-
ชื่อเรื่องภาษาไทยประสิทธิภาพการบริหารจัดการของพนักงานเทศกิจ สํานักงานเขตบางกอก น้อย กรุงเทพมหานคร
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษManagement Efficiency of Municipal Officials in Bangkoknoi District, Bangkok
- ผู้วิจัยนายเอกราช ปลอดโปร่ง
- ที่ปรึกษา 1พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตติปญโญ, ดร.
- ที่ปรึกษา 2ดร.บุษกร วัฒนบุตร
- วันสำเร็จการศึกษา24/02/2015
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2032
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 356
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบริหารจัดการของพนักงาน เทศกิจ สํานักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบริหาร จัดการของพนักงานเทศกิจ สํานักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ตามหลักอิทธิบาท 4 จําแนก ตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางพัฒนาประสิทธิภาพการบริหาร จัดการของพนักงานเทศกิจ สํานักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบ ผสานวิธี (Mixed Method Research) โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงปริมาณโดยวิธีการสํารวจ (Survey method) เก็บข้อมูลจากประชาชนกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่เขตบางกอกน้อย จํานวน 399 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.798 วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานโดย การทดสอบค่าที (t-test) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่าง ค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป และทดสอบความแตกต่าง ของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสําคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD.) และการวิจัย เชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) โดยใช้ เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัย พบว่า
1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการบริหารจัดการของพนักงานเทศกิจ สํานักงานเขต บางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 3.47, S.D. = 0.56) เมื่อพิจารณา เป็นรายด้าน พบว่า ด้านฉันทะ ด้านจิตตะ และด้านวิมังสา อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านวิริยะ อยู่ในระดับปานกลาง ตามลําดับค่าเฉลี่ย คือ ด้านฉันทะ (X̅ = 3.54, S.D. = 0.73) ด้านจิตตะ (X̅ = 3.51, S.D.= 0.66) ด้านวิมังสา (X̅ = 3.43, S.D. = 0.71) และด้านวิริยะ (X̅ = 3.39, S.D. = 0.71)
2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการของ พนักงานเทศกิจ สํานักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร โดยจําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มี ระดับการศึกษา รายได้ ต่างกันมีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และประชาชนที่มี อายุ อาชีพ แตกต่างกัน มีนัยสําคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนประชาชนที่มี เพศ ต่างกันมีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพ การบริหารจัดการ ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้
3) ปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวกับประสิทธิภาพการบริหารจัดการของพนักงานเทศกิจ สํานักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร พบว่า เจ้าหน้าที่ขาดประสบการณ์ในการทํางาน การปฏิบัติงานไม่ค่อยต่อเนื่อง ส่วนมากงานค่อนข้างด่วนและเป็นงานเฉพาะหน้า เจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอกับ การปฏิบัติงาน ขั้นตอนและกระบวนการไม่ชัดเจน ขาดแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ซึ่งในบางครั้ง ค่าตอบแทนล่วงเวลาไม่มี ทําให้เจ้าหน้าที่ไม่มีความพึงพอใจในงานที่ทํา สําหรับข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับ ประสิทธิภาพการบริหารจัดการ จัดการอบรมเพิ่มความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่ให้มากขึ้น ผู้ควบคุมหรือหัวหน้า ควรตรวจตราผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างสม่ําเสมอ เพิ่มจํานวนเจ้าหน้าที่ให้เพียบพอกับงาน จัดทีมบริหาร สําหรับงานเร่งด่วนหรืองานเฉพาะหน้า การมอบหมายงานต้องมีความชัดเจน ในกระบวนการขั้นตอน เพิ่ม แรงจูงใจให้กับเจ้าหน้าที่ เช่น ค่าล่วงเวลา โบนัส เพื่อให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this study were: 1) To study the Management Efficiency of Municipal Officials in Bangkoknoi District, Bangkok. 2) To compare the Management Efficiency of Municipal Officials in Bangkoknoi District, Bangkok accordance with Iddhipada IV or four paths of accomplishment by Classifying as individual factors, and 3) to study the problems and suggestions the Management Efficiency of Municipal Officials in Bangkoknoi District, Bangkok.This research method was mixed method research bath or quantitative research by using the random of the 399 people in Bangkoknoi District, Bangkok. Data collection was questionaires at reliability scale 0.798. The data collections were questionnaires and data were analyzed by using ready computer programme for social sciences research. The statistical analysis of population data were frequency, percentage statistical analyzed with the Frequencies, the Means and the Standard Deviation. The describing and testing hypotheses of personal factors were t- test in order to test the differences between two average groups and the F-test by using One Way ANOVA to test the differences between the average of three or more and test the differences of the average pairing with the Least Significant Difference: LSD, and the qualitative research by In-Depth Interview with the key informants and engaging content analysis context.
The Findings of the research were found that
1. The opinions about Management Efficiency of Municipal Officials in Bangkoknoi District, Bangkok were at a high level in over all (X̅ = 3.47, S.D.= 0.56) when considered of each aspect of the Aspiration, Energy, Thoughtfulness and Investigation was at the middle level. For Aspiration (X̅ = 3.54, S.D.= 0.73), Thoughtfulness (X̅ = 3.51, S.D.= 0.66), Investigation (X̅ = 3.43, S.D.= 0.71), Energy ( X̅ = 3.39, S.D.= 0.71)
2. The comparison of opinions of the people towards Management Efficiency of Municipal Officials in Bangkoknoi District, Bangkok were classified by Education and income differently, they had the different opinions by statistically significant at the 0.01 level and the people who had the age, career differently, they also had the different opinions by statistically significant at the 0.05 level. So the hypothesis research was accepted. But the people who had the different gender, they had the opinions to Management Efficiency indifferently, so the research hypothesis was rejected.
3. The problems and obstacles of the Management Efficiency of Municipal Officials in Bangkoknoi District, Bangkok were found that the officials lack of work experiences and worked un-continuously but outstanding and individual works. There was not enough officials for the jobs, no clearly stages and processes and lacked of work motivation that sometimes it did not have the extra payment and lastly the officials are not satisfied to work. The Officials in Bangkoknoi District, Bangkok found that training service for improving the knowledge should be added. The executives should look after the subordinates or officials regularly and recruit more officials and should be arranged the emergency team or urgent works and assign the tasks clearly. Each process, it should be created the motivation for the officials like overtime payment, bonus for efficient works.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|