-
ชื่อเรื่องภาษาไทยความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตําบลศิลาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อําเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษPublic Opinion Towards Administration According to Sufficiency Economy of Sila Sub-district Administrative Organization in Lomkao District, Phetchabun Province
- ผู้วิจัยพระเกียรติศักดิ์ ธีรว์โส (คําเจียม)
- ที่ปรึกษา 1ดร. อภิชญาณัฐโศภา อบสิน
- ที่ปรึกษา 2พระปลัดสมบัติ ธิติญาโณ, ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา07/03/2016
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2029
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 138
- จำนวนผู้เข้าชม 213
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตําบลศิลาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อําเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตําบลศิลาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อําเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยจําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตําบลศิลาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อําเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์
ดําเนินการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริ มาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสํารวจ (Survey Research) และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ตําบลศิลา อําเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ จํานวน 385 คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง โดยการใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.471 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) หาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าที (T - test) การทดสอบค่าเอฟ (F - test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Anova) การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก(Key Informants) กับผู้ให้ข้อมูลหลัก จํานวน 8 คน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis Techniques) ประกอบบริบท (Context)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตําบลศิลาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อําเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้านมีค่าเฉลี่ย 4.03 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลําดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลําดับ คือ ด้านเงื่อนไขคุณ ธรรม มีค่าเฉลี่ย 4.13 ด้านความมีเหตุผลมีค่าเฉลี่ย 4.04 ด้านเงื่อนไขความรู้มีค่าเฉลี่ย 4.04 ด้านความพอประมาณ มีค่าเฉลี่ย 3.44 ด้านการมีภูมิคุ้มกันมีค่าเฉลี่ย 3.43 ซึ่งทุกด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน
2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วน ตําบลศิลาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อําเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ จําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลแก่ประชาชนที่มี เพศ, อายุ, ระดับการศึกษา, อาชีพ, และรายได้ต่อปี พบว่า ประชาชนที่มี เพศ, อาชีพ รายได้ต่อปีต่างกัน มีความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารจัดการองค์การบริหาร ส่วนตําบลศิลาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อําเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มีอายุ, ระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตําบลศิลาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อําเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมติฐานการวิจัย
3. ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการ บริหารจัด การองค์การบริหารส่วนตําบลศิลาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อําเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่าปัญหา อุปสรรค คือ การทําการเกษตรกรยังใช้สารเคมีเป็นส่วนใหญ่ ทําให้ค่าใช้จ่ายในการประ กอบอาชีพ เพิ่มสูง พืชผลทางการเกษตรราคาต่ำไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น จึงทําให้เกษตรกรเป็นหนี้สินไม่สามารถฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรได้ และปัจจุบันเกษตรกรยังยึดติดกับ เครื่องมือสมัยใหม่ในการทําการเกษตรทําให้มีต้นทุนในการประกอบอาชีพสูง ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องช่วยรณรงค์ปลูกฝังให้เกษตรกรรู้จักการพึ่งพาตนเองให้ได้ในระดับหนึ่ง รู้จักประหยัดอดออมและรู้จักการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในชุมชน และเกษตรกรส่วนใหญ่จะปลูกพืชทางเกษตรชนิดเดียวกัน ทําให้พืชผลทาง การเกษตรล้นตลาดราคาตกต่ํา หน่วย งานต้องจัดหาทุนให้เกษตรกรกรณีที่สํานักงานเห็นว่าเป็นพืชผลทางเศรษฐกิจจนกว่าจะได้ขายผลผลิตและจัดหาตลาดรองรับผลผลิตทาง การเกษตร
ข้อสนอแนะ พบว่า ควรให้องค์การบริหารส่วนตําบลศิลามีการบริหารจัดการส่งเสริมให้ชุมชนสร้างค่านิยมในการพึ่งพาตนเอง รู้จักประหยัดอดออมช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และควรแนะนําให้เกษตร กร ปลูกพืชแบบสมผสานกันเพื่อให้ได้ผลมากขึ้น เช่น การมีข้าว ผัก ปลา ผลไม้ ในท้องถิ่น เพื่อการบริ โภค ควรใช้จ่ายอย่างประหยัด ไม่ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย รวมถึงแนะนําให้รู้จักการประหยัดน้ำ ประหยัดไฟฟ้า และน้ำมันเชื้อเพลิง ใช้สอยในครัวเรือนหรือชุมชน เพื่อลดการใช้จ่าย และควรให้ประชาชนยึดหลักทางสายกลางคือหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นวิธีดําเนินชีวิต
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research were : 1) to examine the public opinion towards administration according to sufficiency economy of Sila sub-district Lomkao district Phetchabun Province, 2) to compare the opinion of public towards administration according to sufficiency economy of Sila sub district Lomkao district Phetchabun Province, 3) to examine the problems, trouble, suggestion and public opinion towards administration according to sufficiency economy of Sila sub district Lomkao district Phetchabun Province.
This research was mixed-research between quantitative research by survey research and qualitative research. The sampling group used in this study were public in Sila sub-district Lomkao district Phetchabun Province 385 person by using method of Taro Yamane. The data collection instrument was questionnaire. There are reliability levels at 0.971. The statistics for data analyses were frequencies, percentage, mean standard deviation (S.D.), t-test and f-test. Data analysis methods are One Way ANOVA by Least Significant Difference : LSD and qualitative research by In-depth interview method with 8 key informants by using content and context analysis techniques.
The results of the research revealed that :
1. The public opinions towards the administration according to sufficiency economy of Sila sub-district Lomkao district Phetchabun Province in overall at the high level (X̅= 4.03). When considered into each sides by sorting of average more to less, it was found that for the side of moral had the average level at 4.13, for the side of rationality had the average level at 4.08, for the side of knowledge had the average level at 4.04, for the side of modesty had the average level at 3.98, for the side of the immunity had the average level at 3.93. Every side was the high level.
2. The result of the comparative the public opinions towards the administration according to sufficiency economy of Sila sub-district Lomkao district Phetchabun Province which classified by personal factors that include gender, age, study level, occupation, and annual income found that public who had different gender, occupation, and annual income had opinions on the administration according to sufficiency economy of Sila sub-district Lomkao district Phetchabun Province not different, thus the hypothesis was refused. People who had differency age and study level had opinions on the administration according to sufficiency economy of Sila sub-district Lomkao district Phetchabun Province different at the statistical significant 0.05 level. So, the hypothesis was accepted.
3. The problems, trouble and suggestions about the public opinion towards the administration according to sufficiency economy of Sila sub-district Lomkao district Phetchabun Province were : There are also problems with farming use of chemical as a result of the increased cost. So that, The relevant agencies must campaign to get farmers to take their own, know the economical and assisting each other in the community. Most farmers will plant the same type of agricultural as result to agricultural crops over capacity and price slump. The relevant agencies have to provide funds to farmers who had economic crops until they can sell their produce and supply markets for agricultural products for farmers.
Suggestions included : the administration according to sufficiency economy of Sila sub-district must encourage the community to create value, Selfreliance, know saving and help each other. Farmers should be advised about cropping the combination to be more productive such as: the rice, fish, vegetables, fruits for local consumption. Farmers should know about cost savings. Farmers should be introduced to save water, save electricity and fuel, living in a household or community in order to reduce spending. The farmers should have received supporting about lifestyle by adhere principle of middle path that is sufficiency economy in daily life.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 6.46 MiB | 138 | 7 ส.ค. 2564 เวลา 09:01 น. | ดาวน์โหลด |