-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการบูรณาการหลักสัปปุริสธรรมในการบริหารจัดการหน่วยวิทยบริการในสังกัด วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Integration Of SuppurisaDhamma For Management of Acadomic Service Units Under Nakhonsawan Buddhist College Mahachulalongkornrajavidyalaya University
- ผู้วิจัยนายณัฐสันต์ นันทวัฒน์
- ที่ปรึกษา 1พระครูวชิรคุณพิพัฒน์, ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตติปญโญ, ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา10/03/2015
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/2038
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 223
- จำนวนผู้เข้าชม 163
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยฉบับมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการบูรณาการหลักสัปปุริสธรรมในการบริหารจัด การของหน่วยวิทบริการในสังกัดวิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 2) เพื่อเปรียบเทียบการบูรณาการหลักสัปปุริสธรรมในการบริหารจัดการของหน่วยวิทบริการในสังกัด วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 3) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรค์การบูรณาการหลักสัปปุริสธรรมในการบริหารจัดการของหน่วยวิทบริการในสังกัดวิทยาลัยสงฆ์นคร สวรรค์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ดําเนินการวิจัยโดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสํารวจ (Survey Research) จากแบบสอบถาม (Questionnaire) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Quitative Research) โดยสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสําคัญ (Key Informant) กลุ่มตัว อย่างได้แก่ ได้แก่ ผู้บริหาร อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิตหน่วยวิทยบริการในสังกัด วิทยาลัยสงฆ์นคร สวรรค์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ทั้ง 3 แห่ง จํานวน 262 รูป/คน จากจํานวนประชากรทั้งหมด 763 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์แบบพรรณนาความ ใช้โปรแกรมสําเร็จรูปทางสังคมศาสตร์วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าความถี่ (Frequency), ค่าร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย (Mean), และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัย พบว่า
1.ระดับความคิดเห็นการบูรณาการหลักสัปปุริสธรรมในการบริหารจัดการหน่วยวิทยบริการในสังกัดวิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅=4.09) และเมื่อจําแนกเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1) อัตถัญญตา รู้ความมุ่งหมาย และรู้จักผล (X̅=4.17) 2) อัตตัญญตา รู้จักตน (X̅=4.14) 3) ปริสัญญตา รู้จักชุมชน และรู้จักถิ่น (X̅=4.13) 4) ปุคคลปโรปรัญญตา รู้จักบุคคล (X̅=4.10) 5) กาลัญญตา รู้จักกาล (X̅ =4.03) 6) ธัมมัญญตา รู้หลักและรู้จักเหตุ (X̅=4.01) 7)มัตตัญญตา รู้จักประมาณ (X̅=4.01)
2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นการบูรณาการหลักสัปปุริสธรรมในการบริหารจัดการหน่วยวิทยบริการในสังกัดวิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยจําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าบุคลากรที่มีเพศสถานภาพการครองเพศ อายุ ระดับวุฒิการศึกษา และบท บาทหน้าที่ในสถานศึกษา มีความเห็นต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการหน่วยวิทยบริการในสังกัด วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติ ฐานที่ตั้งไว้
3. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการบูรณาการหลักสัปปุริสธรรมในการบริหารจัดการหน่วยวิทยบริการในสังกัดวิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พบว่า ปัญหา อุปสรรคส่วนหนึ่งเกิดจากบุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจในกฏระเบียบ และข้อบังคับของมหา วิทยาลัยและขนบธรรมเนียมประเพณีของชุมชน ขาดความเป็นมนุษยสัมพันธ์ที่ดี การต้อนรับ อัธยาศัยไมตรี นิสิตต้องการแหล่งข้อมูลที่ทันสมัยรวดเร็วมีประสิทธิภาพนิสิตส่วนมากชอบออกกลางคัน รวมทั้งสถานที่เรียนไม่เพียงพอ และเงินงบประมาณสนับสนุนในการบริหารจัดการแนวทางในการส่งเสริม พัฒนาต่อการบูรณาการหลักสัปปุริสธรรมในการบริหารจัดการหน่วยวิทยบริการในสังกัดวิทยาลัยสงฆ์ นครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พบว่า หน่วยวิทยบริการควรส่งเสริมให้บุคลากรปฏิบัติงานเป็นไปตามกฎระเบียบและข้อบังคับหรือกฎเกณฑ์ และอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยให้มากขึ้น การสร้างองค์กรแบบมีส่วนร่วมสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนได้ทุ่มเททํางานอย่างเต็มกําลังความสามารถไม่ย่อท้อหรือหักโหมจนเกินตัวในทุกๆ ด้านจัดลําดับความสําคัญ รวมถึงขั้นตอนในการทํางาน การทําวิจัยร่วมกับชุมชน การนํานิสิตเข้าไปพัฒนาชุมชนในด้านต่าง ๆ เช่น โรงเรียน และทํากิจกรรมที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ ส่วนรวมหรือชุมชนและท้องถิ่นในพื้นที่ให้บริการให้มากขึ้น เพื่อพัฒนาให้บรรลุตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย และตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างแท้จริง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this study were to : 1) study the integration of Suppurisadhamma to academic service units' administrative management under Nakhonsawan Buddhist College, Mahachulalongkornrajavidyalaya University (MCU); 2) make comparison on the integration of Suppurisadhamma to academic service units' administrative management; and 3) study problems, obstacles, and propose suggestions on the integration of Suppurisadhamma to academic service units.
The study used mixed method research consisting of survey research of quantitative approach and qualitative method approach. The quantitative research used questionnaire for collecting data from samples of 262 out of 763 persons under the three academic service units of Nakhonsawan Buddhist College. The data analysis used SPSS for descriptive presentation. The statistics used were frequency, percentage, mean, and standard deviation.
The study result's were as follows:
1. The overall value of opinions towards the integration of Suppurisadhamma to academic service units of Nakhonsawan Buddhist College was at high level with X̅=4.09. Considering values of each aspect, Dhammannauta-knowing the law shared value with X̅=4.01, Atthannuta-knowing the meaning with X̅=4.17, Attannuta-knowing oneself with X̅=4.14, Mattannuta-knowinf how to be temperate with X̅=4.01, Kalannuta-knowing the propertime with X̅=4.03, Parisannuta-knowinf the society with X̅=4.13, and Puggalaparoparannuta-knowing the individual with X̅=4.10.
2. The comparision result of the integration of Suppurisadhamma to academic service units' administrative management under Nakhonsawan Buddhist College, revealed that the samples' with different sex, age, education and roles and duty did not show significance of opinions towards the integration of Sappurisadhamma, this disagreed with the hypothesis.
3. The studied problems, obstacles, and suggestions on the integration of Suppurisadham ma to academic service centers, included lackage of understanding law and regulation of the university and traditions of community, lackage of human relationship, no friendliness, no update technology to support learning, high percents of drop-out students, insufficient classrooms, and inadequate budget for administration. The suggestions, then, were supporting more understanding in the University laws, regulation, and orders, encourage more cooperative and participating working, listing priority to assignments, community service by students, and encourage activities to achieve the University goal and missions.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 10.37 MiB | 223 | 8 ส.ค. 2564 เวลา 03:55 น. | ดาวน์โหลด |