-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการบริหารงานตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAN ADMINSTRATION IN ACCORDANCE WITH BRAHMAVIHARA DHAMMA OF SCHOOL ADMINSTRATORS, SAI MAI DISTRICT, BANGKOK
- ผู้วิจัยนางสาวณัชชา อมราภรณ์
- ที่ปรึกษา 1พระครูปริยัติกิตติธํารง,ผศ.ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตติปญโญ,ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา31/03/2015
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2034
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 138
- จำนวนผู้เข้าชม 193
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานตามหลักพรหมวิหารธรรมของ ผู้บริหารสถานศึกษาเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานตามหลัก พรหมวิหารธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาเขตสายไหมกรุงเทพมหานคร โดยจําแนกตามปัจจัยส่วน บุคคลและ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะแนวทางในการบริหารงานตามหลักพรหม วิหารธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร
ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Research Method) โดยใช้การวิจัยเชิง ปริมาณ(Quantitative Research) เป็นหลัก และการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) สนับสนุน การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรได้แก่ บุคลากรทางการศึกษาเขตสายไหมกรุงเทพมหานคร จํานวน 567 คน และเลือกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) ได้กลุ่ม ตัวอย่าง 234 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าความถี่ (Frequency), ค่าร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติด้วยค่าที่(t-test) และค่าเอฟ (F-test) และวิธีการ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA)เพื่อการทดสอบความแตกต่างระหว่าง ค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างเป็นสําคัญ น้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD.)
ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ กําหนดผู้ให้ข้อมูลหลัก 7 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือสําหรับ เก็บข้อมูลได้แก่แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง (Structured in-depth interview) เก็บข้อมูล ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth-Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสําคัญ (Key Informants) วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ (descriptive interpretation)
ผลการวิจัยพบว่า
1) การบริหารงานตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร บุคลากรทางการศึกษามีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 3.96, S.D. = 0.555) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า บุคลากรทางการศึกษามีความคิดเห็น อยู่ในระดับ มากทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลําดับ คือ ด้านมุทิตา (X̅ = 4.301, S.D. = 0.613) ด้านเมตตา (X̅ = 3.99, S.D. = 0.681) ด้านอุเบกขา (X̅ = 3.99, S.D. = 0.680) และด้านกรุณา (X̅ = 3.87, S.D. = 0.640)
2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรทางการศึกษาต่อการบริหารงานตามหลักพรหม วิหารธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร จําแนกตามข้อมูลประชากร ได้แก่ เพศ, สถานภาพ, อายุ, วุฒิการศึกษา รายได้ต่อเดือน, ตําแหน่ง, และอายุราชการ พบว่า บุคลากร ทางการศึกษามีเพศ, สถานภาพ, อายุ, วุฒิการศึกษา, รายได้ต่อเดือน, ตําแหน่ง, และอายุราชการ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาเขตสาย ไหม กรุงเทพมหานคร แตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ 0.05
3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารงานตามหลักพรหมวิหารธรรมของ ผู้บริหารสถานศึกษาเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร พบว่า ด้านเมตตาพบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาไม่มี ความมั่นใจในการตัดสินใจอย่างเด็ดขาด ไม่กล้าที่จะมองการณ์ไกลและยังไม่เข้าใจถึงปัญหา และ ความต้องการของบุคลากร พิจารณาความดีความชอบ ไม่พิจารณาตามผลงาน ด้านกรุณาพบว่า ผู้บริหารไม่ค่อยมีเวลาในการให้คําปรึกษาและช่วยแก้ปัญหาเมื่อผู้ใต้บังคับบัญชาประสบปัญหา ผู้บริหารไม่มีการสอบถามสุขภาพของผู้ใต้บังคับบัญชาเท่าที่ควร บางครั้ง ไม่ค่อยคํานึงถึงความทุกข์ ของผู้ใต้บังคับบัญชา ด้านมุทิตาพบว่า ผู้บริหารสถานไม่ค่อยแสดงออกถึงความยินดีทําเฉย ๆ ผู้บริหาร บางครั้งไม่มีมุทิตา การให้ความสําคัญต่าง ๆ กับบุคลากรที่มาติดต่อประสานงาน ด้าน อุเบกขาพบว่าผู้บริหารสถานศึกษายังบกพร่องในเรื่องของความยุติธรรมในการให้รางวัลกับ ผู้ใต้บังคับบัญชา การวางตนเป็นกลางของผู้บริหารสถานศึกษายังมีการลําเอียงไม่ค่อยยอมรับฟังความ คิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา บางครั้งผู้บริหารสถานศึกษาบริหารจัดการไม่ค่อยยึดถือความถูกต้อง ส่วนข้อเสนอแนะ ผู้บริหารสถานศึกษาควรการส่งเสริมบุคลากรทางการศึกษาให้นําหลักธรรมมา ประยุกต์ใช้ในการสอน และควรให้ความเป็นธรรมกับบุคลากรทุกคนโดยเท่าเทียบกัน
