นหูเป็นตาแทนพระวินยาธิการเพื่อความสงบเรียบร้อย ด้านการปฏิบัติวินัยของพระภิกษุสามณรและควรจัดอบรมความรู้เกี่ยวกับโทษของการฉันอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ดิบโดยผู้เชี่ยว ชาญด้านสาธารณสุข (2) ด้านสมาธิ : การฝึกฝนพัฒนาในด้านจิตใจพระสังฆาธิการควรให้กำลังใจในการศึกษาและแสดงให้เห็นถึงคุณของการศึกษาพระสังฆาธิการ ควรให้ความสนใจในการอบรมสั่งสอนพระสงฆ์ในการปกครอง รวมไปถึงจุดเล็กจุดน้อยที่อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อจิตใจของพระสงฆ์และควรจัดหากิจกรรมเบาๆ ให้พระสงฆ์บวชใหม่ได้ปฏิบัติเพื่อการปรับตัวที่ค่อยเป็นค่อยไป (3) ด้านปัญญา : การพัฒนาปัญญาพระสังฆาธิการ ควรการฝึกฝนให้พระสงฆ์ในการปกครองได้หมุนเวียนการเป็นผู้นำการทำวัตรสวดมนต์เพื่อความชำนาญพระสังฆาธิการ ควรมีการพูดคุยสั่งสอนเรื่องการเรียนพระธรรมวินัยแก่พระสงฆ์ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของพระธรรมวินัยและพระสังฆาธิการควรหาวิธีการแก้ไขร่วมกับคณะสงฆ์ให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

                The objectives of this research were 1) to study Human Resource Development with The Threefold Training Of Sangha Administrators in Kamphaeng Phetch Province, 2) to study the comparison of the Human Resource Development with The Threefold Training of Sangha Administrators in Kamphaeng Phetch Province, 3) To study the problems, obstacles and suggestions about the Human Resource Development with The Threefold Training of Sangha Administrators in Kamphaeng Phetch Province. The research methodology was the mixed method research between the quantitative and qualitative methods. The ways to collect the data were used as in depth interview with 12 key informants and survey research. The sampling group of this research was 369 monks who were in Kamphaeng Phetch Province. The tool was used for data collection was the questionnaires. The data were analyzed by ready social sciences program and the statistics were used by frequency, percentage, mean, standard deviation; F-test by one way analysis of variance; ANOVA, and test the differences of the average pairing with the Least Significant Difference : LSD.

 

                The findings of this research were as following :

               1. The opinion of monks for Human Resource Development with The Threefold Training of Sangha dministrator in Kamphaeng Phetch Province, in overall found that was a high level as an average 4.10 when considered in each side found that all spects were a high level that arrange the first was Panna (Panna development) was the highest level as an average 4.17, later Smadhi (Mental development) as an average 4.08 and the least was Sila (Behavior development ) as

an average 4.05

 

               1. The comparisons of the monks opinions for Human Resource Development with The Threefold Training of Sangha Administrator in Kamphaeng Phetch Province, classified by personal data found that monks who had the differences of age, level of Dhamma Education, level of general education had indifferently by statistically significant at the 0.05 level. It accepted the hypothesis. In the other hand the monks who had the differences of year of ordinary, level of Dhamma Education. They had opinion for Human Resource Development with The Threefold Training of Sangha Administrator in Kamphaeng Phetch Province differently by statistically significant at the 0.05 level. It rejected the hypothesis.

               2. Problems, obstacle and suggestions about the Human Resource Development with The Threefold Training of Sangha Administration in Kamphaeng Phetch Province found that (1) Sila : Behavior evelopment, the sangha administrator should be supported monks study dhamma discipline more than now and be trained about hygienic condition (2) Smadhi : Mental development, the sangha administrators should be encouraged monks to active for education and should be set activity for new monks and (3) Panna : Panna Development, the sangha administrators should be practiced monks to become to lead and taught them about discipline education to the Buddhist monks for the importance and the advantage of the discipline and priestly monk something should be seek the way corrects to cooperate hierarchy to the tangibles.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 2.79 MiB 99 7 ส.ค. 2564 เวลา 04:38 น. ดาวน์โหลด