โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดการปกครองระบอบประชาธิปไตยต้นแบบ กับแนวคิดประชาธิปไตยของไทย
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Comparative Study of the Concept of Ideal Democracy and the Political idea of Thai Democracy
  • ผู้วิจัยพระกิตติพงษ์ จิตตคุตโต (หอมดอก)
  • ที่ปรึกษา 1พระมหากฤษณะ ตรุโณ ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2รศ.ดร. ประเวศ อินทองปาน
  • วันสำเร็จการศึกษา05/02/2015
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาปรัชญา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2027
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 1,166
  • จำนวนผู้เข้าชม 414

บทคัดย่อภาษาไทย

   งานวิจัยเรื่องการศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดการปกครองระบอบประชาธิปไตยต้นแบบ กับแนวคิดประชาธิปไตยของไทยโดยผู้วิจัยได้แบ่งประเด็นที่สําคัญในการศึกษาออกเป็น 3 ประเด็น คือ (1) เพื่อศึกษาแนวคิดปรัชญาการปกครองระบอบประชาธิปไตยต้นแบบ (2) เพื่อศึกษาแนวคิด ปรัชญาการปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทย (3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบแนวคิด ปรัชญาการปก ครองแบบประชาธิปไตยต้นแบบ กับแนวคิดปรัชญาการปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทย

   จากการวิจัยพบว่า

ประชาธิปไตยต้นแบบ (Ideal Democracy) หมายถึง สังคมประชาธิปไตยแบบเสรี คือ สังคมที่ยอมรับความแตกต่าง ความขัดแย้งและการโต้แย้งกันบนพื้นฐานของสันติวิธีบนพื้นฐานการยอมรับในความเสมอภาค เสรีภาพ และความเป็นพี่เป็นน้องกัน ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ประกอบด้วย 3 ประเภท คือ 1. ประชาธิปไตยโดยตรง 2. ประชาธิปไตยโดยอ้อมแบบผ่านผู้แทน 3. ประชาธิป ไตยแบบประชาชนมีส่วนกําหนดด้วยตนเอง

ประชาธิปไตยแบบไทย (Thai Democracy) หมายถึง การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อํานาจนั้นทางรัฐสภาคณะรัฐมนตรี และศาลมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด และมีหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย ที่คุ้มครองศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรี ภาพ และความเสมอภาคของบุคคล อํานาจที่ประชาชนเป็นเจ้าของ แต่ในทางปฏิบัติประชาชนได้มอบหมายให้ตัวแทนเป็นผู้ใช้แทน

ประชาธิปไตยต้นแบบและประชาธิปไตยแบบไทย มีความเหมือนกัน คือ ประชาธิปไตยที่ มีหลักการให้สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค ประชาชนเป็นผู้มีสิทธิเสรีภาพในการออกเสียงการเลือกตั้งผ่านผู้แทน ความแตกต่างคือสังคมไทยมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขแต่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ และความแตกต่างยังอยู่บนเงื่อนไขเศรษฐกิจที่ไม่ได้เป็นสังคมอุตสาหกรรมแต่เป็นสังคมเกษตรกรรม และสังคมที่ประชาชนมีการปฏิบัติบนจารีตประเพณี ควบคู่กับการมีกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

  The Thesis on “The Comparative Study of the Concept of Ideal Democracy and the Political idea of Thai Democracy” was divided by the researcher into 3 points including: 1. to study the concept of the ideal democracy 2. To study the concept of Thai democracy, and 3. To study, analyze, and compare the concept of ideal democracy and the political idea of Thai democracy. According to the research, it was found that:

The ideal democracy means the free democratic society; that is, the society which accepts differences and conflicts, and which settles argument on peaceful basis, and which respects equality, freedom, and brotherhood. Democratic system consists of 1. Direct democracy, 2. Indirect democracy through representatives, and 3. Democracy where the people participate in the management by themselves.

Thai Democracy means the democracy govern with king as the Head of State using his power through parliament, cabinet, and court of justice, with the Constitution as the supreme law, and with the basic principle of democracy that protects human dignity, right, freedom, and equality of people, and the power owned by people. In practice, people use these powers through representatives.

The ideal democracy and the Thai democracy are similar in that it is the democracy with the basic principle in providing right, freedom, and equality to the people, people have power to vote for representatives. There is a difference in that Thai society is governed by having the King as the Head of State but under the Constitution. Also, the difference is that the economy is not industrial but agricultural society instead. Besides, the people in the society have tradition and culture to be used together with the written law.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 1.36 MiB 1,166 7 ส.ค. 2564 เวลา 08:25 น. ดาวน์โหลด