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research were; 1) to study the administration in accordance with Brahmaviaradhamma of school administrators at Sai Mai District, Bangkok, 2) to compare the administration in accordance with Brahmaviaradhamma of school administrators at Sai Mai District, Bangkok and 3) to study problems, obstacles and suggestions for administrative in accordance with Brahmaviaradhamma of school administrators at Sai Mai District, Bangkok.
Methodology was the mixed research method using the quantitative research as the main method and qualitative research as supportive method. The populations for the quantitative research was the 567 personnel in schools at Sai Mai District, Bangkok and 234 samples were derived from the populations using Taro Yamane's formula. Data were analyzed by frequency, mean and standard deviation. Hypotheses were tested by t-test, F-test and one way ANOVA to test the different means from three groups or more. The differences of means of the paired variables were tested by LSD,(Least Significant Differences) As for the qualitative research, data were collected from 7 key informants, purposefully selected, the tool was structured in-depth-interview. Data were collected by in-depth-interview and analyzed by descriptive interpretation.
Findings were as follows:
1) The administration in accordance with Brahmaviaradhamma of school Administrators at Sai Mai District, Bangkok according to the personnel's opinion was at high level with the average at X̅ = 3.96 and SD at 0.555.
Considering each aspect according to the personnel s' opinions was at high levels, consecutively as; Mutita, sympathetic joy, was at the average of X̅ = 4.301, SD at 0.613, Metta, loving kindness with the average of X̅ = 3.99, SD 0.681 Ubekkha, impersonal serenity was at the average of X̅ = 3.99 and SD at 0.680 and Karuna, kindness was at the average of X̅ = 3.87 and SD was at 0.640.
2) Comparison of educational personnel opinions about the administration according to Brahmaviaradhamma of schools administrators at Sai Mai District, Bangkok classified by population data; sex, status, age, educational level, monthly income,positions and the length of time in the service was that educational personnel with different sex, age, status, educational level, monthly income, positions and the length of time in the service had significantly different opinions about the administration according to Brahmaviaradhamma of schools administrators at Sai Mai District, Bangkok at the significant level of 0.05
3) Problem, obstacles and suggestions for the administration according to Brahmaviaradhamma of the schools administrators at Sai Mai District, Bangkok was that; for Metta, loving kindness, administrators did not have confidence in concise decision making, dared not look far ahead and did not understand the subordinates' problems and needs, did not evaluate subordinates by merit system. As for Karuna, kindness, administrators did not devote time to give advices to subordinates and helped them solve their problems. Administrators did not pay attentions to subordinates' health and welfares.
As for Mutita, sympathetic joy, administrators did not express their joys with subordinates, expressed no feeling towards those who came to contact and coordinate. As for Upekkha, impersonal serenity, school administrators still lacked justice in giving rewards to subordinates. Schools administrators' neutrality was deviated, bias-oriented. Did not listen to subordinates'opinions and sometimes, did not abide by the rule of law. As for recommendation, schools administrators should promote educational personnel to apply Dhamma principles in teaching, and also should equally give a fair deal to every educational personnel.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 9.35 MiB | 138 | 7 ส.ค. 2564 เวลา 11:02 น. | ดาวน์โหลด |