โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การจัดการขยะมูลฝอยตามหลักพุทธธรรมของประชาชน เทศบาลตําบลทุ่งหัวช้าง อําเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลําพูน
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษSolid Waste Management According to Buddhadhamma of People in Thunghuachang Sub-district Municipality, Thunghuachang District, Lamphun Province
  • ผู้วิจัยนางยุพิน วัชรกาวิน
  • ที่ปรึกษา 1ดร.วิชญ์พล ผลมาก
  • ที่ปรึกษา 2พระครูภาวนาโสภิต วิ.,ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา20/03/2016
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2036
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 324
  • จำนวนผู้เข้าชม 386

บทคัดย่อภาษาไทย

                  การศึกษาวิจัยเรื่อง การจัดการขยะมูลฝอยตามหลักพุทธธรรมของประชาชนเทศบาล ตําบลทุ่งหัวช้าง อําเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลําพูน มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการก่อเกิดและการ พัฒนาการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนเทศบาลตําบลทุ่งหัวช้าง อําเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลําพูน 2) เพื่อศึกษาการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนเทศบาลตําบลทุ่งหัวช้าง อําเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัด ลําพูน และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยตามหลักพุทธธรรมของประชาชนเทศบาล ตําบลทุ่งหัวช้าง อําเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลําพูน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ศึกษาจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้วิจัยเลือกผู้ให้สัมภาษณ์ 15 รูป/คน จากกลุ่ม ผู้ที่ให้ข้อมูลสําคัญ (Key informants) คือ กลุ่มที่ 1 ผู้มีคุณลักษณะเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความเข้าใจ และมีประสบการณ์ตรงในการดําเนินงานของการจัดการขยะมูลฝอย จํานวน 10 คน  กลุ่มที่ 2 นักวิชาการ ทางพระพุทธศาสนา จํานวน 1 ท่าน และกลุ่มที่ 3 ข้าราชการและประชาชนในพื้นที่ จํานวน 4 คน

                  ผลการวิจัยพบว่า

                  1. การก่อเกิดและการพัฒนาการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนเทศบาลตําบลทุ่งหัวช้าง อําเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลําพูน เกิดจากบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ต้องปฏิบัติ ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องในพระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ประกอบกับการขยายตัวของความเจริญ ทางเศรษฐกิจ ร้านค้า ตลาดสด ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของขยะอย่างต่อเนื่อง และส่งกระทบต่อคุณภาพชีวิต ของประชาชน เทศบาลตําบลทุ่งหัวช้าง จึงเริ่มการรณรงค์อบรมให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชนเรื่อง การจัดการขยะอย่างถูกวิธี โดยจัดทําโครงการ การจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลตําบลทุ่งหัวช้างในปีงบประมาณ 2558 และดําเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องในปีงบประมาณ 2559 เพื่อให้ประชาชน ได้รับความรู้ในการจัดการกับขยะที่ถูกวิธี มีจิตสํานึกที่ดีในการรักษาความสะอาด

                  2. การจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนเทศบาลตําบลทุ่งหัวช้าง อําเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลําพูน พบว่า มีการคัดแยกขยะภายในครัวเรือนก่อนนําขยะส่งให้รถขนขยะไปยังสถานที่กําจัด ขยะ โดยใช้ถุงขยะสีดํากับถุงขยะสีแดง ถุงสีดําใช้ใส่ขยะประเภทเศษใบไม้ และขยะพลาสติก ซึ่งเศษ ใบไม้จะถูกคัดแยกออกไปหมักเป็นปุ๋ย และส่วนที่เป็นขยะพลาสติกจะถูกคัดแยกแล้วนําไปจัดจําหน่าย นํารายได้คืนสู่ครัวเรือน สําหรับถุงสีแดงใช้บรรจุประเภทขยะอันตรายนั้น ทางเทศบาลจะเป็นผู้นําไป จัดการอย่างถูกวิธี โดยไม่ให้เกิดสารพิษตกค้างแล้วส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมภายในชุมชน ส่วนปัญหาที่พบคือ ประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ ขาดความเข้าใจ ขาดจิตสํานึก และความตระหนัก ในเรื่องการจัดการกับขยะที่ถูกวิธี ทั้งนี้ เกิดจากโครงการจัดการขยะมีประชาชนเข้าร่วมโครงการไม่สําเร็จ ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือร้อยละ 80 ของจํานวนครัวเรือนทั้งหมด มีครัวเรือนเข้าร่วมเพียงร้อยละ 28 เท่านั้น ดังนั้น เทศบาลตําบลทุ่งหัวช้างต้องรีบเร่งการแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ ด้วยการประชาสัมพันธ์ เชิงรุกให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะให้ครบตามเป้าหมาย

                  3. แนวทางการจัดการขยะมูลฝอยตามหลักพุทธธรรมของประชาชนเทศบาลตําบลทุ่งหัวช้าง อําเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลําพูน ด้วยหลักอิทธิบาท 4 ด้านฉันทะนั้น ควรส่งเสริมความรู้ให้ประชาชน ได้ตระหนักถึงความสําคัญของการรักษาสภาพแวดล้อม จนกระทั่งเกิดความพึงพอใจที่จะจัดการขยะ ด้วยตนเอง ด้านวิริยะ ควรส่งเสริมให้ประชาชนมีความมุ่งมั่น มีความเพียรต่อการจัดการขยะ ด้านจิตตะ คือหมั่นกระตุ้นเตือนให้ชุมชนเกิดจิตสํานึกรักชุมชน ให้ทราบถึงเป้าหมายของการจัดการขยะ สร้างแรงจูงใจ และให้ขวัญกําลังใจแก่ผู้ปฏิบัติ ด้านวิมังสา คือ หมั่นตรวจสอบระบบการจัดการขยะ รับฟังความคิดเห็นของประชาชนแล้วนําข้อบกพร่องต่างๆ มาปรับปรุงแก้ไข

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

                 The objectives of the thesis entitled “Solid Waste Management According to Buddhadhamma of People in Thunghuachang Sub-district Municipality, Thunghuachang District, Lamphun Province” were as follows: 1) to study the cause and solid waste management of people in Thung Hua Chang sub-district municipality, Thung Hua Chang district, Lamphun province. 2) to examine the solid waste management of people in Thung Hua Chang sub-district municipality, Thung Hua Chang district, Lamphun province and 3) to investigate the guideline of solid waste management of people in Thung Hua Chang sub-district municipality, Thung Hua Chang district, Lamphun province. This research was conducted by qualitative research method and to in depth interview. The researcher was selected from 15 respondents with the key informant, including the 1° group the people who have the knowledge, understanding and direct experience in operation of solid waste consisted of 10 people. The 2" group the Buddhist scholar consisted of 1 person and the 3" group means officials and people in the area consisted of 4 people.

                 The findings of this research were found as follows:

                  1) the cause and solid waste management of people in Thung Hua Chang sub-district municipality, Thung Hua Chang district, Lamphun province was the role of local governments to follow the Public Health Act 2535 and The relevant provisions of the National Environmental Quality Act 2535 combined with the expansion of economic prosperity stores, market affected to increate of solid waste continuously and affected to people quality of life. Thung Hua Chang sub-district municipality began a campaign for providing the knowledge to the community people about solid waste management in the right way by arranging solid waste management project in Thung Hua Chang sub-district municipality in fiscal year 2558 and activities continued in fiscal 2559 in order to people to get knowledge in waste management in the right way and good conscious mind to keep clean.

                  2) The lid waste management of people in Thung Hua Chang sub-district municipality, Thung Hua Chang district, Lamphun province was found that there was sorted out waste within household before taking waste to a waste disposal facility  by using black garbage and red garbage bags. The black garbage bag put out leaves and plastic waste was sorted then distributed back to the household income. The red garbage bag contained hazardous waste, the municipality will get rid of waste properly by without the toxic and affect the environment in the community. Most problems of people were still lack the knowledge, lack of understanding, lack of awareness and awareness about the right way to waste management. In order that the waste management project there were participants less than the targets, including 80 percent of all households with only 28 percent of households participated. Therefore, Thun Hua Chang sub-district municipality has to rush to solve these problems by proactive public relations to people had been participated in waste management according to objectives.

                  3) The guideline of solid waste management according to Buddhadhamma of people in Thung Hua Chang sub-district municipality, Thung Hua Chang district, Lamphun province by the principle of Iddhipada IV, including Chanda should promote the knowledge to people and awareness of the importance of preserving the environment until satisfaction to waste management by their own self. Viriya should promote the people to have commitment, perseverance to waste management. Citta should frequently urge to people in loving community by knowing objectives in waste management, making the motivation and morale to practitioners. Vimamsa should frequently check the system of waste management, listen to people opinion then took various faults for improvement.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 2.23 MiB 324 8 ส.ค. 2564 เวลา 02:47 น. ดาวน์โหลด